คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยทั้งสามที่ไม่อนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารและให้จำเลยทั้งสามออกใบอนุญาตปลูกสร้างอาคารให้เป็นกรณีที่โจทก์ผู้ขอรับใบอนุญาตไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้างอาคารที่ขอตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯมาตรา26วรรคหนึ่งซึ่งมาตรา52บัญญัติให้ผู้ขอรับใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วถ้าผู้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยก็เสนอคดีต่อศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามทันทีแทนที่จะอุทธรณ์และนำคดีขึ้นสู่ศาลตามบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาข้ามขั้นตอนของกฎหมายจึงไม่มีอำนาจฟ้องส่วนคำขอที่ขอให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสามจงใจกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมายทำให้โจทก์เสียหายอันเป็นการละเมิดโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในข้อนี้ ที่ดินที่โจทก์จะปลูกสร้างอาคารแต่เดิมอยู่ติดซอยซึ่งการปลูกสร้างอาคารบนที่ดินนั้นต้องอยู่ในบังคับเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพประกาศกรุงเทพมหานครและกฎกระทรวงซึ่งเป็นผลให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้างอาคารตามที่ขอได้การที่โจทก์แบ่งแยกที่ดินนั้นออกเป็น2โฉนดแล้วขออนุญาตปลูกสร้างอาคารบนที่ดินตามโฉนดที่แบ่งแยกมาส่วนโฉนดที่ดินเดิมโอนให้บุคคลอื่นเพื่อให้มีรอยตะเข็บกั้นไม่ให้ที่ดินตามโฉนดที่แบ่งแยกมีอาณาเขตติดซอยเห็นได้ว่ามีเจตนาจะหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจึงไม่อาจอ้างความเสียหายที่ได้รับจากการดังกล่าวมาเรียกร้องทางละเมิดแก่จำเลยทั้งสาม

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน คำสั่ง ของ จำเลย ทั้ง สาม ที่ ไม่อนุญาตปลูกสร้าง อาคาร ที่พักอาศัย มี คำสั่ง ให้ จำเลย ทั้ง สาม ออก ใบอนุญาตให้ โจทก์ ดำเนินการ ปลูกสร้าง อาคาร ที่พักอาศัย ตาม แบบ ที่ ได้ ยื่น ไว้เมื่อ วันที่ 15 สิงหาคม 2527 ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชดใช้ ค่าเสียหายจำนวน 2,990,000 บาท และ ค่าเสียหาย เดือน ละ 80,000 บาท นับแต่วันฟ้อง จนกว่า จำเลย ทั้ง สาม จะ ออก ใบอนุญาต ให้ โจทก์ ดำเนินการ ปลูกสร้างอาคาร ที่พักอาศัย ตาม ที่ แบบ ที่ ยื่น ไว้ เมื่อ วันที่ 15 สิงหาคม 2527 จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง โจทก์ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ เพิกถอน คำสั่ง ของ จำเลย ทั้ง สามที่ ไม่อนุญาต ให้ โจทก์ ปลูกสร้าง อาคาร พิพาท 14 ชั้น และ ให้ จำเลยทั้ง สาม ออก ใบอนุญาต ให้ โจทก์ ดำเนินการ ปลูกสร้าง อาคาร ที่พักอาศัย14 ชั้น ตาม แบบ ที่ โจทก์ ได้ ยื่น ไว้ เมื่อ วันที่ 15 สิงหาคม 2527ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์ เป็น เงิน จำนวน300,000 บาท จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้นฟังได้ ว่า เมื่อ วันที่ 19 ตุลาคม 2525 โจทก์ ได้ ยื่น คำขอ อนุมัติใน