แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
++ เรื่อง คดีปกครอง (เรียกค่าทดแทนที่ดิน) ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++ ขณะทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษนั้น พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตพระโขนง ฯลฯ พ.ศ.2530 ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตาม พ.ร.ฎ.นี้ได้สิ้นผลบังคับใช้ไปแล้วเพราะหมดอายุ ฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของผู้ว่าการการทางพิเศษฯ กับฐานะของคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.ฎ. ดังกล่าวจึงสิ้นผลลง ราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่คณะกรรมการชุดนี้กำหนดก็ย่อมสิ้นผลไปด้วย ดังนั้น สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งผู้ว่าการของจำเลยที่ 2 ทำในขณะไม่มีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่แล้ว จึงเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจและไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ย่อมไม่มีผลใช้บังคับ การกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนและจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์จึงต้องดำเนินการใหม่
++ ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่55515, 55516, 55517 และโฉนดเลขที่ 101810 ตำบลบางกะปิตำบลห้วยขวาง (สามเสนนอกฝั่งเหนือ) อำเภอบางกะปิ และอำเภอห้วยขวาง (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร จำนวน 4 แปลงรวมเนื้อที่ 6 ไร่ 2 งาน 12 ตารางวา
++ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน2530 มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตพระโขนง เขตยานนาวา เขตปทุมวัน เขตบางรักเขตสัมพันธวงศ์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตพระนคร เขตดุสิตเขตบางเขน เขตพญาไท และเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานครพ.ศ. 2530 ประกาศใช้บังคับเพื่อสร้างทางพิเศษสายพระโขนงหัวลำโพง-บางซื่อ และสายสาธร-ลาดพร้าว ซึ่งมีอายุ 5 ปี นับแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2530 ถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2535 ตามเอกสารหมาย ล.1 ที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งสี่แปลงอยู่ในแนวเขตที่ดินที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
++ คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้น ฯตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 953/2534 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2534ตามเอกสารหมาย ล.2 กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนให้โจทก์ตารางวาละ 20,000 บาท และผู้ว่าการของจำเลยที่ 2กับโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันวันที่ 20 สิงหาคม 2535ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ฯ เอกสารหมาย จ.2 หรือ ล.11อันเป็นระยะเวลาที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวหมดอายุแล้ว
++
++ มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองว่า สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.2 หรือ ล.11 มีผลใช้บังคับหรือไม่
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2กับโจทก์ ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เอกสารหมาย จ.2 หรือล.11 เป็นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษ โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสาธร-ลาดพร้าว (บริเวณโรงซ่อมบำรุง)กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งของการดำเนินการกำหนดค่าทดแทนและจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ที่จะถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษฯ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ไม่ใช่การตกลงซื้อขายกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
++
++ ขั้นตอนนี้กำหนดไว้ในมาตรา 10 วรรคหนึ่ง ว่า ในระหว่างใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่มีอำนาจตกลงซื้อขาย และกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อดำเนินการจัดซื้อและจ่ายค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวต่อไปแต่จะให้ราคาหรือค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเกินกว่าราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนดไว้ไม่ได้
++ และมาตรา 4ให้คำนิยาม “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรมราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจหรือบุคคลอื่นใดผู้กระทำการเพื่อประโยชน์ของรัฐ ซึ่งมีอำนาจในการเวนคืนหรือควบคุมการเวนคืน
++ แต่ขณะทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามเอกสารหมาย จ.2 หรือ ล.11 นั้นพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน… พ.ศ. 2530ตามเอกสารหมาย ล.1 ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีกานี้ได้สิ้นผลบังคับใช้ไปแล้วเพราะหมดอายุ ฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยกับฐานะของคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนในท้องที่เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตพระโขนง เขตยานนาวาเขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตสัมพันธวงศ์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายเขตพระนคร เขตดุสิต เขตบางเขน เขตพญาไท และเขตห้วยขวางกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2530 เอกสารหมาย ล.1 สิ้นผลลงไปด้วยและราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่คณะกรรมการชุดนี้กำหนดย่อมสิ้นผลไปด้วย
