แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
บทบัญญัติของมาตรา16แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่9)พ.ศ.2482ซึ่งบัญญัติว่า”การกระทำที่บัญญัติไว้ในมาตรา27แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรพุทธศักราช2469นั้นให้ถือว่าเป็นความผิดโดยมิพักต้องคำนึงว่าผู้กระทำมีเจตนาหรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือหาไม่”หาได้ลบล้างองค์ประกอบความผิดตามมาตรา27ที่ว่าจะต้องกระทำ”โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษี”ให้สิ้นไปไม่เพราะมาตรา16หมายความถึงแต่เพียงมิให้คำนึงถึงเจตนาแห่งการกระทำเท่านั้นส่วนความมุ่งหมายแห่งการกระทำหรือความประสงค์ต่อผลนั้นยังคงต้องเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา27อยู่คำว่า”โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษี”ตามความหมายของกฎหมายในขณะนั้นย่อมหมายถึงความมุ่งหมายแห่งการกระทำหรือความประสงค์ต่อผลต่างหากจากเจตนากระทำการจำเลยทั้งสองจะมีความผิดต่อเมื่อข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ว่ามีเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล การที่จำเลยทั้งสองสำแดงในใบขนสินค้าและแบบแสดงรายการการค้าตามเอกสารที่ผู้ขายส่งมาให้เมื่อเปิดหีบห่อออกตรวจก็พบเห็นได้ชัดเจนว่ามีสินค้าเกินจำนวนซึ่งจำเลยยอมชำระค่าภาษีอากรเพิ่มกับเบี้ยปรับตามคำสั่งของกรมศุลกากรแสดงถึงความสุจริตใจไม่มีเจตนาจะหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงไม่เสียภาษีจำเลยจึงไม่มีความผิด
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม พระราชบัญญัติ ศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 27, 99 พระราชบัญญัติ ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482มาตรา 16 พระราชบัญญัติ ศุลกากร (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2490 มาตรา 3พระราชบัญญัติ ศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 มาตรา 4ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 พระราชบัญญัติ ให้ บำเหน็จ ใน การปราบปราม ผู้กระทำผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 4, 5, 6, 7, 8, 9ให้ จ่าย รางวัล แก่ เจ้าพนักงาน ผู้ จับ ตาม กฎหมาย
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า จำเลย ทั้ง สอง มี ความผิดตาม พระราชบัญญัติ ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 และ 99 เป็น การกระทำกรรมเดียว ผิด กฎหมาย หลายบท ให้ ลงโทษ บทหนัก ตาม มาตรา 27 ปรับ จำเลยทั้ง สอง รวมกัน เป็น เงิน 3,708,280.68 บาท หาก จำเลย ทั้ง สองไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ จัดการ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 และ 30เฉพาะ จำเลย ที่ 2 ถ้า ต้อง ถูก กักขัง แทน ค่าปรับ ให้ กักขัง ไม่เกิน1 ปี จ่าย รางวัล ให้ เจ้าพนักงาน ผู้ จับ ตาม กฎหมาย
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ปัญหาข้อกฎหมาย ต้อง วินิจฉัยตาม ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง ประการ แรก ว่า การกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สองจะ เป็น ความผิด ตาม ที่ โจทก์ ฟ้อง นั้น จำเลย ทั้ง สอง ต้อง มี เจตนา จะ ฉ้อค่าภาษี ของรัฐบาลหรือไม่ คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สอง ขอให้ ลงโทษตาม พระราชบัญญัติ ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27, 99 พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 16 โดย กล่าวอ้าง การกระทำของ จำเลย ทั้ง สอง เป็น ใจความ สำคัญ ว่า จำเลย ทั้ง สอง นำ ส่ง ของ เข้า มาใน ราชอาณาจักร โดย จำเลย ทั้ง สอง มี เจตนา หลีกเลี่ยง การ เสีย ค่าภาษีศุลกากร ทั้งนี้ โดย จำเลย ทั้ง สอง มี เจตนา จะ ฉ้อค่าภาษี ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ข้อต่อสู้ ของ จำเลย ทั้ง สอง ที่ ว่า จำเลย ทั้ง สอง ไม่มี เจตนาหลีกเลี่ยง ภาษีอากร นั้น ฟังไม่ขึ้น เพราะ ตาม พระราชบัญญัติ ศุลกากร(ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 16 บัญญัติ ว่า “การกระทำ ที่ บัญญัติไว้ ใน มาตรา 27 และ มาตรา 99 แห่ง พระราชบัญญัติ ศุลกากรพุทธศักราช 2469 นั้น ให้ ถือว่า เป็น ความผิด โดย มิพัก ต้อง คำนึง ว่าผู้กระทำ มี เจตนา หรือ กระทำ โดยประมาท เลินเล่อ หรือ หา ไม่ “จึง พิพากษา ลงโทษ จำเลย เห็นว่า พระราชบัญญัติ ศุลกากร พุทธศักราช2469 มาตรา 27 เฉพาะ ที่ เกี่ยวกับ กรณี นี้ มี บทบัญญัติ ว่า “ผู้ใดนำ หรือ พา ของ ที่ ยัง มิได้ เสีย ค่าภาษี ฯลฯ หรือ เกี่ยวข้อง ด้วยประการใด ๆ ใน การ หลีกเลี่ยง หรือ พยายาม หลีกเลี่ยง การ เสียค่าภาษี ศุลกากร ฯลฯ โดย เจตนา จะ ฉ้อค่าภาษี ของรัฐบาลของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ จะ ต้อง เสีย สำหรับ ของ นั้น ๆ ฯลฯ สำหรับ ความผิด ครั้งหนึ่ง ๆ ให้ ปรับ หรือ จำคุก ซึ่ง คำ ว่า “โดย เจตนาจะ ฉ้อค่าภาษี ของรัฐบาลของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ” นั้น ยัง คง ถือว่า เป็น องค์ประกอบ ความผิด เช่น กรณี นี้ อยู่ บทบัญญัติ ของมาตรา 16 แห่ง พระราชบัญญัติ ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 นั้นหา ได้ ลบล้าง องค์ประกอบ ความผิด ที่ ว่า จะ ต้อง กระทำ “โดย เจตนา จะฉ้อค่าภาษี ” นั้น ให้ สิ้นไป ไม่ เพราะ มาตรา 16 นั้น หมายความ ถึงแต่เพียง มิให้ คำนึง ถึง เจตนา แห่ง การกระทำ เท่านั้น ส่วน ความมุ่งหมายแห่ง การกระทำ หรือ ความ ประสงค์ ต่อ ผล นั้น ยัง คง ต้อง เป็น องค์ประกอบความผิด ตาม มาตรา 27 นั้น อยู่ ถ้า ว่า “โดย เจตนา จะ ฉ้อค่าภาษี “ตาม ความหมาย ของ กฎหมาย ใน ขณะ นั้น ย่อม หมายถึง ความมุ่งหมาย แห่งการกระทำ หรือ ความ ประสงค์ ต่อ ผล ต่างหาก จาก เจตนา กระทำการ คดี นี้จำเลย ทั้ง สอง จะ มี ความผิด ก็ ต่อเมื่อ มี ข้อเท็จจริง ที่ รับฟัง ได้ว่าจำเลย ทั้ง สอง มี