คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2315/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

นอกจากทางพิพาทแล้วโจทก์ยังมีทางเดินริมเขื่อนที่ออกสู่ทางสาธารณะได้แต่ทางดังกล่าวทางด้านซ้ายจะต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่นซึ่งมีประตูถ้าเจ้าของที่ดินปิดประตูโจทก์ก็ไม่สามารถใช้ทางดังกล่าวได้ส่วนทางด้านขวาจะต้องข้ามคลองไปตามคานคอนกรีตเล็กๆผู้เดินอาจตกลงไปในคลองได้จึงไม่ปลอดภัยดังนั้นทางพิพาทยังมีความจำเป็นแก่โจทก์ที่จะใช้ออกสู่ทางสาธารณะอยู่

ย่อยาว

คดี นี้ สืบเนื่อง จาก ศาลชั้นต้น พิพากษา ตาม สัญญาประนีประนอม ยอมความ โดย จำเลย ยอม เปิด ทางพิพาท เป็น ทาง จำเป็นให้ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ตลอด ไป จนกว่า จะ หมด ความจำเป็น คดีถึงที่สุดศาลชั้นต้น ได้ ออกคำบังคับ ให้ จำเลย ปฏิบัติ ตาม คำพิพากษา แล้ว ต่อมาวันที่ 7 กรกฎาคม 2535 จำเลย ยื่น คำร้อง ว่า บัดนี้ โจทก์ ทั้ง เจ็ดมี ทาง อื่น ออก สู่ ทางสาธารณะ ได้ ตาม ภาพถ่าย และ แผนผัง ท้าย คำร้องโจทก์ ทั้ง เจ็ด หมด ความจำเป็น ที่ จะ ใช้ ทางพิพาท เป็น ทาง จำเป็น อีก ต่อไปขอให้ มี คำสั่ง ให้ จำเลย ปิด ทาง จำเป็น
โจทก์ ทั้ง เจ็ด ยื่น คำแถลง ว่า โจทก์ ทั้ง เจ็ด ยัง มี ความจำเป็นต้อง ใช้ ทางพิพาท ต่อไป ทาง ที่ จำเลย อ้าง เป็น ทาง หนึ่ง ต้อง ผ่าน เข้า ไปใน บ้าน ของ บุคคลอื่น แล้ว ต้อง ผ่าน สะพาน เล็ก ๆ อาจ ทำให้ เด็กและ คน ชรา ที่ เดิน ผ่าน ทาง ดังกล่าว ได้รับ อันตราย ส่วน อีก ทาง หนึ่งก็ เป็น เพียง คัน คลอง ระบายน้ำ เล็ก ๆ ไม่สามารถ เดิน สวนทาง ได้ขอให้ ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า เห็นว่า ยัง ไม่ หมด ความจำเป็น ที่ โจทก์ทั้ง เจ็ด จะ ใช้ ทางพิพาท ให้ยก คำร้อง
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ได้ความ ตาม รายงาน กระบวนพิจารณาของ ศาลชั้นต้น ใน การ เดินเผชิญสืบ ว่า ทาง ด้าน ทิศใต้ ของ ที่ดิน โจทก์ทั้ง เจ็ด ซึ่ง ติด คลอง สามเสน นั้น กรุงเทพมหานคร ได้ สร้าง เขื่อน ริมคลองป้องกัน ตลิ่งพัง ทำให้ เกิด ทางเดิน ริมเขื่อน กว้าง ประมาณ 80 เซนติเมตรถ้า เดิน จาก ที่ดิน โจทก์ ทั้ง เจ็ด ไป ทาง ด้านซ้าย มือ ประมาณ 70 เมตรจะ ต้อง เดิน ผ่าน ที่ดิน ของ บุคคลภายนอก ซึ่ง มี ประตู เหล็ก เปิด ปิด แล้ว จึงจะ ออก สู่ ถนน อโศกดินแดง ได้ แต่ ไม่แน่ ว่า เจ้าของ ที่ดิน จะ ปิด ประตูเมื่อใด ถ้าหาก เดิน ไป ทาง ด้านขวา มือ ประมาณ 100 เมตร จะ ต้อง เดิน ตามคานคอนกรีต กว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 6 ถึง 7 เมตร ข้าม คลอง สามเสนและ ต้อง เดิน ไป ตาม ทางเดิน ริมเขื่อน อีก ฟาก หนึ่ง ประมาณ 80 เมตรแล้ว จึง จะ ออก สู่ ถนน อโศกดินแดง ได้ มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ว่า โจทก์ทั้ง เจ็ด หมด ความจำเป็น ใน การ ใช้ ทางพิพาท ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความและ คำพิพากษา ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ แล้ว หรือไม่ เห็นว่าทางเดิน ริมเขื่อน ที่ จำเลย อ้างว่า โจทก์ ทั้ง เจ็ด สามารถ ออก สู่ทางสาธารณะ ถนน อโศกดินแดง ได้ นั้น ทาง ด้านซ้าย มือ จะ ต้อง ผ่าน ที่ดินของ บุคคลอื่น ซึ่ง มี ประตู เปิด ปิด ถ้าหาก เจ้าของ ที่ดิน ปิด ประตูโจทก์ ทั้ง เจ็ด ก็ ไม่สามารถ ใช้ ทาง ดังกล่าว ได้ ส่วน ทาง ด้านขวา มือก็ จะ ต้อง ข้าม คลอง สามเสน โดย เดิน ข้าม ไป ตาม คานคอนกรีต กว้าง เพียง 30 เซนติเมตร ยาว 6 ถึง 7 เมตร ซึ่ง ผู้ เดิน อาจ ตกลง ไป ใน คลองได้ ไม่มี ความปลอดภัย ที่ จะ ใช้ ทาง ด้านขวา มือ โจทก์ ทั้ง เจ็ด จึง ยังไม่ หมด ความจำเป็น ใน การ ใช้ ทางพิพาท เป็น ทาง ออก สู่ ทางสาธารณะศาลอุทธรณ์ พิพากษา ชอบแล้ว ฎีกา ของ จำเลย ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share