คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 72/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ประกอบธุรกิจรับผลิตกระเป๋าหนังเมื่อมีลูกค้าสั่งทำสั่งซื้อโจทก์ก็จะผลิตตามที่ลูกค้ากำหนดแล้วส่งมอบให้แก่ลูกค้าการที่จำเลยที่1ในฐานะลูกค้าสั่งให้โจทก์ผลิตกระเป๋าส่งให้ความสัมพันธ์จึงมีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายมิใช่สัญญาจ้างทำของเมื่อโจทก์ผลิตกระเป๋าส่งมอบให้แก่จำเลยที่1รับไปครบถ้วนแล้วแต่จำเลยที่1ยังค้างชำระค่ากระเป๋าอยู่อีกโจทก์จึงชอบจะฟ้องให้จำเลยที่1ชำระราคาทรัพย์สินได้แม้จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยเจตนาฉ้อโกงโจทก์จึงขอเรียกทรัพย์คืนหรือให้ใช้ราคาก็เป็นความเข้าใจของโจทก์เองว่าถูกจำเลยหลอกลวงตามข้อตกลงการปรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าเข้าลักษณะสัญญาหรือละเมิดเป็นหน้าที่ของศาลศาลมีอำนาจวินิจฉัยไปตามฟ้องได้ฉะนั้นการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยที่1ใช้ราคาจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องและเกินคำขอ แม้โจทก์จะเคยเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการในคดีที่ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงและขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ฉ้อโกงไปก็ตามแต่การขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ในคดีดังกล่าวเป็นกรณีที่ความเสียหายเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้นส่วนคดีนี้แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะมีการขอคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นอย่างเดียวกันแต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหามิได้เป็นอย่างเดียวกันโดยข้ออ้างที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งเป็นการกระทำผิดอาญาอันเกิดจากข้อกล่าวหาว่าฉ้อโกงซึ่งเป็นมูลหนี้ละเมิดแต่คดีนี้มีที่มาจากมูลหนี้แห่งสัญญาซื้อขายจึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1)และไม่เป็นฟ้องซ้ำด้วยเพราะขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้คดีอาญาดังกล่าวยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ประกอบ ธุรกิจ รับ ผลิต กระเป๋า หนัง สินค้า จำพวกเครื่อง หนัง ให้ แก่ ลูกค้า จำเลย ที่ 1 เป็น นิติบุคคล ประเภท บริษัท จำกัดจำเลย ที่ 2 เป็น กรรมการ ผู้มีอำนาจ กระทำการ แทน และ จำเลย ที่ 2ใน ฐานะ ส่วนตัว ได้ ร่วมกัน หลอกลวง นางสาว จันทร์ฉาย หุ้นส่วน ของ โจทก์ และ นางสาว นิตยา พนักงาน ติดต่อ ลูกค้า ว่า จำเลย ทั้ง สอง ต้องการ ซื้อ กระเป๋า หนัง ใส่ เอกสาร จำนวน 1,500 ใบ ราคา 804,336 บาท จากโจทก์ เพื่อ ไป ขาย ต่างประเทศ จำเลย ขอ ชำระ ราคา ล่วงหน้า ก่อน ร้อยละ25 เป็น เงิน 198,900 บาท ส่วน ที่ เหลือ อีก ร้อยละ 75 เป็น เงิน605,436 บาท จะ ชำระ ภายใน 7 วัน นับแต่ จำเลย ทั้ง สอง ได้รับ เอกสารการ ส่งออก ด้วย การ หลอกลวง ดังกล่าว ทำให้ นางสาว จันทร์ฉาย และ นางสาว นิตยา หลงเชื่อ จึง ได้ ทำ กระเป๋า หนัง