เจตนา จะ ฉ้อค่าภาษี ของรัฐบาล ซึ่ง ศาลอุทธรณ์มิได้ วินิจฉัย ข้อเท็จจริง ไว้ ศาลฎีกา เห็นสมควร วินิจฉัย ไป เสีย เลยโดย ไม่จำต้อง ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ปรากฏ ข้อเท็จจริงตาม ทางนำสืบ ของ โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สอง ว่า จำเลย ทั้ง สอง นำ สินค้าประเภท อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ เข้า มา ใน ราชอาณาจักร โดย ยื่น ใบขนสินค้าขาเข้า และ แบบแสดงรายการ การค้า ต่อ กรมศุลกากร พร้อม บัญชี ราคา สินค้าเอกสาร เกี่ยวกับ การ ประกันภัย ใบตราส่ง เอกสาร ใบสุทธิ การ ชำระ เงินแบบ ล. ป.21 ตาม เอกสาร หมาย จ. 2 และ จ. 4 และ ชำระ ค่าภาษีอากร แล้วตาม ใบเสร็จรับเงิน อากร ขาเข้า เอกสาร หมาย จ. 3 พนักงานศุลกากรตรวจสอบ แล้ว พอใจ บัญชี ราคา สินค้า ต่อมา ได้ มี การ เปิด สินค้าออก ตรวจสอบ ปรากฏว่า มี สินค้า เกิน จาก จำนวน ที่ จำเลย ทั้ง สอง สำแดง ไว้พนักงานศุลกากร ได้ ประเมิน ภาษีอากร เพิ่ม พร้อม กับ ให้ จำเลย ทั้ง สองชำระ ค่าปรับ จำเลย ทั้ง สอง ตกลง ยินยอม ตาม ที่ กรมศุลกากร ประเมินเพิ่ม และ ได้ จัดทำ ใบขนสินค้า ขาเข้า และ แบบแสดงรายการ การค้า เพิ่มเติมและ กรมศุลกากร ได้ ตรวจ ปล่อย สินค้า ให้ จำเลย ทั้ง สอง รับ ไป เอกสารต่าง ๆ ที่ จำเลย ทั้ง สอง แนบ แสดง ไป พร้อม กับ ใบขนสินค้า ขาเข้า และแบบแสดงรายการ การค้า ใน ครั้งแรก นั้น เป็น เอกสาร ที่ ทาง ผู้ขายใน ต่างประเทศ ออก ให้ กับ จำเลย ทั้ง สอง จำเลย ทั้ง สอง จึง สำแดง ในใบขนสินค้า และ แบบแสดงรายการ การค้า ตาม หลักฐาน ที่ ทาง ผู้ขายส่ง มา ให้กับ จำเลย ทั้ง สอง นอกจาก นี้ เมื่อ เปิด หีบ ห่อ ออก ตรวจ ก็ พบ เห็น ได้โดย ชัดเจน ว่า มี จำนวน สินค้า เกิน จาก ที่ จำเลย ทั้ง สอง สำแดง โดย จำเลยทั้ง สอง มิได้ ปกปิด ซุกซ่อน สินค้า แต่อย่างใด และ เมื่อ กรมศุลกากรประเมิน ค่าภาษีอากร เพิ่ม สำหรับ สินค้า ที่ เพิ่มขึ้น พร้อม กับเบี้ยปรับ อีก 2 เท่า จำเลย ทั้ง สอง ก็ ยินยอม ปฏิบัติ ตาม คำสั่งของ กรมศุลกากร แสดง ถึง ความ สุจริตใจ ของ จำเลย ทั้ง สอง ไม่มี เจตนาจะ หลีกเลี่ยง หรือ ฉ้อโกง ไม่เสีย ภาษี เมื่อ จำเลย ทั้ง สอง ไม่มี เจตนาที่ จะ ฉ้อค่าภาษี ของรัฐบาลจำเลย ทั้ง สอง จึง ไม่มี ความผิด ตาม ที่โจทก์ ฟ้อง ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง ฟังขึ้น เมื่อ ฟัง ว่า จำเลย ทั้ง สองไม่ได้ กระทำผิด ตาม ที่ โจทก์ ฟ้อง แล้ว ที่ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ว่า สิทธินำ คดีอาญา มา ฟ้อง จำเลย ทั้ง สอง ระงับ ไป ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา 39(3) ประกอบ มาตรา 37(4) แล้ว จึง ไม่จำต้องวินิจฉัย เพราะ ไม่ทำ ให้ ผล ของ คดี เปลี่ยนแปลง ไป ที่ ศาลล่าง ทั้ง สองพิพากษา ลงโทษ จำเลย ทั้ง สอง ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา ของจำเลย ทั้ง สอง ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์