คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ศาลล่างทั้งสองพิพากษาปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้องและลงโทษต่ำกว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องแต่โจทก์มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นศาลฎีกาจึงไม่อาจกำหนดโทษจำเลยให้สูงขึ้นอีกได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย กระทำ ความผิด ต่อ กฎหมาย หลายกรรม ต่างกันกล่าว คือ จำเลย ขับ รถบรรทุก หมายเลข ทะเบียน 72-2385 กรุงเทพมหานครไป ตาม ถนน เพชรเกษม จาก อำเภอ ปราณบุรี ไป ทาง อำเภอ หัวหิน จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ใน ขณะ เมาสุรา โดย ฝ่าฝืน กฎหมาย และ จำเลยต่อสู้ ขัดขวาง การ จับกุม ของ ร้อยตำรวจเอก บุญเลิศ เอ็งโอภาสนันท์ กับพวก ซึ่ง เป็น เจ้าพนักงาน ตำรวจ ทางหลวง โดย ใน ขณะที่ร้อยตำรวจเอก บุญเลิศ กับพวก ตั้ง จุด สกัด จับ จำเลย และ ส่ง สัญญาณ ให้ จำเลย หยุด รถ จำเลย ขับ รถ พุ่ง ชน เครื่อง กีดขวาง แล้ว หนี ไป อันเป็น การต่อสู้ ขัดขวาง การ จับกุม ของ เจ้าพนักงาน ใน การ ปฏิบัติการ ตาม หน้าที่แล้ว ใน เวลา ต่อมา จำเลย ต่อสู้ ขัดขวาง การ จับกุม ของนาย ดาบตำรวจ บุญงาม วัดถือธรรม ผู้เสียหาย ซึ่ง เป็น เจ้าพนักงาน ตำรวจ ทางหลวง โดย ขณะที่ ผู้เสียหาย กับพวก ติดตาม ไป ดัก อยู่ ที่ด้านหน้า ของ รถ ที่ จำเลย ขับ และ ส่ง สัญญาณ มือ ให้ จำเลย หยุด รถ เพื่อ จับกุมและ ตรวจ ตาม หน้าที่ จำเลย ขับ รถ พุ่ง ชน ผู้เสียหาย โดย เจตนาฆ่า และต่อสู้ ขัดขวาง เจ้าพนักงาน ซึ่ง กระทำการ ตาม หน้าที่ จำเลย ลงมือกระทำ ความผิด ไป โดย ตลอด แล้ว แต่ การกระทำ นั้น ไม่บรรลุผล ผู้เสียหายไม่ถึง แก่ ความตาย สม ดัง เจตนา ของ จำเลย เนื่องจาก หลบหนี ได้ ทันท่วงทีขอให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 80, 91, 138, 289พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43, 157 จำเลย ให้การ ปฏิเสธ ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคแรก พระราชบัญญัติ จราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43(2), 157 ให้ เรียง กระทง ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 ความผิด ฐาน ต่อสู้ ขัดขวาง เจ้าพนักงาน ซึ่ง ปฏิบัติการ ตามหน้าที่ จำคุก 2 เดือน ความผิด ฐาน ขับ รถ ใน ขณะ เมาสุรา ปรับ 1,000 บาทรวม จำคุก 2 เดือน ปรับ 1,000 บาท ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ จัดการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ข้อหา อื่น ให้ยก จำเลย อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน จำเลย ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ซึ่ง พิจารณา และ ลงชื่อ ใน คำพิพากษาศาลชั้นต้น อนุญาต ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ จำเลย ฎีกา ขอให้ รอการลงโทษ นั้นได้ พิเคราะห์ ถึง พฤติการณ์ แห่ง คดี แล้ว ไม่มี เหตุสมควร จะ รอการลงโทษให้ จำเลย ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย กับ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 แต่ ที่จำเลย ฎีกา ขอให้ กักขัง แทน โดย ให้ กักขัง ไว้ ใน ที่อาศัย ของ จำเลย เองหรือ ของ ผู้อื่น ที่ ยินยอม รับ จำเลย ไว้ ดูแล นั้น เห็นว่า ศาล ลงโทษจำคุก จำเลย ไม่เกิน สาม เดือน และ จำเลย ไม่เคย ต้องโทษ จำคุก มา ก่อนมีเหตุ สมควร เปลี่ยน โทษ จำคุก เป็น กักขัง แทน แต่ ยัง ไม่มี เหตุสมควรจะ กำหนด สถานที่ กักขัง ตาม ที่ จำเลย ฎีกา ฎีกา ของ จำเลย ฟังขึ้น บางส่วน อนึ่ง ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(2), 157 ลงโทษ ปรับ1,000 บาท นั้น ไม่ถูกต้อง เพราะ การ ฝ่าฝืน มาตรา 43(2) ต้อง ระวางโทษจำคุก ไม่เกิน สาม เดือน หรือ ปรับ ตั้งแต่ สอง พัน บาท ถึง หนึ่ง หมื่น บาทหรือ ทั้ง จำ ทั้ง ปรับ ตาม มาตรา 160 วรรคสาม ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษามา จึง เป็น การ ปรับ บท กฎหมาย ไม่ถูกต้อง และ ลงโทษ ต่ำกว่า ที่ กฎหมายบัญญัติ ไว้ ศาลฎีกา เห็นสมควร แก้ไข ให้ ถูกต้อง แต่ โจทก์ มิได้ อุทธรณ์คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ศาลฎีกา จึง ไม่อาจ กำหนด โทษ จำเลย ให้ สูง ขึ้นอีก ได้ ” พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ จราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43(2), 160 วรรคสาม ให้ เปลี่ยน โทษ จำคุก เป็น กักขังแทน มี กำหนด 2 เดือน ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 23 โดย ให้ กักขังใน สถานที่ ที่ ราชการ กำหนด นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 3

Share