คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

คำสั่งศาลไม่ขยายเวลาให้โจทก์คัดสำเนาเอกสารหรือไม่เลื่อนการพิพากษาคดีไปเป็นการตัดพยานโจทก์เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเมื่อโจทก์มีเวลาพอที่จะโต้แย้งคำสั่งแต่มิได้โต้แย้งไว้จึงต้องห้ามอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว โจทก์เป็นผู้โดยสารในรถยนต์คันที่ชนกับรถบรรทุกที่จำเลยที่1ขับโจทก์ฟ้องว่าเหตุละเมิดเกิดจากความประมาทของฝ่ายจำเลยแต่จำเลยให้การปฏิเสธในข้อนี้โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างหน้าที่นำสืบตกแก่โจทก์โจทก์จึงต้องนำสืบข้อเท็จจริงให้ศาลเห็นตามข้อกล่าวอ้างของตน.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ โดยสาร ไป กับ รถยนต์ โดยสาร คัน หมายเลขรบ-05504 แล้ว รถโดยสาร ดังกล่าว ชน กับ รถยนต์ บรรทุก สิบล้อ คันหมายเลข ทะเบียน รย-16133 ของ จำเลย ที่ 2 มี จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ขับขี่ และ เอา ประกันภัย ไว้ กับ จำเลย ที่ 3 เหตุ เกิด จาก ความประมาท ของ จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ให้การ ปฏิเสธ ส่วนจำเลย ที่ 1 โจทก์ ขอ ถอน ฟ้อง ศาลชั้นต้น พิพากษา ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ยืน โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ‘ปัญหา ข้อแรก ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า การ ที่ศาลชั้นต้น พิพากษา คดี นี้ โดย ไม่ ขยาย ระยะ เวลา ให้ โจทก์ คัด สำเนาเอกสาร ที่ โจทก์ ประสงค์ จะ อ้าง จาก สำนวน อื่น เข้า สู่ สำนวน นี้ก่อน เป็น การ ไม่ ชอบ นั้น ตาม รายงาน กระบวน พิจารณา ลง วันที่ 18พฤศจิกายน 2524 โจทก์ แถลง ว่า หมด พยาน บุคคล และ ศาล มี คำสั่ง ให้โจทก์ คัด สำเนา เอกสาร ที่ โจทก์ ประสงค์ จะ อ้าง ตาม บัญชี ระบุพยาน เพิ่มเติม ลง วันที่ 18 พฤศจิกายน 2524 มา ส่ง ศาล แต่ โจทก์เพิกเฉย วันที่ 28 ธันวาคม 2524 ศาล มี คำสั่ง เตือน ให้ โจทก์ คัดสำเนา เอกสาร มา ส่ง ศาล ภายใน 15 วัน มิฉะนั้น จะ ถือ ว่า ไม่ ติดใจอ้าง เอกสาร ดังกล่าว จน ถึง วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2525 โจทก์ แถลง ต่อศาล ว่า ยัง ไม่ สามารถ คัด สำเนา เอกสาร ได้ เพราะ เอกสาร ยัง มิได้เข้า สู่ สำนวน อื่น ตาม ที่ ได้ ระบุ พยาน เพิ่มเติม ไว้ ขอ ขยายระยะ เวลา การ คัด สำเนา เอกสาร ต่อไป อีก