คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2494

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

จำเลยกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากรและ พ.ร.บ.ควบคุมการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่างซึ่งศาลให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ฉบับหลังเป็นบทหนักนั้น ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมการส่งออกไปฯลฯ ( ฉบับที่ 3 ) 2490 ศาลย่อมมีอำนาจปรับจำเลยเป็นรายตัวคนละ 5 เท่าของราคาสินค้าได้

ย่อยาว

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ๒๔๖๙ มาตรา ๒๗ พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ ๙) ๒๔๘๒ มาตรา ๑๖,๑๗, พ.ร.บ.ศุลกากร(ฉบับที่ ๑๑) ๒๔๙๐ มาตรา ๓ พ.ร.บ.ควบคุมการส่งออกไปและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินคัาบางอย่าง ๒๔๘๒ มาตรา ๓, พ.ร.บ.ควบคุมการส่งออกไปและการนำเข้ามาซึ่งสินค้าบางอย่าง(ฉบับที่ ๓) มาตรา ๙๐ และพระราชกำหนดว่าด้วยการนั้น(ฉบับที่ ๒) ๒๔๙๑ มาตรา ๓ ให้วางโทษตาม พ.ร.บ.ควบคุมการส่งออกไปและการนำเข้ามา ฯลฯ ๒๔๘๒ มาตรา ๓ และ (ฉบับที่ ๓) ๒๔๙๐ มาตรา ๓ ซึ่งเป็นบทหนักโดยให้จำคุกจำเลยคนละ ๓ เดือน ปรับคนละ ๑๖๘๐๐ บาท แบ่งจ่ายค่ารางวัลแก่ผู้จับเสีย ๔ ใน ๕ ส่วน โทษจำให้รอการลงอาญาไว้ตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา ๔๑,๔๒,
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยฎีกาต่อมา
ศาลฎีกาเห็นว่า ที่จำเลยฎีกาว่าเลขหมายใบขนสินค้าที่จำเลยยื่น ทางพิจารณาปรากฎว่าเลข ๐๓๕๓ ก.แต่โจทก์ฟ้องว่าเลข ๐๕๓ ก.นั้น ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบหรือเข้าใจผิดแต่อย่างใด เพราะใบขนสินค้าที่จำเลยยื่นมีฉบับเดียวและมีเลข ๐๕๓ ด้วย
ส่วยฎีกาของจำเลยที่ว่าจะแยกปรับจำเลยแต่ละคนเป็นรายตัวคนละ ๕ เท่าของราคาสินค้าไม่ได้นั้น โดยมีมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่า ตามมาตรา ๓ แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมการส่งออกไป ฯลฯ (ฉบับที่ ๓) ๒๔๙๐ นั้น ศาลย่อมมีอำนาจปรับจำเลยเป็นรายตัวคนละ ๕ เท่าของราคาสินค้าได้
จึงพิพากษายืน

Share