แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ฟ้องโจทก์ กล่าวว่า จำเลยทำน้ำตาลเมามีแรงแอลกอล์สามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับสุราไว้ในความครอบครอง โดยรู้สึกว่าเป็นของผิดกฎหมายและท้ายฟ้องระบุบทขอให้ลงโทษฐานมีด้วยนั้น ศาลลงโทษจำเลยฐานมีน้ำตาลเมาได้ในกรณีที่จับของกลางในเวลาจับตัวผู้กระทำผิดและไม่ได้อ้างของกลางมาเป็นพะยานวัตถุนั้น ไม่อยู่ในบังคับ แห่งมาตรา 101,102,103 และ 242
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยสมคบกันทำน้ำตาลเมามีแรงแอลกอฮอล์สามารถใช้ดื่อกินได้ เช่นเดียวกับสุราไว้ในความครอบครองของจำเลยโดยรู้สึกว่าเป็นของผิดกฎหมาย ขอให้ลงโทษตาม กฎหมาย พรบ ภาษีชั้นในจุลศักราช ๑๒๔๘ มาตรา ๓๘ พรบ ภาษีชั้นในแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๔๗๖ มาตรา ๗,๘ กฎหมายลักษณอาญา ม. ๖๓ และริบของกลาง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ลงโทษจำเลยตาม พรบ ภาษีชั้นในแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๔๗๖ มาตรา ๘
จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลยฎีกาว่า โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลย “ทำ” น้ำตาลเมา จะลงโทษ จำเลยฐาน “มี” น้ำตาลเมาไม่ได้ ศาลฎีกาเห็นว่าตามฟ้อง โจทก์ย่อมเข้าใจได้ว่า โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทำและมีน้ำตาลเมา เพราะฟ้องโจทก์กล่าวว่าไว้ในครอบครองของจำเลยโดยรู้สึกว่าเป็นของผิด กฎหมาย และท้ายฟ้องก็ระบุบทขอให้ลงโทษฐานมีน้ำตาลเมาด้วย จึงลงโทษจำเลยฐานมีน้ำตาลเมาได้ ส่วนที่จำเลย ฎีกาว่าการตรวจจับของกลางและการพิสูตร์แรงแอลกอฮอล์ไม่ได้ปฏิเสธตามประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๐๑,๑๐๒, ๑๐๓, ๒๔๒ นั้น เห็นว่า กรณีนี้เจ้าพนักงานจับของกลางได้ขณะจับกุม ไม่ใช่กรณีค้นของกลางและมาตรา ๒๔๒ นั้นเป็นเรื่องอ้างของกลางเป็นพะยานวัตถุซึ่งในคดีนี้มิได้มีการอ้างของกลางมาเป็นพะยานวัตถุ ข้อค้านของจำเลยเป็นอันตกไป จึงพิพากษายืนตาม ศาลอุทธรณ์