แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอแบ่งที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ.จากจำเลยให้แก่โจทก์คนละ1ใน5ส่วนโดยตีราคาทุนทรัพย์รวมกันมาในคำฟ้องเป็นเงิน78,000บาทจำเลยโต้เถียงว่าที่พิพาททั้งสามส่วนดังกล่าวเป็นของจำเลยมิใช่ทรัพย์มรดกของ บ. จึงไม่อาจแยกคิดทุนทรัพย์แต่ละส่วนตามที่โจทก์ทั้งสามขอมาได้อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์78,000บาทไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง การที่จำเลยครอบครองที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ.ในฐานะทายาทก็ดีและในฐานะผู้จัดการมรดกก็ดีถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทคนอื่นด้วยจำเลยจึงยกอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754มาใช้บังคับไม่ได้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทย่อมฟ้องขอแบ่งที่พิพาทจากจำเลยได้แม้เกินกำหนด1ปีนับแต่ บ. ถึงแก่ความตายก็ตาม
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง สาม กับ จำเลย และ นาย บุญนาค ประมงค์ เป็น พี่น้อง ร่วม บิดา มารดา เดียว กัน เมื่อ วันที่ 13 ธันวาคม 2531นาย บุญนาค ซึ่ง ไม่มี ภริยา และ บุตร ได้ ถึงแก่ความตาย มี ที่ดิน มือเปล่า 1 แปลง เนื้อที่ 13 ไร่ ราคา ไร่ ละ 10,000 บาท เป็น ทรัพย์มรดกโจทก์ ทั้ง สาม และ จำเลยร่วม กัน ครอบครอง ที่ดิน มรดก ตลอดมา ต่อมาจำเลย เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาย บุญนาค ตาม คำสั่งศาล ชั้นต้น และ ครอบครอง ที่ดิน มรดก แทน ทายาท โจทก์ ทั้ง สาม ขอให้ จำเลย แบ่ง ที่ดินให้ โจทก์ คน ละ 1 ใน 5 ส่วน เป็น เนื้อที่ คน ละ 2 ไร่ 2 งาน 40 ตารางวารวมเป็น ที่ดิน 7 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา คิด เป็น ราคา 78,000 บาทแต่ จำเลย เพิกเฉย ขอให้ จำเลย แบ่งแยก ที่ดิน มรดก ของ นาย บุญนาค ดังกล่าว โดย ส่งมอบ การ ครอบครอง ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สาม คน ละ 2 ไร่ 2 งาน 40 ตารางวารวม เนื้อที่ 7 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา หาก ไม่สามารถ แบ่งแยก ที่ดินได้ ให้ นำ ที่ดิน มา ขายทอดตลาด เพื่อ นำ เงิน แบ่ง ให้ โจทก์ ทั้ง สามคน ละ 1 ใน 5 ส่วน
จำเลย ให้การ ว่า ที่ดิน มือเปล่า ตาม ฟ้อง ไม่ใช่ ทรัพย์มรดก ของนาย บุญนาค แต่ เป็น ที่ดิน ที่ จำเลย หัก ร้าง ถางพงเข้า ครอบครอง ทำประโยชน์ มา นาน กว่า 20 ปี แล้ว จำเลย มิได้ ครอบครอง ทรัพย์พิพาทแทน โจทก์ ทั้ง สาม โจทก์ ทั้ง สาม ไม่เคย เข้า มา เกี่ยวข้อง แม้ ฟัง ว่าที่ดินพิพาท เป็น มรดก ของ นาย บุญนาค โจทก์ ทั้ง สาม ไม่ได้ ฟ้อง ขอ แบ่ง มรดก ภายใน 1 ปี นับแต่ นาย บุญนาค ถึงแก่ความตาย ฟ้องโจทก์ ทั้ง สาม จึง ขาดอายุความ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า ที่ดินพิพาท เนื้อที่ 13 ไร่อยู่ หมู่ ที่ 1 ตำบล คลองวาฬ อำเภอ เมือง ประจวบคีรีขันธ์ จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ เป็น ทรัพย์มรดก ของ นาย บุญนาค ซึ่ง โจทก์ ทั้ง สาม มี ส่วน ได้รับ คน ละ 1 ใน 5 ส่วน ให้ จำเลย แบ่ง ที่ดิน ดังกล่าวให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สาม คน ละ 1 ใน 5 ส่วน หาก ไม่สามารถ ตกลง แบ่ง ได้ให้ นำ ที่ดิน ขายทอดตลาด นำ เงิน แบ่ง ให้ โจทก์ ทั้ง สาม คน ละ 1 ใน 5 ส่วน
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์ ทั้ง สาม