หลักการ ต่อ จำเลย ที่ 3 ซึ่ง เป็น ผู้อำนวยการ กอง ควบคุม อาคารสำนักงาน โยธา ของ จำเลย ที่ 1 ขอ ปลูกสร้าง อาคาร ที่พักอาศัย เป็น ตึก14 ชั้น จำนวน 1 หลัง บน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 17851 ซึ่ง อยู่ ที่ถนน วิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร และ เป็น กรรมสิทธิ์ ของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีรสุ จำเลย ที่ 3 แจ้ง ว่า ไม่มี กฎหมาย ให้ อนุมัติ ใน หลักการ ก่อน ได้ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2526 โจทก์ ได้ยื่น คำขอ อนุญาต ปลูกสร้าง อาคาร ดังกล่าว พร้อม แผนผัง และ แบบ รายการก่อสร้าง ต่อ กอง ควบคุม อาคาร วันที่ 12 มีนาคม 2527 จำเลย ที่ 2ซึ่ง เป็น ผู้อำนวยการ สำนัก การ โยธา ของ จำเลย ที่ 1 มี หนังสือ แจ้งโจทก์ ว่า แบบแปลน ที่ ขออนุญาต ขัด ต่อ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 รวม 7 ข้อ จึง อนุญาต ให้ก่อสร้าง ไม่ได้ หาก ประสงค์ จะ ทำการ ก่อสร้าง ให้ ทำการ แก้ไข แล้วยื่น มา ใหม่ ภายใน 30 วัน ระหว่าง ดำเนินการ แก้ไข โจทก์ ขอ ถอน เรื่องทั้งหมด คืน ไป ต่อมา เดือน สิงหาคม 2527 โจทก์ ยื่น คำขอ อนุญาต ปลูกสร้างอาคาร พร้อม แบบแปลน การก่อสร้างอาคาร อีก ครั้งหนึ่ง การ ยื่น คำขอครั้งหลัง โจทก์ ขออนุญาต ปลูกสร้าง อาคาร ตาม แบบแปลน ก่อสร้าง เดิมแต่ ขออนุญาต ปลูกสร้าง บน โฉนด ที่ดิน เลขที่ 154651 โดย โฉนด ที่ดินดังกล่าว นี้ เป็น โฉนด ที่ แบ่งแยก มาจาก โฉนด ที่ดิน เลขที่ 17851 กล่าว คือโจทก์ แบ่งแยก ที่ดิน โฉนด เลขที่ 17851 ออก เป็น 2 แปลง แปลง ที่ ใช้โฉนด เดิม ซึ่ง อยู่ ติด ซอย วิทยุ 1 มี เนื้อที่ ประมาณ 7 ตารางวา และ แปลง ที่ ใช้ โฉนด ใหม่ มี เนื้อที่ ประมาณ 143 ตารางวา เจ้าหน้าที่เห็นว่า อาคาร ที่ ขออนุญาต ปลูกสร้าง ขัด ต่อ เทศบัญญัติ ของ เทศบาลนคร กรุงเทพ เรื่อง กำหนด บริเวณ ซึ่ง อาคาร บาง ชนิด จะ ปลูกสร้าง ขึ้น มิได้(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2502 และ กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2517)ออก ตาม ความใน พระราชบัญญัติ ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479และ เสนอ เรื่อง ไป ยัง ผู้บังคับบัญชา ตามลำดับ ชั้น ต่อมา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ใน ฐานะ เจ้าพนักงาน ท้องถิ่น มี คำสั่ง ไม่อนุญาตจำเลย ที่ 2 แจ้ง คำสั่ง ไม่อนุญาต ให้ โจทก์ ทราบ แล้ว วันที่ 23 มกราคม2528 โจทก์ อุทธรณ์ คำสั่ง ต่อ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า อาคาร ที่ โจทก์ ขออนุญาต ปลูกสร้าง เป็นอาคาร ที่พักอาศัย และ ให้ พิจารณา คำขอ อนุญาต ตาม ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ต่อไป จำเลย ที่ 3ได้ สั่ง ให้ เจ้าหน้าที่ งาน อนุญาต กอง ควบคุม อาคาร ดำเนินการ พิจารณาต่อไป เจ้าหน้าที่ เห็นว่า อาคาร ที่ โจทก์ ขออนุญาต ใน ส่วน เกี่ยวกับระยะ ร่น ยัง มี ส่วน ขัด ต่อ ประกาศ กรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนด หลักเกณฑ์การ ผ่อนผัน การ อนุญาต ให้ ปลูกสร้าง อาคาร ฉบับ ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2524และ ใน ส่วน ที่ เกี่ยวกับ แนว ศูนย์กลาง ปาก ทาง เข้า ออก ของ รถยนต์ ขัด ต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2517) ออก ตาม ความใน พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 โดย จำเลย ที่ 3 เห็นว่า การ แบ่งแยกที่ดิน ออก เป็น 2 แปลง ก็ เพื่อ มิให้ อาคาร ที่ ขออนุญาต ปลูกสร้างเป็น อาคาร ปลูก ใน ที่ดิน ที่ ติด ซอย วิทยุ 1 อันเป็น การ หลีกเลี่ยง ที่ จะ ไม่ปฏิบัติ ตาม ประกาศ และ กฎกระทรวง ดังกล่าว เจ้าหน้าที่ งาน อนุญาตกอง ควบคุม อาคาร เห็นว่า ควร ผ่อนผัน แต่ จำเลย ที่ 3 เห็นว่า ไม่ควรผ่อนผัน เมื่อ สรุป ความเห็น ทั้งหมด ไป ยัง ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครแล้ว ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร มี คำสั่ง ไม่อนุญาต และ แจ้ง ให้ โจทก์ทราบ แล้ว ต่อมา โจทก์ ให้ ทนายความ มี หนังสือ แจ้ง ให้ จำเลย ทั้ง สามทบทวน คำสั่ง ที่ ไม่อนุญาต และ ขอให้พิจารณา คำขอ อนุญาต ให้ ใหม่ โดย โจทก์อ้างว่า การ แบ่งแยก ที่ดิน ไม่มี กฎหมาย ห้าม จำเลย ที่ 2 มี หนังสือแจ้ง ให้ โจทก์ ตาม ที่ กองกฎหมาย แนะนำ ว่า ให้ โจทก์ ยื่น อุทธรณ์ ต่อคณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ แต่ โจทก์ ไม่ อุทธรณ์ และ มา ฟ้อง เป็น คดี นี้ ปัญหา แรก ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา จำเลย ทั้ง สาม คือ ว่า โจทก์ มีอำนาจฟ้อง หรือไม่ คดี โจทก์ มี คำขอ 2 ประการ คือ ประการ แรก ขอให้เพิกถอน คำสั่ง ที่ ไม่อนุญาต ให้ ปลูกสร้าง อาคาร และ ให้ จำเลย ทั้ง สามออก ใบอนุญาต ให้ โจทก์ ปลูกสร้าง อาคาร ตาม ที่ ยื่น ไว้ และ อีก ประการ หนึ่งขอให้ จำเลย ทั้ง สาม ชดใช้ ค่าเสียหาย ศาลฎีกา เห็นว่า ใน ข้อ ที่ ขอให้เพิกถอน คำสั่ง ที่ ไม่อนุญาต ให้ ปลูกสร้าง อาคาร และ ให้ จำเลย ทั้ง สามออก ใบอนุญาต ปลูกสร้าง อาคาร ให้ นั้น เป็น กรณี ที่ โจทก์ ใน ฐานะ เป็นผู้ขอ รับ ใบอนุญาต ไม่พอ ใจ คำสั่ง ของ เจ้าพนักงาน ท้องถิ่น ที่ มี คำสั่งไม่อนุญาต ให้ โจทก์ ปลูกสร้าง อาคาร ที่ ขอ ตาม พระราชบัญญัติ ควบคุม อาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง ซึ่ง ใน กรณี นี้ ตาม มาตรา 52 บัญญัติ ให้ผู้ขอ รับ ใบอนุญาต มีสิทธิ อุทธรณ์ คำสั่ง ดังกล่าว ต่อ คณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์ ได้ เมื่อ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ วินิจฉัย แล้วถ้า ผู้อุทธรณ์ ไม่เห็น ด้วย กับ คำวินิจฉัย อุทธรณ์ ก็ เสนอ คดี ต่อ ศาลได้ ภายใน สามสิบ วัน นับแต่ วันที่ ได้รับ แจ้ง คำวินิจฉัย อุทธรณ์การ ที่ โจทก์ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สาม เป็น คดี นี้ ทันที แทนที่ จะ อุทธรณ์ และนำ คดี ขึ้น มา สู่ ศาล ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว จึง เป็น การ ดำเนินกระบวนพิจารณา ข้าม ขั้นตอน ของ กฎหมาย โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้องส่วน ข้อ ที่ เกี่ยวกับ คำขอ ให้ ชดใช้ ค่าเสียหาย นั้น เป็น กรณี ที่ โจทก์อ้างว่า จำเลย ทั้ง สาม จงใจ กระทำการ โดยมิชอบ ด้วย กฎหมาย ทำให้ โจทก์เสียหาย ซึ่ง ถ้า เป็น ดัง ที่ โจทก์ อ้าง ย่อม ถือว่า จำเลย ทั้ง สาม กระทำละเมิด และ ต้อง ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน แก่ โจทก์ ตาม กฎหมาย โจทก์ จึงมีอำนาจ ฟ้อง ใน ข้อ นี้ ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา จำเลย ทั้ง สาม ต่อไป มี ว่า จำเลยทั้ง สาม กระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ หรือไม่ ศาลฎีกา เห็นว่า ที่ดิน ที่ โจทก์ขออนุญาต ปลูกสร้าง คือ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 154651 เป็น ที่ดิน ที่ แบ่งแยกออก มาจาก โฉนด เลขที่ 17851 ซึ่ง แต่ เดิม อยู่ ติด ซอย วิทยุ 1 การ ปลูกสร้าง อาคาร บน ที่ดิน ดังกล่าว ต้อง อยู่ ใน บังคับ เทศบัญญัติของ เทศบาล นคร กรุงเทพ เรื่อง กำหนด บริเวณ ซึ่ง อาคาร บาง ชนิด จะ ปลูกสร้างขึ้น ไม่ได้ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2502 และ ประกาศ กรุงเทพมหานคร เรื่องกำหนด หลักเกณฑ์ การ ผ่อนผัน การ อนุญาต ให้ ปลูกสร้าง อาคารฉบับ ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2528 ประกอบ กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2517)ออก ตาม ความใน พระราชบัญญัติ ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 เช่นใน เรื่อง ระยะ ร่น ของ ตัว อาคาร ตาม ประกาศ ดังกล่าว ใน ข้อ 2(2) กำหนด ให้อาคาร ที่ มี ความ สูง เกิน 12 เมตร ให้ มี ระยะ ร่น โดย รอบ อาคาร จากแนวเขต ที่ดิน ทุก ด้าน ตาม สูตร ร = 8/5 และ ใน เรื่อง แนว ศูนย์กลางปาก ทาง เข้า ออก ของ รถยนต์ ตาม กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2517)ออก ตาม ความใน พระราชบัญญัติ ควบคุม อาคาร การก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479ข้อ 8 กำหนด ว่า ต้อง ไม่อยู่ ใน ที่ ที่ เป็น ทาง ร่วม หรือ ทางแยก และต้อง ห่าง จาก จุด เริ่มต้น โค้ง หรือ หัก มุม ของ ขอบ ทาง ร่วม หรือ ขอบ ทางแยกสาธารณะ มี ระยะ ไม่ น้อยกว่า 20 เมตร ซึ่ง อาคาร ที่ โจทก์ ขออนุญาตมี ระยะ ร่น และ แนว ศูนย์กลาง ปาก ทาง เข้า ออก ไม่ต้อง ด้วย บทบัญญัติ ดังกล่าวการ ที่ โจทก์ แบ่งแยก ที่ดิน ที่ จะ ปลูกสร้าง ออก เป็น 2 โฉนด โดย โฉนดเลขที่ 154651 ซึ่ง เป็น โฉนด ที่ แยก มาจาก โฉนด เลขที่ 17851 โจทก์ ใช้เป็น โฉนด ที่ดิน ที่ ขออนุญาต ปลูกสร้าง ส่วน โฉนด ที่ดิน เดิม ซึ่ง มีเนื้อที่ เหลือ เพียง 7 ตารางวา โอน ให้ บุคคลอื่น เพื่อ ให้ มี รอย ตะเข็บกั้น ไม่ให้ ที่ดิน ตาม โฉนด เลขที่ 154651 มี อาณาเขต ติด ซอย วิทยุ 1 เป็น ที่ เห็น ได้ว่า โจทก์ มี เจตนา จะ หลีกเลี่ยง ไม่ปฏิบัติ ตาม เทศบัญญัติของ เทศบาล นคร กรุงเทพ ประกาศ กรุงเทพมหานคร และ กฎกระทรวง ดังกล่าวการ ยื่น คำขอ อนุญาต ปลูกสร้าง อาคาร ของ โจทก์ จึง เป็น การ ใช้ สิทธิโดย ไม่สุจริต โจทก์ จึง ไม่อาจ อ้าง ความเสียหาย ที่ ได้รับ เนื่องจากการ ดังกล่าว มา เป็น มูล เรียกร้อง ทาง ละเมิด แก่ จำเลย ทั้ง สามที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา จำเลยทั้ง สาม ฟังขึ้น ” พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง

Share