แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ผู้ควบคุมเรือกำปั่นยนต์มาจากต่างประเทสมาถึงตำบนปากพนังได้ไช้เรือนั้นรับคนโดยสารจากเรือที่จอดหยู่ที่ปากพนัง ส่งคนโดยสานนั้นขึ้นที่ตลาดปากพนัง ดั่งนี้ไม่มีความผิดตาม ม.7(1)
คำว่า คนโดยสานตามมาตรา 7(1) เพ็งเล็งถึงคนโดยสานที่มาจากต่างประเทส.
ย่อยาว
ได้ความตามโจทฟ้องว่า เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๔๘๖ เวลากลางคืนจำเลยควบคุมเรือกำปั่นยนต์ชื่ออิตาชูมารูมาจากเมืองโชนันนอกราชอานาจักร มาถึงตำบนปากพนังอำเพอปากพนังไนราชอานาจักร โดยไม่แจ้งกำหนดวันเวลาที่เรือจะมาถึง เมื่อถึงแล้วก็มิได้รายงานต่อเจ้าพนักงานตรวดคนเข้าเมือง ไม่ยื่นบัญชีคนโดยสานและคนประจำเรือ ไม่แวะรับเจ้าพนักงานเพื่อขึ้นตรวด และเมื่อเรือถึงปากพนังจำเลยได้ไช้เรือนั้นรับคนโดยสานคนหนึ่งจากเรือลคอนซึ่งมาจากกรุงเทพจอดหยู่ที่ปากพนังส่งคนโดยสานนั้นที่ตลาดปากพนัง โจทขอไห้ลงโทสตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ส.๒๔๘๐ มาตรา ๖,๗(๑) (๒) (๓) , ๔๐ จำเลยรับสารภาพ
สาลชั้นต้นพิพากสาลงโทสปรับตามกดหมายที่โจทอ้าง
สาลอุธรน์พิพากสาแก้ว่าจำเลยยังไม่มีความผิดตามมาตรา ๗ อนุมาตรา ๑ เพราะการที่จำเลยรับคนโดยสานจากเรือลคอนส่งที่ปากพนังอันเปนตำบนเดียวกันนั้นหาไช่คนที่มาจากต่างประเทสไม่
โจทดีกาว่า จำเลยควนมีความผิดตามมาตรา ๗(๑)
สาลดีกาเห็นว่า คำว่า “คนโดยสาน” ตามมาตรา ๗(๑) เพ่งเล็งถึงคนโดยสารที่มาจากต่างประเทส ฉะนั้นการที่จำเลยรับคนซึ่งมาจากกรุงเทพส่งที่ปากพนัง จึงยังไม่ควนมีความผิด พิพากสายืนตามสาลอุธรน์