จำนวน ดังกล่าว และ ส่งมอบ ให้ แก่ จำเลย ทั้ง สอง ไป โจทก์ ไป ขอรับ ชำระ ราคา จำเลย ปฏิเสธ โจทก์ได้ ร้องทุกข์ ว่า จำเลย ทั้ง สอง ฉ้อโกง คดี อยู่ ใน ระหว่าง การ พิจารณา ของศาลแขวง พระนครใต้ คดีอาญา หมายเลขดำ ที่ 8024/2531 ขอให้ บังคับจำเลย ทั้ง สอง ใช้ เงิน 685,054.98 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ7.5 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 605,436 บาท นับ จาก วันฟ้อง จนกว่า จำเลย ทั้ง สองจะ ชำระหนี้ ให้ โจทก์ เสร็จ
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า จำเลย ทั้ง สอง ไม่ได้ หลอกลวง ฉ้อโกง โจทก์มี บริษัท เอ๊กซอน เคมิคอล ประเทศสหรัฐอเมริกา ต้องการ กระเป๋า หนัง จาก จำเลย ที่ 1 จำนวน 1,500 ใบ จำเลย จึง ไป ติดต่อ ซื้อ กับ โจทก์จำเลย ที่ 1 ชำระ ราคา ล่วงหน้า ร้อยละ 25 เป็น เงิน 198,900 บาทต่อมา จำเลย ที่ 1 ไป ตรวจ กระเป๋า เห็นว่า ไม่ได้ มาตรฐาน จึง ไม่รับ มอบ และให้ โจทก์ แก้ไข โจทก์ ไม่ได้ แก้ไข จำเลย จึง ไม่รับ มอบ แต่ โจทก์ ให้ จำเลยรับมอบ ไป ก่อน จำเลย ที่ 1 จึง รับมอบ กระเป๋า ส่ง ให้ แก่ บริษัท ในต่างประเทศ แล้ว กรรมสิทธิ์ ใน กระเป๋า พิพาท จึง เป็น ของ จำเลย ที่ 1โจทก์ ต้อง เรียก เอา ทรัพย์ คืน ก่อน หาก ไม่สามารถ เอา ทรัพย์ คืน ได้ จึง จะ มีสิทธิ ให้ ชำระ ราคา แทน โจทก์ ฟ้องคดี เป็น คดีอาญา ไว้ แล้ว การ ที่ โจทก์มา ฟ้อง เป็น คดี นี้ อีก ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ ราคา ทรัพย์ เป็น มูลคดีเดียว กัน กับ คดีอาญา จึง เป็น ฟ้องซ้อน จำเลย ที่ 2 กระทำ ใน ฐานะ เป็นผู้แทน ของ จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ กระทำ ใน ฐานะ ส่วนตัว โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง จำเลย ที่ 2 ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ใช้ ราคา กระเป๋า เป็น เงิน605,436 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน ดังกล่าวนับแต่ วัน ผิดนัด วันที่ 23 กันยายน 2530 เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย ที่ 1จะ ชำระ ให้ โจทก์ เสร็จ คำขอ อื่น ของ โจทก์ ให้ยก
จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า โจทก์ ประกอบ ธุรกิจรับ ผลิต กระเป๋า หนัง และ สินค้า จำพวก เครื่อง หนัง เมื่อ ประมาณ เดือนเมษายน ถึง เดือน พฤษภาคม 2530 จำเลย ที่ 1 โดย จำเลย ที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจ กระทำการ แทน ได้ สั่ง ให้ โจทก์ ทำ กระเป๋า หนัง ใส่ เอกสาร ทำ ด้วยหนัง กระบือ ขัด มัน จำนวน 1,500 ใบ ใน ราคา 804,336 บาท โดย จำเลย ที่ 1จะ ส่ง ไป ขาย ยัง ต่างประเทศ ใน การ สั่ง ทำ ดังกล่าว จำเลย ที่ 1 ได้ ชำระ ราคาให้ แก่ โจทก์ ร้อยละ 25 ของ ราคา สินค้า เป็น เงิน 198,900 บาทส่วน ที่ เหลือ อีก ร้อยละ 75 จำเลย ที่ 1 จะ ชำระ ภายใน 7 วัน หลังจากได้รับ เอกสาร การ ส่งออก ต่อมา โจทก์ ได้ ผลิต กระเป๋า ส่งมอบ ให้ แก่จำเลย ที่ 1 รับ ไป ครบถ้วน แล้ว แต่ จำเลย ที่ 1 ยัง ไม่ได้ชำระ ค่า กระเป๋าส่วน ที่ เหลือ อีก ร้อยละ 75 เป็น จำนวนเงิน 605,436 