คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 411/2496

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

จำเลยขาดต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ตั้งแต่หมดอายุในวันที่ 6 กรกฎาคม 2485 ตลอดมานั้น จะปรับเป็น
รายปีตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 และแก้ไข 2495 ไม่ได้ เพราะในขณะกระทำผิด กฎหมายในขณะนั้น คือ พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว 247-9 และแก้ไข 2481 บัญญัติไว้ให้ปรับได้เพียงไม่เกิน 12 บาทเท่านั้น นอกจากนั้น พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2495 ยังกำหนดอัตราโทษหนักว่าบทกฎหมายที่ใช้ ในขณะกระทำผิด คดีจึงไม่มีทางลงโทษจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2495.
อนึ่งการขาดต่ออายุใบสำคัญประจำตัวปีที่แล้ว ๆ มา ก็ขาดอากยุความฟ้องร้องตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 78(4) ซึ่ง กำหนดให้ฟ้องภายใน 1 ปีแล้ว./

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นคนต่างด้าว ได้จดทะเบียนคนต่างด้าวรับใบสำคัญประจำตัวแล้วชะนิดมีกำหนด ๑ ปี จำเลยได้ ต่ออายุใบสำคัญประจำตัวครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๔๘๔ หมดอายุในวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ จำเลยมีหน้าที่ต่อใบสำคัญประจำตัวภายใน ๒๕ วัน นับแต่วันขาดอายุ แต่จำเลยละเลยไม่ต่อใบสำคัญภายในกำหนด
ตลอดมาจนบัดนี้ ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ. การทะเบียนคนต่างด้าว ๒๔๗๙ มาตรา ๑๗ พ.ร.บ. ทะเบียนคนต่างด้าว
(ฉะบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๔๘๑ มาตรา ๔ พ.ร.บ.คนต่างด้าว ๒๔๙๓ มาตรา ๕, ๑๓, ๒๐.
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยผิดตามฟ้อง ให้ปรับจำเลยเป็นรายปี ๆ ละ ๕๐ บาท รวม ๑๐ ปี คงปรับ ๕๐๐ บา ลดกึ่งตาม
ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา ๕๙ คงปรับ ๒๕๐ บาท.
โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามศาลชั้นต้น
ศาลฎีกาตรวจสำนวนแล้ว เห็นว่าใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของจำเลยในคดีนี้ หมดอายุในวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๔๘๕ เป็นเวลาระหว่างการใช้ พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๔๗๙ ซึ่งในขณะนั้นยังหาได้มีบทลงโทษ สำหรับผู้ทีไม่ต่อ อายุใ่บสำคัญคนต่างด้าวไม่ ต่อมาจึงได้มีพระราชบัญญัติทะเบียนคนต่างด้าว (ฉะบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๔๘๑ บัญญัติให้มีการต่อ
อายุใบสำคัญคนต่างด้าวภายใน ๑๕ วันนับแต่วันหมดอายุ ซึ่งถ้าผู้ใดฝ่าฝืนก็มีโทษตามมาตรา ๑๗ ซึ่งมีอัตราโทษปรับไม่ เกิน ๑๒ บาท ดังนั้นจะปรับเป็นรายปีตาม พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๔๙๓ และฉะบับแก้ไข พ.ศ. ๒๔๙๕ หาได้ ไม่ นอกจากนั้นโทษตาม พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) ๒๔๙๕ กำหนดไว้หนักกว่ากฎหมายฉะบับก่อน ซึ่งตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา ๘ ให้ใช้กฎหมายที่มีโทษเบาแก่ผู้ต้องหา คดีจึงไม่มีทางลงโทษจำเลยได้ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนคนต่างด้าว ๒๔๙๕ เพราะเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักกว่าบทกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิด.
ส่วนฎีกาโจทก์ที่ขอให้ลงโทษจำเลยรายปีก็ได้วินิจฉียมาแล้ว การขาดอายุใบสำคัญประจำตัวปีที่แล้วมา ขาดอายุความฟ้อง ฟ้องร้องตาม ก.ม,ลักษณะอาญามาตรา ๗๘(๔) แล้ว.
จึงพิพากษายืน

Share