คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6528/2537

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา6ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์รับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริตเมื่อจำเลยและผู้ร้องสอดกล่าวอ้างว่าโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและรับโอนมาโดยไม่สุจริตจำเลยและผู้ร้องสอดจึงมีหน้าที่นำสืบ จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่าขณะศาลชั้นต้นออกไปนอกห้องพิจารณาโจทก์ออกไปซักซ้อมพยานนอกห้องพิจารณา2ครั้งเป็นการไม่ชอบแต่ปรากฏว่าจำเลยและผู้ร้องสอดมิได้แถลงคัดค้านการกระทำของโจทก์ในวันดังกล่าวกลับยอมให้โจทก์นำพยานดังกล่าวเข้าสืบและถามค้านไปตามปกติเพิ่งคัดค้านเมื่อเวลาเนิ่นไปถึง7วันแสดงว่าจำเลยและผู้ร้องสอดไม่ติดใจคัดค้านและให้สัตยาบันแก่การกระทำของโจทก์แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27วรรคสอง ที่จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่าโจทก์รับโอนที่ดินพิพาทระหว่างมีการอายัดที่ดินพิพาทเป็นการไม่สุจริตมูลหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชอบด้วยกฎหมายคำพิพากษาและการขายทอดตลาดก็ไม่เป็นกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติตามแต่ปรากฏว่าจำเลยและผู้ร้องสอดไม่ได้ให้การไว้และที่จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่าโจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทจึงไม่มีอำนาจฟ้องศาลชั้นต้นก็ไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้จึงล้วนแต่เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค1ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยจดทะเบียนรับโอนมาเมื่อวันที่2มีนาคม2524จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิขอให้ขับไล่และชดใช้ค่าเสียหายเป็นการบรรยายโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งข้อหาและคำขอบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วคำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องขับไล่ให้ออกไปจากที่ดินพิพาทผู้ร้องสอดต่อสู้กรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ผู้ร้องสอดเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาโดยตีราคาที่ดินพิพาท274,665บาทจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์274,665บาทฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค1กำหนดให้จำเลยและผู้ร้องสอดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์5,000บาทจึงชอบแล้ว

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด ที่ 372ตำบล กลางดง อำเภอ ปากช่อง จังหวัด นครราชสีมา เนื้อที่ 27 ไร่ 31 ตารางวา โดย จดทะเบียน รับโอน กรรมสิทธิ์ เมื่อ วันที่ 2 มีนาคม 2524จำเลย และ บริวาร อาศัย อยู่ ใน ที่ดิน ดังกล่าว มา ก่อน ที่ โจทก์ จะ รับโอน กรรมสิทธิ์ โดย ไม่มี สิทธิ ตาม กฎหมาย โจทก์ มี หนังสือ บอกกล่าวให้ จำเลย ออก ไป จาก ที่ดิน จำเลย ได้รับ หนังสือ ดังกล่าว แล้ว แต่ ไม่ยอมออก ไป จาก ที่ดิน ขอให้ ขับไล่ จำเลย และ บริวาร ออก ไป จาก ที่ดิน โฉนด ที่372 ตำบล กลางดง อำเภอ ปากช่อง จังหวัด นครราชสีมา ห้าม จำเลย และ บริวาร เข้า มา เกี่ยวข้อง กับ ที่ดิน แปลง นี้ อีก ให้ จำเลย ใช้ค่าเสียหาย จำนวน 15,444 บาท และ ค่าเสียหาย เดือน ละ 1,188 บาทนับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จำเลย และ บริวาร ออก ไป จาก ที่ดิน ของ โจทก์ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่า โจทก์ รับ จดทะเบียน โอน ที่ดินพิพาท มา โดย ไม่สุจริต เพราะ ได้ ร่วม กับ บุคคลอื่น ทำการ ฉ้อฉล และ โจทก์ไม่เคย เข้า ครอบครอง ที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาท เป็น กรรมสิทธิ์ ของนาย สันติพงษ์ ซึ่ง รับโอน มา ตั้งแต่ วันที่ 19 มีนาคม 2519 จำเลย เป็น ผู้ครอบครอง ทำประโยชน์ โดย อาศัย สิทธิ ของ นาย สันติพงษ์ โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง จำเลย ไม่เคย ได้รับ หนังสือ บอกกล่าว ให้ ออก ไป จาก ที่ดินพิพาทฟ้องโจทก์ เคลือบคลุม เพราะ ไม่ได้ ชี้ ชัด ถึง สภาพแห่งข้อหา และ คำขอบังคับทั้ง ข้ออ้าง ที่ เป็น หลักแห่งข้อหา ขอให้ ยกฟ้อง