บาท ก่อน ฟ้องคดี นี้โจทก์ ได้ ร้องทุกข์ ต่อ พนักงานสอบสวน ให้ ดำเนินคดี อาญา ฐาน ฉ้อโกง แก่จำเลย ทั้ง สอง พนักงานอัยการ เป็น โจทก์ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สอง ใน ความผิดฐาน ฉ้อโกง และ มี คำขอ ใน ส่วน แพ่ง ให้ จำเลย ทั้ง สอง คืน กระเป๋า หนัง จำนวน1,500 ใบ หรือ ใช้ เงิน แก่ ผู้เสียหาย 804,336 บาท และ โจทก์ ซึ่ง เป็นผู้เสียหาย ใน คดี นั้น ได้ เข้า เป็น โจทก์ร่วม กับ พนักงานอัยการ ด้วยต่อมา ศาล พิพากษายก ฟ้อง ปรากฏ ตาม คำพิพากษา คดีอาญา หมายเลขแดงที่ 14117/2532 ของ ศาลแขวง พระนครใต้ ตาม เอกสาร หมาย ล. 25
คดี มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ใน ประการ แรก ว่าโจทก์ เคย ฟ้อง จำเลย ทั้ง สอง ฐาน ฉ้อโกง และ ให้ ใช้ ราคา ที่ อ้างว่าจำเลย ฉ้อโกง เอาไป แล้ว โจทก์ จะ ฟ้อง เรียก เอา เงิน ค่า กระเป๋า ที่ ยังค้างชำระ จาก จำเลย ที่ 1 ใน คดี นี้ ได้ หรือไม่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ว่า โจทก์ได้ บรรยายฟ้อง ใน คดี นี้ ลักษณะ เดียว กับ ใน คดีอาญา ดังกล่าว เพื่อ ให้ จำเลยคืน หรือ ใช้ ราคา ทรัพย์ แก่ โจทก์ เท่ากับ โจทก์ ต้องการ บังคับ จำเลยให้ รับผิด ฐาน ละเมิด โดย อาศัย มูลฐาน จาก คดีอาญา เมื่อ ศาลแขวง พระนครใต้พิพากษายก ฟ้อง เสีย แล้ว จำเลย จึง ไม่ควร ที่ จะ ต้อง รับผิด คืน หรือ ใช้ราคา ทรัพย์ แก่ โจทก์ อีก ต่อไป และ ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย เป็น เรื่อง จ้างทำของ นั้น ก็ ไม่ถูกต้อง เพราะ โจทก์ กับ จำเลย มี นิติสัมพันธ์ กัน ใน เรื่องซื้อ ขาย แต่ ฟ้องโจทก์ เป็น เรื่อง ละเมิด พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า ตามคำฟ้อง บรรยาย ว่า โจทก์ ประกอบ ธุรกิจ รับ ผลิต กระเป๋า หนัง เมื่อ มีลูกค้า สั่ง ทำ สั่ง ซื้อ โจทก์ ก็ จะ ทำการ ผลิต ตาม ที่ ลูกค้า กำหนด แล้วส่งมอบ ให้ แก่ ลูกค้า เมื่อ จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ ลูกค้า สั่ง ให้ โจทก์ ผลิตกระเป๋า ส่ง ให้ เห็น ได้ว่า กรณี เป็น การ ผลิต และ ขาย ให้ ลูกค้า ผู้สั่ง ซึ่งความ สัมพันธ์ ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ที่ 1 ต่าง มี เจตนา ให้ มี การ โอนกรรมสิทธิ์ ใน ทรัพย์ คือ กระเป๋า หนัง โดย โจทก์ ใน ฐานะ ผู้ขาย โอน กรรมสิทธิ์แห่ง ทรัพย์สิน ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ ผู้ซื้อ และ ผู้ซื้อ ตอบแทน ด้วยการ ใช้ ราคา อัน มี ลักษณะ เป็น สัญญาซื้อขาย มิใช่ เป็น สัญญาจ้าง ทำของดัง ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย เมื่อ เป็น สัญญาซื้อขาย และ ได้ความ ว่า โจทก์ได้ ผลิต กระเป๋า ส่งมอบ ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 รับ ไป ครบถ้วน ตาม ข้อตกลง แล้วแต่ จำเลย ที่ 1 ยัง ค้างชำระ ค่า กระเป๋า อยู่ อีก ร้อยละ 75 โจทก์ จึง ชอบที่ จะ ฟ้องบังคับ ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ ราคา ทรัพย์สิน ของ โจทก์ ซึ่งจำเลย ที่ 1 ซื้อ ไป และ ยัง ไม่ได้ชำระ ราคา ได้ แม้ โจทก์ จะ บรรยายฟ้องด้วย ว่า จำเลย เจตนา ฉ้อโกง