แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ทำการโฆษณาสินค้าและภาพยนตร์ซึ่งเป็นการจ้างทำของ หนี้รายนี้จึงมีอายุความให้ฟ้องร้องได้ภายในกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1) เมื่อนับจากวันที่หนี้รายนี้เกิดขึ้นถึงวันที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายเนื่องจากค้างชำระสินจ้างดังกล่าวเป็นเวลาเกินสองปีแล้ว หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจึงขาดอายุความ
คดีล้มละลายจำเลยไม่จำต้องให้การสู้คดีเช่นคดีแพ่งสามัญจึงไม่มีประเด็นอย่างใดเกิดขึ้น การพิจารณาคดีล้มละลายผิดแผกแตกต่างกับการพิจารณาคดีแพ่งสามัญเพราะพระราชบัญญัติล้มละลายเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนมีผลในทางตัดสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ศาลจึงต้องพิจารณาเอาความจริงตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนมีผลในทางตัดสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ศาลจึงต้องพิจารณาเอาความจริงตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ว่าคดีมีเหตุที่ควรหรือไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ ฉะนั้น แม้จำเลยจะมิได้ยกข้อต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าหนี้ตามฟ้องของโจทก์ขาดอายุความ จึงเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 94 (1) ถือได้ว่าเป็นเหตุที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 14 ดังกล่าว ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๑๔ ถึงเดือนกันยายน ๒๕๑๕ จำเลยว่าจ้างโจทก์ทำการโฆษณาสินค้าและภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ ทางสถานีโทรทัศน์ รวมเป็นเงินค่าจ้างทั้งสิ้น ๑,๐๖๕,๖๐๕ บาท โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาเรียบร้อยแล้วได้ขอเก็บเงินจากจำเลยเป็นคราว ๆ ตามที่ปฏิบัติมา จำเลยผัดผ่อนหลีกเลี่ยงตลอดมา โจทก์มอบให้ทนายความมีหนังสือทวงถามจำเลยสองครั้ง โดยมีระยะห่างกันเกินกว่า ๓๐ วัน จำเลยได้รับทราบแล้วแต่เพิกเฉย ปรากฏว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่มีทรัพย์สินพอชำระหนี้โจทก์ซึ่งเป็นหนี้ที่กำหนดเป็นเงินแน่นอน ๑,๐๖๕,๖๐๕ บาท พฤติการณ์ของจำเลยถือว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ ไม่สามารถชำระหนี้รายนี้ให้โจทก์ได้ ขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยโดยเด็ดขาด และพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายให้เอากองทรัพย์สินของจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ๑,๐๖๕,๖๐๕ บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยไม่ยื่นคำให้การ และขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ทำการโฆษณาสินค้าและภาพยนตร์ซึ่งเป็นการจ้างทำของ หนี้รายนี้มีอายุความให้ฟ้องร้องได้ภายในกำหนด ๒ ปี ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๕ (๑) และหนี้รายนี้เกิดขึ้นระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๑๔ ถึงเดือนกันยายน ๒๕๑๕ เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้คือวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๑๙ เป็นเวลาเกินสองปีแล้ว หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจึงขาดอายุความดั่งที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัย
ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นมูลยกฟ้องไม่ได้ และปัญหาข้อนี้มิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลไม่มีอำนาจหยิบยกขึ้นมาพิจารณาได้นั้น ศาลฎีกาเห็นว่าคดีล้มละลาย จำเลยไม่จำต้องให้การสู้คดีเช่นคดีแพ่งสามัญจึงไม่มีประเด็นอย่างใดเกิดขึ้น การพิจารณาคดีล้มละลายผิดแผกแตกต่างกับการพิจารณาคดีแพ่งสามัญ เพราะพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลไม่มีอำนาจหยิบยกขึ้นมาพิจารณาได้นั้นศาลฎีกาเห็นว่าคดีล้มละลาย จำเลยไม่จำต้องให้การสู้คดีเช่นคดีแพ่งสามัญจึงไม่มีประเด็นอย่างใดเกิดขึ้น การพิจารณาคดีล้มละลายผิดแผกแตกต่างกับการพิจารณาคดีแพ่งสามัญ เพราะพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีผลในทางตัดสิทธิเสรีภาพของผู้ที่ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ ว่าคดีมีเหตุที่ควรหรือไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ ฉะนั้น เมื่อทางพิจารณาได้ความว่า หนี้ตามฟ้องของโจทก์ขาดอายุความ จึงเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา ๙๔ (๑) ถือได้ว่าเป็นเหตุที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา ๑๔ ดังกล่าว
พิพากษายืน