โจทก์ ทั้ง สาม ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ที่ ได้ นั่งพิจารณา คดี ในศาลชั้นต้น รับรอง ว่า มีเหตุ สมควร ที่ จะ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว โจทก์ ทั้ง สาม ฎีกา ข้อ แรก ว่าฟ้องอุทธรณ์ ของ จำเลย มี ทุนทรัพย์ ไม่เกิน ห้า หมื่น บาท ต้องห้าม มิให้อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224อุทธรณ์ ของ จำเลย จึง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกา โดย มติ ของ ที่ ประชุมใหญ่เห็นว่า คดี นี้ ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า ที่ดิน มือเปล่า เนื้อที่ 13 ไร่ตาม ฟ้อง เป็น ทรัพย์มรดก ของ นาย บุญนาค ผู้ตาย ให้ จำเลย แบ่ง ที่ดิน ดังกล่าว แก่ โจทก์ ทั้ง สาม คน ละ 1 ใน 5 ส่วน คิด เป็น ที่ดิน รวมกัน7 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา ซึ่ง โจทก์ ตีราคา มา ใน คำฟ้อง เป็น เงิน78,000 บาท จำเลย อุทธรณ์ ว่า ที่ดินพิพาท ทั้ง สาม ส่วน เป็น ของ จำเลยขอให้ ยกฟ้อง เท่ากับ โต้เถียง ว่า ที่ดินพิพาท ทั้ง สาม ส่วน ดังกล่าวเป็น ของ จำเลย มิใช่ ทรัพย์มรดก ของ นาย บุญนาค ผู้ตาย จึง ไม่อาจ แยก คิด ทุนทรัพย์ แต่ละ ส่วน ตาม ที่ โจทก์ ทั้ง สาม ขอ มา ได้ อุทธรณ์ ของ จำเลยจึง เป็น คดีมีทุนทรัพย์ ที่พิพาท ใน ชั้นอุทธรณ์ 78,000 บาท ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง ฎีกา โจทก์ ทั้ง สาม ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
โจทก์ ทั้ง สาม ฎีกา ข้อ สอง ว่า ฟ้องโจทก์ ไม่ขาดอายุความ มรดกปัญหา ข้อ นี้ ข้อเท็จจริง ฟังได้ เป็น ยุติ ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์โดย จำเลย ไม่ได้ ฎีกา โต้แย้ง ว่า ที่ดินพิพาท เนื้อที่ 13 ไร่ ตาม ฟ้องเป็น ทรัพย์มรดก ของ นาย บุญนาค ประมงค์ ผู้ตาย ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย มิได้ ครอบครอง ที่ดินพิพาท แทนโจทก์ ทั้ง สาม แต่ เป็น การ ครอบครอง เพื่อ ตน โจทก์ ทั้ง สาม ฟ้อง ขอ แบ่งที่ดินพิพาท เกิน 1 ปี จึง ขาดอายุความ มรดก ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1754 ทางพิจารณา ได้ความ ว่า หลังจาก นาย บุญนาค ตาย ได้ 2 ปี เศษ โจทก์ ที่ 2 ยื่น คำร้องขอ ให้ ศาล ตั้ง โจทก์ ที่ 2เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาย บุญนาค จำเลย คัดค้าน และ ขอให้ ศาล ตั้ง จำเลย เป็น ผู้จัดการมรดก ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ตั้ง โจทก์ ที่ 2 และจำเลยร่วม กัน เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาย บุญนาค ตาม คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 554/2533 ของ ศาลชั้นต้น เห็นว่า เมื่อ ข้อเท็จจริงฟังได้ ว่า ที่ดินพิพาท เป็น ทรัพย์มรดก ของ นาย บุญนาค โจทก์ ทั้ง สาม และ จำเลย ซึ่ง เป็น ทายาท จึง มีสิทธิ รับมรดก ที่ดินพิพาท แม้ จะ ฟัง ว่าจำเลย ครอบครอง ที่ดินพิพาท ตั้งแต่ นาย บุญนาค ตาย แต่ ผู้เดียว ดัง ที่ นำสืบ ก็ เป็น การ ครอบครอง ทรัพย์มรดก ของ นาย บุญนาค ที่ ยัง ไม่ได้ แบ่งปัน กัน และ ต่อมา จำเลย ก็ ได้ เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาย บุญนาค ตาม คำสั่งศาล ดังนั้น การ ที่ จำเลย ครอบครอง ที่ดินพิพาท ใน ฐานะ ทายาท ก็ ดีและ ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก ก็ ดี ถือได้ว่า เป็น การ ครอบครองแทน ทายาท อื่นด้วย จำเลย จึง จะ ยก อายุความ 1 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 มา ใช้ บังคับ ไม่ได้ โจทก์ ทั้ง สาม ซึ่ง เป็น ทายาท ของนาย บุญนาค เจ้ามรดก ย่อม ฟ้อง ขอ แบ่ง ที่ดินพิพาท จาก จำเลย ได้ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา โจทก์ ทั้ง สามข้อ นี้ ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ให้ บังคับคดี ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น