++ ดังนั้น สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามเอกสารหมาย จ.2 หรือ ล.11 ซึ่งผู้ว่าการของจำเลยที่ 2 ทำในขณะไม่มีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่แล้ว จึงเป็นการกระทำโดยผู้ปราศจากอำนาจและไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของมาตรา 10 วรรคหนึ่ง ย่อมไม่มีผลใช้บังคับ
++ การดำเนินการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนและจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ จึงต้องดำเนินการใหม่
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มอบอำนาจให้นายชัชวาล โอษธีศดำเนินคดีแทน โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๕๕๑๕, ๔๕๕๑๖,๔๕๕๑๗ และ ๑๐๑๘๑๐ ตำบลบางกะปิ และตำบลห้วยขวาง (สามเสนนอกฝั่งเหนือ) อำเภอบางกะปิ และอำเภอห้วยขวาง (บางซื่อ) กรุงเทพมหานครจำนวน ๔ แปลง รวมเนื้อที่ ๖ ไร่ ๒ งาน ๑๒ ตารางวา เมื่อวันที่๑๖ มิถุนายน ๒๕๓๐ มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตพระโขนง เขตยานนาวา เขตปทุมวัน เขตบางรักเขตสัมพันธวงศ์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตพระนคร เขตดุสิต เขตบางเขนเขตพญาไท และเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๐ ประกาศใช้บังคับโดยกำหนดให้ผู้ว่าการของจำเลยที่ ๒ เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนปรากฏว่าที่ดินของโจทก์ทั้งสี่แปลงอยู่ในแนวเขตที่ดินที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จำเลยทั้งสองกำหนดเงินค่าทดแทนให้โจทก์ตารางวาละ ๒๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๕๒,๒๔๐,๐๐๐ บาท โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนดังกล่าวแล้ว แต่เห็นว่าไม่เป็นธรรม เพราะที่ดินของโจทก์อยู่ในแหล่งชุมชนที่เจริญแล้ว มีมูลค่าไม่ต่ำกว่าตารางวาละ๑๒๐,๐๐๐ บาท แต่โจทก์ขอคิดเพียงตารางวาละ ๗๕,๐๐๐ บาทจำเลยทั้งสองกำหนดเงินค่าทดแทนให้ต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด จึงได้อุทธรณ์ แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่เพิ่มเงินค่าทดแทนให้โจทก์อีก โจทก์มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินทั้งสิ้น ๑๙๕,๙๐๐,๐๐๐ บาท จำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว ๕๒,๒๔๐,๐๐๐ บาท จึงต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์อีก ๑๔๓,๖๖๐,๐๐๐ บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับถึงวันฟ้องโดยโจทก์ขอคิดเพียง๕ ปี เป็นเงิน ๕๓,๗๑๕,๐๐๐ บาท รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน ๑๙๖,๙๕๕,๐๐๐ บาทขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน ๑๙๖,๙๕๕,๐๐๐ บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี จากต้นเงิน ๑๔๓,๖๖๐,๐๐๐ บาทนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากจำเลยทั้งสองมิได้เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน… พ.ศ. ๒๕๓๐ ทั้งมิได้เป็นผู้กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่โจทก์ แต่เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้น ฯ ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวมีมติให้ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ปี ๒๕๓๕ ของกรมที่ดินมาเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ ที่ดินของโจทก์เป็นที่ดินว่างเปล่า ยังไม่ได้ถม มีระดับต่ำกว่าถนนประมาณ ๑ เมตรและไม่มีทางรถยนต์เข้าออก ราคาที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้น ฯกำหนดให้แก่โจทก์ตารางวาละ ๒๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงิน๕๒,๒๔๐,๐๐๐ บาท นั้นเหมาะสมและเป็นธรรมแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในเงินค่าทดแทนที่ดินที่โจทก์จะเรียกเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยตามฟ้องสูงกว่าอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสิน ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน… พ.ศ. ๒๕๓๐ มีอายุ ๕ ปี ใช้บังคับระหว่างวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๓๐ ถึงวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๓๕ ดังนั้นการที่จำเลยที่ ๒ ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงกับโจทก์เมื่อวันที่๒๐ สิงหาคม ๒๕๓๕ ตามสัญญาซื้อขายเอกสารหมาย จ.๒ หรือ ล.๑๑หลังจากพระราชกฤษฎีกาหมดอายุลงแล้วย่อมกระทำไปโดยไม่มีอำนาจสัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงไม่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้ต่อมารัฐบาลจะได้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน… พ.ศ. ๒๕๓๕เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการต่อไปอีกก็ตาม แต่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน… พ.ศ. ๒๕๓๕ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๙สิงหาคม ๒๕๓๕ เป็นต้นไป ซึ่งไม่ต่อเนื่องกับพระราชกฤษฎีกาฉบับเดิมจึงไม่ทำให้สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกลับมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายขึ้นมาได้แต่อย่างใด เมื่อสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทของโจทก์ไม่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายดังได้วินิจฉัยมาแล้ว โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์เงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีรวมทั้งยังไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตรา ๒๕ และ มาตรา ๒๖ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาในส่วนนี้แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๒ (๕)และคดีไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นพิพาทข้ออื่นอีกต่อไป พิพากษายกฟ้องค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