โจทก์ ก็ เป็น การ บรรยายฟ้อง ใน ลักษณะเล่าเรื่อง ตาม ความ เข้าใจ ของ โจทก์ เอง ว่า ถูก จำเลย หลอกลวง ให้ ทำกระเป๋า โดย จ่ายเงิน เพียง ร้อยละ 25 ของ ราคา ทั้งหมด การ จะ ปรับข้อเท็จจริง ตาม คำฟ้อง ว่า เข้า ลักษณะ สัญญา หรือ ละเมิด นั้น เป็นข้อหาหรือบท เป็น หน้าที่ ของ ศาล ที่ จะ ปรับ บท กฎหมาย เอง แม้ จะ กล่าว ใน ฟ้องว่า เป็น เรื่อง เรียก ทรัพย์ คืน หรือ ใช้ ราคา ก็ หา เป็น เรื่อง ละเมิด เสมอไป ไม่ ฟ้องโจทก์ จึง ชอบ ด้วย กฎหมาย ศาล มีอำนาจ วินิจฉัย ไป ตาม ฟ้อง ได้ไม่เป็น การ วินิจฉัย นอกฟ้อง นอกประเด็น และ เกินคำขอ ดัง ที่จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ปัญหา ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ใน ประการ ต่อไป มี ว่า ฟ้อง ของ โจทก์เป็น ฟ้องซ้อน กับ คดีอาญา หมายเลขแดง ที่ 14117/2532 ของศาลแขวง พระนครใต้ หรือไม่ เห็นว่า ใน คดีอาญา ดังกล่าว พนักงานอัยการเป็น โจทก์ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สอง ใน ฐาน ความผิด ร่วมกัน ฉ้อโกง และ ขอให้ คืนหรือ ใช้ ราคา ทรัพย์ ที่ ฉ้อโกง ไป ซึ่ง ศาล ได้ มี คำพิพากษา ยกฟ้อง แต่ การขอให้ คืน หรือ ใช้ ราคา ทรัพย์ ให้ ผู้เสียหาย ที่ พนักงานอัยการ ขอ มา ในคำฟ้อง คดีอาญา นั้น แม้ จะ ถือว่า เป็น การ ขอ แทน ผู้เสียหาย ตาม ที่บัญญัติ ไว้ ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ก็ ตามแต่ ก็ เป็น กรณี ที่ ความเสียหาย นั้น เนื่อง มา จาก การกระทำ ผิด อาญา เท่านั้นส่วน คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น คู่สัญญา ซื้อ ขาย ที่ ทำให้ เป็นบ่อ เกิด แห่ง หนี้ ที่ จะ ใช้ สิทธิเรียกร้อง ใน มูล แห่ง สัญญาซื้อขาย ที่ มีต่อ กัน อยู่ ใน คดีอาญา ดังกล่าว กับ คดี นี้ ถึง แม้ คำขอบังคับ จะ มี การ ขอ คืนหรือ ใช้ ราคา ทรัพย์ เป็น อย่างเดียว กัน คือ ขอให้ จำเลย ที่ 1 ใช้ ราคาทรัพย์ คือ กระเป๋า หนัง ที่ จำเลย ที่ 1 รับ ไป แต่ ยัง ค้างชำระ แก่ โจทก์อยู่ ดังนี้ เห็นว่า ข้ออ้าง ที่อาศัย เป็น หลักแห่งข้อหา มิได้ เป็นอย่างเดียว กัน ซึ่ง ใน คดีอาญา นั้น ข้ออ้าง ที่อาศัย เป็น หลักแห่งข้อหาที่ พนักงานอัยการ ขอ บังคับ ใน ส่วน แพ่ง เป็น ที่ เห็น ได้ว่า มาจาก ข้ออ้างเนื่องจาก การกระทำ ผิด อาญา อันเป็น การ เรียกร้อง ใน มูลหนี้ ละเมิดอัน เกิดจาก ข้อกล่าวหา ว่า ฉ้อโกง แต่ คดี นี้ มี ที่มา จาก มูลหนี้แห่ง สัญญาซื้อขาย โดย โจทก์ เรียกร้อง เอา มูลค่า ทรัพย์สิน ของ โจทก์ที่ จำเลย ที่ 1 ยัง ค้างชำระ อยู่ มิใช่ ฟ้องคดี ใน เรื่อง เดียว กัน ฟ้องของ โจทก์ จึง ไม่เป็น ฟ้องซ้อน ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1) ส่วน ที่ จำเลย ที่ 1 อ้าง มา อีก ว่า เป็น ฟ้องซ้ำด้วย นั้น เห็นว่า กรณี ไม่ใช่ เป็น การ ฟ้องซ้ำ เพราะ ขณะ โจทก์ ยื่นฟ้องคดี นี้ คดีอาญา ดังกล่าว อยู่ ระหว่าง การ พิจารณา ของ ศาลแขวง พระนครใต้ยัง มิได้ มี คำพิพากษาถึงที่สุด ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย ที่ 1 ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ใน ผล ”
พิพากษายืน

Share