คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

คดีนี้โจทก์ฟ้องให้ลงโทษจำเลยทั้งสองด้วยข้อหาว่าต่างขับรถจักรยานยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย.จำเลยทั้งสองย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อกันตามรูปคดีเช่นนี้พยานโจทก์นั่งมาในรถคันใดอาจจะเบิกความสมอ้างข้างฝ่ายรถคันที่ตนนั่งและแตกต่างกับพยานโจทก์ปากอื่นก็ได้หาใช่ว่าพยานโจทก์บางปากเบิกความขัดกับพยานปากอื่นแล้วจะทำลายน้ำหนักคำพยานปากอื่นให้ไม่ควรรับฟังเสียทั้งหมดไม่แต่ศาลชอบที่จะใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักคำพยานหลักฐานทั้งหมดในสำนวนแล้วพิเคราะห์ว่าคำเบิกความของพยานปากใดควรเชื่อฟังในข้อใดหรือไม่เพียงใดเพราะเหตุใดที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาว่าคำให้การของพยานโจทก์ขัดกันเองจึงทำให้รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยฝ่ายใดประมาทนั้นจึงไม่ชอบ.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง สอง ต่าง ขับรถ จักรยานยนต์ ด้วย ความประมาท ทำ ให้ รถ ชนกัน โดย แรง เป็น เหตุ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ได้ รับบาดเจ็บ แก่ กาย และ จิตใจ นาย สมใจ คนเที่ยง ได้ รับ บาดเจ็บ สาหัสและ นาง น้ำทิพย์ สว่างโลก หรือ ตุ้มปี และ นางสาว สมจิตร ตุ้มปีได้ รับ บาดเจ็บ แก่ กาย และ จิตใจ และ ถึง แก่ ความตาย ตาม ลำดับ ขอให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391, 300, 390 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43, 157 พระราชบัญญัติ รถยนต์ พ.ศ. 2522มาตรา 64
จำเลย ทั้ง สอง ต่าง ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ทั้ง สอง มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ลงโทษ ปรับ และ จำเลย ที่ 1 มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 300, 390 พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ซึ่ง เป็นบทหนัก ที่สุด ให้ จำคุก จำเลย ที่ 1 มี กำหนด 3 ปี สำหรับ จำเลย ที่2 ข้อหา อื่น ให้ ยกฟ้อง
โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 ต่าง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ ยกฟ้อง สำหรับ จำเลย ที่ 1 ในข้อหา ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 300 และ 390 ด้วย นอกจาก ที่แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ ฎีกา ขอ ให้ ลงโทษ จำเลย ที่ 1
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ฎีกา โจทก์ ข้อ ที่ ว่า ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ให้ยกฟ้อง จำเลย ที่ 1 โดย พิจารณา ว่า คำให้การ ของ พยาน โจทก์ ขัด กันเอง จึง ทำ ให้ รับ ฟัง ไม่ ได้ ว่า จำเลย ฝ่าย ใด ประมาท นั้น ไม่ ชอบเสียก่อน ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ใจความ ว่า ตาม คำ นาง น้ำทิพย์ และนาย สมใจ พยาน โจทก์ ว่า จำเลย ที่ 2 ขับรถ จักรยานยนต์ ตาม หลัง และชน ท้าย รถจักรยานยนต์ คัน ที่ จำเลย ที่ 1 ขับ แต่ กลับ ได้ ความ ตามคำ พระภิกษุ ประยูร พยาน โจทก์ ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ ขับรถ ตาม หลังและ ชนท้าย รถ คัน ที่ จำเลย ที่ 2 ขับ แตกต่าง ขัดกัน ใน สาระ สำคัญเป็น สอง นัย อย่าง ตรงกันข้าม จะ ฟัง ว่า รถ สอง คัน ชน กัน เพราะจำเลย ทั้ง สอง ประมาท หรือ คนใด คนหนึ่ง ประมาท ไม่ ได้ ศาลฎีกา เห็นว่า คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง ให้ ลงโทษ จำเลย ทั้ง สอง ด้วย ข้อหา ต่างขับรถ จักรยานยนต์ โดย ประมาท เป็น เหตุ ให้ ผู้อื่น ถึง แก่ ความตายจำเลย ทั้ง สอง ย่อม เป็น ปฏิปักษ์ ต่อ กัน ตาม รูปคดี เช่นนี้ พยานโจทก์ ที่ นั่ง มา ใน รถ คันใด อาจ จะ เบิกความ สม ข้าง ฝ่าย รถ คันที่ ตน นั่ง และ แตกต่าง กับ พยาน โจทก์ ปาก อื่น ก็ ได้ หา ใช่ ว่าพยาน โจทก์ บาง ปาก เบิกความ ขัด กับ พยาน ปาก อื่น แล้ว จะ ทำลายน้ำหนัก คำพยาน ปาก อื่น ให้ ไม่ ควร รับ ฟัง เสีย ทั้งหมด ไม่ แต่ ศาลชอบ ที่ จะ ใช้ ดุลพินิจ วินิจฉัย ชั่ง น้ำหนัก คำพยาน หลักฐาน ทั้งหมดใน สำนวน แล้ว พิเคราะห์ ว่า คำเบิกความ ของ พยาน ปาก ใด ควร เชื่อฟังใน ข้อใด หรือไม่ เพียงใด เพราะ เหตุใด ศาลฎีกา จึง ไม่ เห็นพ้อง ด้วยกับ เหตุผล ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย มา ฎีกา โจทก์ ข้อ นี้ ฟัง ขึ้น
พิพากษา ยืน.

Share