จำเลยทั้งสองฎีกา
ศาลฎีกาคณะคดีปกครองตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่๕๕๕๑๕, ๕๕๕๑๖, ๕๕๕๑๗ และโฉนดเลขที่ ๑๐๑๘๑๐ ตำบลบางกะปิตำบลห้วยขวาง (สามเสนนอกฝั่งเหนือ) อำเภอบางกะปิ และอำเภอห้วยขวาง (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร จำนวน ๔ แปลงรวมเนื้อที่ ๖ ไร่ ๒ งาน ๑๒ ตารางวา เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน๒๕๓๐ มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตพระโขนง เขตยานนาวา เขตปทุมวัน เขตบางรักเขตสัมพันธวงศ์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตพระนคร เขตดุสิตเขตบางเขน เขตพญาไท และเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานครพ.ศ. ๒๕๓๐ ประกาศใช้บังคับเพื่อสร้างทางพิเศษสายพระโขนงหัวลำโพง-บางซื่อ และสายสาธร-ลาดพร้าว ซึ่งมีอายุ ๕ ปี นับแต่วันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๓๐ ถึงวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๓๕ ตามเอกสารหมาย ล.๑ ที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งสี่แปลงอยู่ในแนวเขตที่ดินที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้น ฯตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ ๙๕๓/๒๕๓๔ ลงวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๔ตามเอกสารหมาย ล.๒ กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนให้โจทก์ตารางวาละ ๒๐,๐๐๐ บาท และผู้ว่าการของจำเลยที่ ๒กับโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๓๕ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ฯ เอกสารหมาย จ.๒ หรือ ล.๑๑อันเป็นระยะเวลาที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวหมดอายุแล้ว มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองว่า สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ ๒ กับโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.๒ หรือ ล.๑๑ มีผลใช้บังคับหรือไม่ เห็นว่า สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ ๒กับโจทก์ ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เอกสารหมาย จ.๒ หรือล.๑๑ เป็นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษ โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสาธร-ลาดพร้าว (บริเวณโรงซ่อมบำรุง)กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งของการดำเนินการกำหนดค่าทดแทนและจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ที่จะถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษฯ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๐ ไม่ใช่การตกลงซื้อขายกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ขั้นตอนนี้กำหนดไว้ในมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง ว่า ในระหว่างใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา ๖ ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่มีอำนาจตกลงซื้อขาย และกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อดำเนินการจัดซื้อและจ่ายค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวต่อไปแต่จะให้ราคาหรือค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเกินกว่าราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการตามมาตรา ๙ กำหนดไว้ไม่ได้ และมาตรา ๔ให้คำนิยาม “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรมราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจหรือบุคคลอื่นใดผู้กระทำการเพื่อประโยชน์ของรัฐ ซึ่งมีอำนาจในการเวนคืนหรือควบคุมการเวนคืน แต่ขณะทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามเอกสารหมาย จ.๒ หรือ ล.๑๑ นั้นพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน… พ.ศ. ๒๕๓๐ตามเอกสารหมาย ล.๑ ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีกานี้ได้สิ้นผลบังคับใช้ไปแล้วเพราะหมดอายุ ฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยกับฐานะของคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนในท้องที่เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตพระโขนง เขตยานนาวาเขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตสัมพันธวงศ์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายเขตพระนคร เขตดุสิต เขตบางเขน เขตพญาไท และเขตห้วยขวางกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๐ เอกสารหมาย ล.๑ สิ้นผลลงไปด้วยและราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่คณะกรรมการชุดนี้กำหนดย่อมสิ้นผลไปด้วย ดังนั้นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามเอกสารหมาย จ.๒ หรือ ล.๑๑ ซึ่งผู้ว่าการของจำเลยที่ ๒ ทำในขณะไม่มีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่แล้ว จึงเป็นการกระทำโดยผู้ปราศจากอำนาจและไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง ย่อมไม่มีผลใช้บังคับการดำเนินการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนและจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ จึงต้องดำเนินการใหม่คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองชอบแล้ว ฎีกาจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.