คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6663/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทเป็นเวลา19ปีแต่มิได้ดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเมื่อ ค. ซื้อที่ดินพิพาทมาจากเจ้าของเดิมโดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วโจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิการครอบครองปรปักษ์ขึ้นยัน ค. ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1299วรรคสองเมื่อจำเลยรับโอนที่ดินพิพาทจาก ค. จำเลยจะรับโอนโดยสุจริตหรือไม่อย่างไรโจทก์ผู้ครอบครองปรปักษ์ก็ไม่อาจยกสิทธิของตนขึ้นใช้ยันจำเลยผู้รับโอนต่อมาได้เพราะสิทธิของผู้ครอบครองปรปักษ์ขาดตอนไปแล้วตั้งแต่ผู้รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริตตอนแรกแม้โจทก์จะยังครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาแต่ครอบครองในช่วงหลังที่ ค.และจำเลยรับโอนกรรมสิทธิ์มายังไม่ครบ10ปีจะถือว่ามีการครอบครองปรปักษ์ต่อจำเลยครบเวลาได้กรรมสิทธิ์แล้วด้วยหาได้ไม่

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เข้า ครอบครอง ที่ดิน โฉนด ที่ 14400 และ15669 ซึ่ง มี ชื่อ จำเลย เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ โดย ความสงบ และโดย เปิดเผย ไม่มี ผู้ใด โต้แย้ง คัดค้าน เป็น เวลา 19 ปี โจทก์ จึง ได้กรรมสิทธิ์ จำเลย ได้ เข้า มา รบกวน การ ครอบครอง ของ โจทก์ และ โจทก์เปลี่ยน ชื่อ เจ้าของ ที่ดิน ใน โฉนด ไม่ได้ ขอให้ ศาล มี คำสั่ง แสดง ว่าที่ดิน โฉนด เลขที่ 14400 และ 15669 เป็น กรรมสิทธิ์ ของ โจทก์ โดย การครอบครองปรปักษ์ ห้าม จำเลย หรือ บริวาร เข้า เกี่ยวข้อง ใน ที่ดินดังกล่าว และ ให้ จำเลย ทำการ เปลี่ยน ชื่อ ใน โฉนด เป็น ของ โจทก์ หาก จำเลยไม่ไป ขอให้ ศาล มี คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ไม่เคย ครอบครอง ที่ดิน แปลง พิพาทโดยเฉพาะ สิทธิ ใน ที่ดินพิพาท หาก มี อยู่ ดัง ที่ โจทก์ อ้าง ก็ ได้ ขาดตอน ไปตั้งแต่ เจ้าของ เดิม โอน ขาย ให้ แก่ บุคคลอื่น ผู้รับโอน โดยสุจริตต่อมา บุคคล ดังกล่าว โอน ขาย แก่ จำเลย ซึ่ง จำเลย รับโอน มา โดยสุจริตและ เสีย ค่าตอบแทน แล้ว โจทก์ จะ ยก เอาการ ครอบครองปรปักษ์ มา ยันจำเลย ไม่ได้ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา จะ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่าโจทก์ ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาท ทั้ง สอง แปลง โดย การ ครอบครองปรปักษ์หรือไม่ โจทก์ อ้างว่า ได้ ครอบครอง ที่ดินพิพาท ทั้ง สอง แปลง มา โดยความสงบ และ โดย เปิดเผย ด้วย เจตนา เป็น เจ้าของ มา ตั้งแต่ ปี 2515เป็น เวลา 19 ปี แล้ว ย่อม ได้ กรรมสิทธิ์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 แต่ ปรากฏว่า พันโท วิชาญ เจ้าของ เดิม ได้ จดทะเบียน โอน ขาย ที่ดินพิพาท ทั้ง สอง แปลง ให้ แก่ นาย คงศักดิ์ เมื่อ วันที่ 21มิถุนายน 2536 ตาม เอกสาร หมาย จ. 1 และ จ. 2 อันเป็น ระยะเวลาเกินกว่า 10 ปี ดัง ที่ โจทก์ อ้าง แต่ โจทก์ มิได้ ดำเนินการ จดทะเบียนเปลี่ยนแปลง ทาง ทะเบียน แต่อย่างใด เมื่อ นาย คงศักดิ์ ซื้อ ที่ดิน พิพาท นั้น มาจาก พันโท วิชาญ โดย ไม่ปรากฏ ว่า ซื้อ มา โดยสุจริต หรือไม่ อย่างไร ก็ ย่อม เป็น ไป ตาม ข้อสันนิษฐาน อันเป็น คุณ ต่อ ผู้ซื้อว่า บุคคล ทุกคน กระทำการ โดยสุจริต ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 6 เมื่อ ข้อเท็จจริง ตาม ฟ้อง และ ตาม ทางพิจารณา ไม่ปรากฏ เหตุที่ จะ หักล้าง ข้อสันนิษฐาน ของ บทบัญญัติ แห่งกฎหมาย ดังกล่าว ได้ถือว่า นาย คงศักดิ์ ซื้อ ที่ดินพิพาท จาก พันโท วิชาญ มา โดยสุจริต และ ได้ จดทะเบียน สิทธิ โดยสุจริต แล้ว โจทก์ ไม่อาจ อ้าง สิทธิการ ครอบครองปรปักษ์ ขึ้น ไป ใช้ ยัน นาย คงศักดิ์ ได้ ตาม ประมวล กฎหมาย แพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง ฉะนั้น เมื่อ จำเลย ได้รับ โอนที่ดินพิพาท จาก นาย คงศักดิ์ เมื่อ วันที่ 21 กันยายน 2533 อันเป็น ระยะเวลา ภายใน 10 ปี นับแต่ วัน รับโอน จาก นาย คงศักดิ์ จำเลย จะ รับโอน โดยสุจริต หรือไม่ อย่างไร โจทก์ ผู้ครอบครองปรปักษ์ก็ ไม่อาจ ยก สิทธิ ของ ตน ขึ้น ใช้ ยัน จำเลย ผู้รับโอน ต่อมา ได้ เพราะ สิทธิของ ผู้ครอบครองปรปักษ์ ขาดตอน ไป แล้ว ตั้งแต่ ผู้รับโอน ทาง ทะเบียนโดยสุจริต ตอนแรก แม้ โจทก์ จะ ยัง คง ครอบครอง ที่ดินพิพาท ตลอดมาแต่ การ ครอบครอง ใน ช่วง หลัง ที่นาย คงศักดิ์ และ จำเลย รับโอน กรรมสิทธิ์ มา ยัง ไม่ครบ 10 ปี ก็ จะ ถือว่า มี การ ครอบครองปรปักษ์ต่อ จำเลย ครบ เวลา ได้ กรรมสิทธิ์ แล้ว ด้วย หาได้ไม่ ฎีกา ของ โจทก์ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share