แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ความผิดตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 นั้น ความสำคัญอยู่ที่การให้กู้ดดยเรียก หรือคิดเอาดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่นทำหนังสือสัญญาในการกู้ยืมเงินว่าให้ดอกเบี้ยตาม กฎหมาย,หรือในเอกสารกู้ยืมเงินจะมิได้กล่าวถึงเรื่องดอกเบี้ยเลย แต่ในทางปฏิบัติผู้ให้กู้ได้คิดหรือเรียกเอาดอก เบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายได้กำหนดไว้ก็เป็นความผิดตามกฎหมายแล้ว./
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าอัตรา โดยบรรยายในฟ้องว่า เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๔๙๒ จำเลยได้ให้ นายหลาดกู้ยืมเงินไป ๓๐๐๐ บาท ต่อมาวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๔๙๕ จำเลยบังอาจคิดเอาดอกเบี้ยในจำนวนเงิน ๓๐๐๐ บาท เป็นจำนวนเงิน ๑๖๐๐ บาท เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ ๔๐๐ บาท ฯลฯ จึงขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอก เบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. ๒๔๗๕ มาตรา ๓.
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยผิดตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. ๒๔๗๕ มาตรา ๓ ปรับ ๑๐๐ บาท ลดฐาน รับสารภาพตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา ๕๙ กึ่งหนึ่ง คงปรับ ๕๐ บาท.
โจทก์อุทธรณ์ ขอให้กำหนดโทษให้สูงขึ้น
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ฟ้องดังกล่าว ยังลงโทษจำเลยไม่ได้ พิพากษากลับให้ยกฟ้อง.
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า ตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ส. ๒๔๗๕ มาตรา ๓ นั้นความสำคัญอยู่ที่การให้กู้โดยเรียก หรือคิดเอาดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่นทำหนังสือสัญญาในการกู้ยืมเงินว่า ่ให้ดอกเบี้ยตาม กฎหมาย หรือในเอกสารกู้ยืมเงินจะมิได้กล่าวถึงเรื่องดอกเบี้ยนั้นเลย แต่ในทางปฏิบัติผู้ให้กู้ได้คิดหรือเรียกดอกเบี้ย เกินกว่าอัตราที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ก็เป็นความผิดตามกฎหมาย คดีนี้ดจทก์ฟ้องกล่าวไว้ชัดว่าจำเลยได้ให้กู้และบัง อาจคิดเอาดอกเบี้ยเกินอัตราไป ๔๐๐ บาท จึงผิดตามกฏหมายที่กล่าวแล้ว.
พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ว่าจำเลยผิดตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ๒๔๗๕ มาตรา ๓ ปรับ ๔๐๐ บาท ลดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา ๕๙ กึ่งหนึ่ง คงปรับ ๒๐๐ บาท./