แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ในความผิดฐานแข่งรถในทางตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา134รถจักรยานยนต์ที่ใช้ในการแข่งถือเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดสมควรริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา33(1)
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน แข่ง รถ ใน ทาง โดย ไม่ได้รับ อนุญาต เป็น หนังสือ จาก เจ้าพนักงาน จราจร โดย จำเลย ที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ หมายเลข ทะเบียน ตรัง ฌ-3395 และ จำเลย ที่ 2ขับ รถจักรยานยนต์ ไม่มี หมายเลข ทะเบียน ขอให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 134, 160 ทวิ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ริบของกลาง
จำเลย ทั้ง สอง ให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ทั้ง สอง มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 134 (ที่ ถูก มาตรา 134 วรรคหนึ่ง )160 ทวิ จำเลย ทั้ง สอง อายุ ไม่เกิน 17 ปี ลด มาตรา ส่วน โทษ กึ่งหนึ่งตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 จำคุก คน ละ 1 เดือน และ ปรับคน ละ 5,000 บาท จำเลย ทั้ง สอง ให้การรับสารภาพ มีเหตุ บรรเทา โทษลดโทษ ให้ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก คน ละ15 วัน และ ปรับ คน ละ 2,500 บาท โทษ จำคุก ให้ รอการลงโทษ ไว้ มี กำหนด1 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 รถจักรยานยนต์ ของกลางมิใช่ ทรัพย์ ที่ ใช้ ใน การกระทำ ความผิด โดยตรง จึง ไม่ ริบ
โจทก์ อุทธรณ์ ขอให้ ริบ รถจักรยานยนต์ ของกลาง
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา โดย อัยการ สูงสุด รับรอง ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกาของ โจทก์ ว่า รถจักรยานยนต์ ของกลาง เป็น ทรัพย์สิน ที่ ใช้ ใน การกระทำความผิด หรือไม่ และ สมควร ริบ รถจักรยานยนต์ ของกลาง หรือไม่ ปัญหา ว่ารถจักรยานยนต์ ของกลาง เป็น ทรัพย์สิน ที่ ใช้ ใน การกระทำ ความผิดหรือไม่ นั้น เห็นว่า ความผิด อาญา จะ เกิดขึ้น ได้ ก็ โดย มี การกระทำการกระทำ หมายความ รวม ตลอด ถึง การ งดเว้น การ ที่ จัก ต้อง กระทำ เพื่อป้องกัน ผล ด้วย ความผิด ฐาน แข่ง รถ ใน ทาง โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต เป็นหนังสือ จาก เจ้าพนักงาน จราจร ตาม พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 134 นั้น นอกจาก จะ เป็น ความผิด ที่ เกิดขึ้น เพราะ ละเว้น กระทำคือ ไม่ได้ รับ อนุญาต เป็น หนังสือ จาก เจ้าพนักงาน จราจร แล้ว ยัง เป็นความผิด ที่ เกิดขึ้น เพราะ การกระทำ คือ การ แข่ง รถ ด้วย รถจักรยานยนต์ของกลาง ที่ ใช้ แข่งขัน กัน จึง เป็น ทรัพย์สิน ซึ่ง จำเลย ทั้ง สอง ได้ ใช้ใน การกระทำ ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1) ส่วน ปัญหา ว่าสมควร ริบ รถจักรยานยนต์ ของกลาง หรือไม่ นั้น เห็นว่า ถนน หลวงเป็น ทาง ที่ คน ทั่วไป อาจ ใช้ สัญจร ไป มา จำเลย ทั้ง สอง ได้ ขับรถจักรยานยนต์ ของกลาง แข่งขัน กัน โดย ฝ่าฝืน กฎหมาย และ คำสั่งของ เจ้าพนักงาน จราจร โดย ไม่ คำนึง ถึง ความ เดือนร้อน รำคาญ และ อาจ เป็นอันตราย แก่ ชีวิต และ ทรัพย์สิน ของ บุคคลอื่น เป็น พฤติการณ์ ที่ พึง ริบรถจักรยานยนต์ ของกลาง ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง ไม่ ริบ รถจักรยานยนต์ของกลาง นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา ของ โจทก์ ฟังขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ริบ รถจักรยานยนต์ ของกลาง นอกจาก ที่ แก้ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 3