ศาล อนุญาต ให้ ขยาย ระยะเวลา ไป 1 เดือน วันที่ 27 สิงหาคม 2525 โจทก์ แถลง ขอ ขยาย ระยะ เวลาการ คัด สำเนา เอกสาร อีก โดย อ้าง เหตุผล เช่นเดียว กับ คำ แถลงฉบับ ก่อน ศาล สั่ง ให้ ผู้ร้อง จึง มา ยื่น คำร้อง ขอ คืน รถจักรยานยนต์ ของกลาง เป็น คดี นี้ ปัญหา ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกาของ โจทก์ มี ว่า ผู้ร้อง มี สิทธิ ร้อง ขอ คืน รถ จักรยานยนต์ ของกลางหรือไม่
พิเคราะห์ แล้ว ได้ความ ตาม ที่ ผู้ร้อง นำสืบ ว่า หลังจาก ทำ สัญญาเช่าซื้อ รถ จักรยานยนต์ ของกลาง แล้ว จำเลย ชำระ ค่า เช่าซื้อ ให้ แก่ผู้ร้อง เพียง 11 งวด งวด สุดท้าย ชำระ ให้ เพียง 230 บาท หลังจาก นั้นจำเลย ไม่ ได้ ชำระ ค่าเช่าซื้อ ให้ ผู้ร้อง อีก เลย ยัง ค้าง ชำระค่าเช่าซื้อ อยู่ อีก 4,000 บาท เศษ แต่ ผู้ร้อง ก็ ไม่ ได้ ใช้ สิทธิบอก เลิก สัญญา และ เรียก ให้ จำเลย ส่งมอบ รถ จักรยานยนต์ ของกลาง คืนที่ นาย ดิเรก พุฒซ้อน ผู้รบมอบอำนาจ ของ ผู้ร้อง เบิกความ ว่า เมื่อประมาณ เดือน สิงหาคม 2526 ผู้ร้อง ได้ มี หนังสือ บอกเลิก สัญญา ไปยัง จำเลย คง มี แต่ คำ นาย ดิเรก คนเดียว ลอยๆ ฟัง เป็น จริง ไม่ ได้ข้อเท็จจริง ยัง ได้ความ ตาม คำ นาย ดิเรก ต่อไป ว่า หลัง เกิดเหตุแล้ว ญาติ ของ จำเลย ได้ มา ติดต่อ กับ ผู้ร้อง ขอ ให้ ผู้ร้อง ขอ คืนรถ จักรยานยนต์ ของกลาง ให้ แก่ ภรรยา จำเลย โดย ภรรยา จำเลย จะ ชำระค่าเช่าซื้อ ส่วน ที่ ค้าง อยู่ ทั้งหมด และ ว่า หาก ภรรยา จำเลย ชำระค่าเช่าซื้อ ที่ ค้าง ทั้งหมด แล้ว ผู้ร้อง ก็ ยินดี จะ คืน รถจักรยานยนต์ ของกลาง ให้ แก่ ภรรยา จำเลย ตาม คำเบิกความ ของ นาย ดิเรกดังกล่าว เห็น ได้ ว่า สัญญา เช่าซื้อ ยัง ไม่ ได้ เลิกกัน และ ที่ผู้ร้อง มา ยื่น คำร้อง ขอ รถ จักรยานยนต์ ของกลาง คืน ก็ เพราะ ญาติของ จำเลย ขอร้อง และ ผู้ร้อง มี เจตนา เพียง ที่ จะ ได้ รับ ชำระ เงินค่าเช่าซื้อ ตาม สัญญา เท่านั้น เป็น การ กระทำ เพื่อ ประโยชน์ ของจำเลย ซึ่ง เป็น ผู้ กระทำ ความผิด ฐาน วิ่งราว ทรัพย์ เป็น การ ใช้สิทธิ โดย ไม่ สุจริต ผู้ร้อง จึง ไม่ มี สิทธิ ขอ ให้ ศาล สั่ง คืนรถ จักรยานยนต์ ของกลาง ให้ แก่ ผู้ร้อง ได้ ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษาให้ คืน รถ จักรยานยนต์ ของกลาง ให้ แก่ ผู้ร้อง ศาลฎีกา ไม่ เห็นพ้องด้วย ฎีกา โจทก์ ฟัง ขึ้น
พิพากษา กลับ ให้ ยก คำร้อง ของ ผู้ร้อง ตาม คำสั่ง ศาลชั้นต้น’

Share