แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บที่ดั้งจมูกและรักษาโดยกินยามาตั้งแต่วันเกิดเหตุจนปัจจุบันเป็นเวลานานถึง10เดือนเศษการที่ผู้เสียหายมิได้รักษาโดยวิธีผ่าตัดคงเอายามากินที่บ้านจนปัจจุบันแสดงว่าผู้เสียหายสามารถไปทำงานหรือทำธุรกิจอื่นได้จึงยังไม่พอฟังว่าบาดแผลของผู้เสียหายดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้เสียหายป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันอันจะเข้าลักษณะเป็นอันตรายสาหัส สถานที่เกิดเหตุแม้จะเป็นสนามหญ้าตลอดติดต่อเป็นผืนเดียวไม่มีรั้วล้อมรอบไม่มีเครื่องหมายแสดงให้ทราบว่าเป็นแนวเขตของบ้านพักก็ตามแต่ก็เป็นที่เห็นได้ว่าบริเวณที่เกิดเหตุซึ่งเป็นสนามหญ้านั้นอยู่หน้าบ้านพักซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสียหายถือได้ว่าเป็นเคหสถานของผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา1(4)
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ทั้ง หก ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297, 362, 364, 365, 83
จำเลย ทั้ง หก ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ที่ 6 มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297 365(3) ประกอบ มาตรา 364 เป็น การกระทำ กรรมเดียวผิด กฎหมาย หลายบท ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 ซึ่ง เป็นบทหนัก จำคุก 2 ปี ยกฟ้อง โจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 5
จำเลย ที่ 6 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย ที่ 6 มี ความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295, 365(1)(3) ประกอบ มาตรา 364เป็น กรรมเดียว ผิด กฎหมาย หลายบท ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90ลงโทษ ตาม มาตรา 365(1)(3) ซึ่ง เป็น บทหนัก จำคุก 2 ปี คำให้การชั้น จับกุม และ ชั้นสอบสวน ของ จำเลย ที่ 6 เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณามีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ หนึ่ง ใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 คง จำคุก 1 ปี 4 เดือน นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ และ จำเลย ที่ 6 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า แม้ ผู้เสียหาย ได้รับ บาดเจ็บ ที่ ดั้ง จมูก และรักษา โดย กิน ยา มา ตั้งแต่ วันเกิดเหตุ จน ปัจจุบัน เป็น เวลา นาน ถึง 10เดือน เศษ ดั้ง จมูก ยัง หัก อยู่ และ ยัง หายใจ ไม่ สะดวก แพทย์ ผู้ตรวจ เป็นแพทย์ แผน ปัจจุบัน ทำ รายงาน ชันสูตร บาดแผล ผู้เสียหาย ตาม หลักวิชา การที่ ทัน สมัย ซึ่ง ใช้ เป็น หลัก มาตรฐาน ใน การ กำหนด ระยะเวลา ทำการรักษา บาดแผล ผู้บาดเจ็บ ตลอดมา ก็ ตาม แต่ ปรากฏว่า ผู้เสียหาย มิได้รักษา โดย วิธี ผ่าตัด คง เอา ยา มา กิน ที่ บ้าน จน ปัจจุบัน แสดง ว่า ผู้เสียหายสามารถ ไป ทำงาน หรือ ทำ ธุรกิจ อื่น ได้ ส่วน กรณี ที่ แพทย์ ผู้ตรวจจด บันทึก เกี่ยวกับ ระยะเวลา การ รักษา ก็ เป็น เพียง ข้อสันนิษฐาน ของแพทย์ ที่ กะ ประมาณ ไว้ ใน ขณะ ทำการ ตรวจ ซึ่ง ไม่แน่ นอน ว่า จะ ถูกต้องตาม นั้น หรือไม่ บาดแผล อาจจะ หาย เร็ว กว่า กำหนด ไว้ นั้น ก็ ได้ด้วย เหตุ นี้ จึง ยัง ไม่พอ ฟัง ว่า บาดแผล ของ ผู้เสียหาย ดังกล่าว เป็นเหตุให้ ผู้เสียหาย ป่วย เจ็บ ด้วย อาการ ทุกขเวทนา หรือ จน ประกอบ กรณียกิจตาม ปกติ ไม่ได้ เกินกว่า ยี่สิบ วัน อัน จะ เข้า ลักษณะ เป็น อันตรายสาหัสตาม ฟ้อง
มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 6 ว่า จำเลย ที่ 6มี ความผิด ฐาน บุกรุก หรือไม่ ศาลฎีกา เห็นว่า ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1(4) บัญญัติ ว่า “เคหสถาน ” หมายความ ว่า และ ให้ หมายความรวม ถึง บริเวณ ของ ที่ ซึ่ง ใช้ เป็น ที่อยู่อาศัย นั้น ด้วย จะ มี รั้ว ล้อมหรือไม่ ก็ ตาม ศาลล่าง ทั้ง สอง ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า วันเกิดเหตุจำเลย ที่ 6 เข้า ไป ทำร้าย ผู้เสียหาย ที่ บริเวณ สนาม หญ้า หน้า บ้านพัก ซึ่งใช้ เป็น ที่อยู่อาศัย ของ ผู้เสียหาย และ สนาม หญ้า บริเวณ ที่เกิดเหตุตาม แผนที่ สังเขป แสดง สถานที่เกิดเหตุ แม้ จะ เป็น สนาม หญ้า ตลอด ติดต่อเป็น ผืน เดียว ไม่มี รั้ว ล้อมรอบ ไม่มี เครื่องหมาย แสดง ให้ ทราบ ว่า เป็นแนวเขต ของ บ้านพัก ก็ ตาม แต่ ก็ เป็น ที่ เห็น ได้ว่า บริเวณ ที่เกิดเหตุซึ่ง ใช้ เป็น สนาม หญ้า นั้น อยู่ หน้า บ้านพัก ซึ่ง ใช้ เป็น ที่อยู่อาศัย ของผู้เสียหาย ถือได้ว่า จำเลย ที่ 6 เข้า ไป ใน เคหสถาน ของ ผู้เสียหายโดย ไม่มี เหตุอันสมควร และ โดย ใช้ กำลัง ประทุษร้าย ผู้เสียหายจำเลย ที่ 6 จึง มี ความผิด ฐาน บุกรุก ตาม ที่ โจทก์ ฟ้อง
พิพากษายืน