ผู้ร้องสอด ยื่น คำร้อง และ แก้ไข คำร้องขอ เข้า เป็น คู่ความ โดย อ้างว่า ที่ดินพิพาท เป็น ของ ผู้ร้องสอด จำเลย อาศัย อยู่ ใน ที่ดินพิพาท โดยอาศัย สิทธิ ของ ผู้ร้องสอด โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง ขอให้ พิพากษา ว่าที่ดินพิพาท เป็น กรรมสิทธิ์ ของ ผู้ร้องสอด โดย ให้ เจ้าพนักงาน ที่ดินจดทะเบียน เป็น ชื่อ ผู้ร้องสอด ห้าม โจทก์ เข้า เกี่ยวข้อง ศาลชั้นต้นมี คำสั่ง อนุญาต ให้ ผู้ร้องสอด เข้า มา เป็น คู่ความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)
โจทก์ ให้การ แก้ คำร้อง สอด ว่า ผู้ร้องสอด ไม่มี กรรมสิทธิ์ ในที่ดินพิพาท เพราะ ไม่มี หลักฐาน ใด ๆ ที่ แสดง ว่า ที่ดินพิพาท เป็นกรรมสิทธิ์ ของ ผู้ร้องสอด ขอให้ ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ ขับไล่ จำเลย และ บริวาร ออก ไปจาก ที่ดิน โฉนด ที่ 372 ตำบล กลางดง อำเภอ ปากช่อง จังหวัด นครราชสีมา ห้าม จำเลย และ ผู้ร้องสอด เกี่ยวข้อง กับ ที่ดินพิพาท ให้จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย จำนวน 15,444 บาท และ ค่าเสียหาย เดือน ละ 1,188บาท นับ จาก วันฟ้อง จนกว่า จะ ออก ไป จาก ที่ดินพิพาท แก่ โจทก์ กับ ให้ จำเลยและ ผู้ร้องสอด ใช้ ค่าฤชาธรรมเนียม แทน โจทก์ โดย กำหนด ค่า ทนายความ1,000 บาท
จำเลย และ ผู้ร้องสอด อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน ให้ จำเลย และ ผู้ร้องสอด ใช้ค่า ทนายความ ชั้นอุทธรณ์ 5,000 บาท แทน โจทก์
จำเลย และ ผู้ร้องสอด ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า จำเลย และ ผู้ร้องสอด ฎีกา ข้อ แรก ว่าศาลชั้นต้น กำหนด ประเด็น พิพาท ว่า โจทก์ ซื้อ ที่ดินพิพาท มา โดยสุจริตหรือไม่ ไม่ถูกต้อง เพราะ โจทก์ ไม่ได้ โต้แย้ง ว่า สุจริต หรือไม่ และศาลชั้นต้น ให้ จำเลย และ ผู้ร้องสอด นำสืบ ก่อน ไม่ชอบ เห็นว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ให้ สันนิษฐาน ไว้ ก่อน ว่าโจทก์ กระทำการ โดยสุจริต เมื่อ จำเลย และ ผู้ร้องสอด กล่าวอ้าง ว่าโจทก์ ไม่มี สิทธิ ครอบครอง ใน ที่ดินพิพาท และ รับโอน มา โดย ไม่สุจริตจำเลย และ ผู้ร้องสอด จึง มี หน้าที่ นำสืบ ใน ข้อ นี้ การ ที่ ศาลชั้นต้น กำหนดประเด็น และ สั่ง ให้ จำเลย และ ผู้ร้องสอด นำสืบ จึง ชอบแล้ว ฎีกา จำเลยและ ผู้ร้องสอด ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น จำเลย และ ผู้ร้องสอด ฎีกา ต่อไป ว่าขณะ ศาลชั้นต้น มี ธุระ ออก ไป นอก ห้อง พิจารณา โจทก์ ออก ไป ซัก ซ้อม พยานปาก นาย เอี่ยม และ นาย ทองอยู่ นอก ห้อง พิจารณา 2 ครั้ง เป็น การ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย วิธีพิจารณา ความ ขอให้ ยกเลิก กระบวนพิจารณา ปรากฏว่าใน วันสืบพยาน โจทก์ ปาก นาย เอี่ยม และ นาย ทองอยู่ ใน วันที่ 14 ธันวาคม 2532 จำเลย และ ผู้ร้องสอด มิได้ แถลง คัดค้าน การกระทำ ของ โจทก์ ในวัน ดังกล่าว กลับ ยอม ให้ โจทก์ นำพยาน ทั้ง สอง ปาก เข้าสืบ และ ถาม ค้านพยานไป ตาม ปกติ เพิ่ง คัดค้าน ใน วันที่ 21 ธันวาคม 2532 เห็นว่า การ ที่จำเลย และ ผู้ร้องสอด ทราบ ถึง การกระทำ ดังกล่าว ของ โจทก์ แล้ว มิได้คัดค้าน เสีย ก่อน โจทก์ นำพยาน ทั้ง สอง ปาก เข้าสืบ ก็ ดี การ ที่ จำเลย และผู้ร้องสอด ยอม ให้ โจทก์ นำพยาน ดังกล่าว เข้าสืบ และ ถาม ค้าน ไป ตาม ปกติก็ ดี และ การ ที่ ปล่อย เวลา ให้ เนิ่นไป ถึง 7 วัน ก็ ดี แสดง ว่า จำเลย และผู้ร้องสอด ไม่ติดใจ คัดค้าน และ เป็น การ ให้ สัตยาบัน แก่ การกระทำ ของโจทก์ แล้ว ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสองฎีกา จำเลย และ ผู้ร้องสอด ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น ที่ จำเลย และ ผู้ร้องสอดฎีกา อีก ว่า การ ซื้อ ขาย หรือ รับโอน ที่ดินพิพาท ของ โจทก์ ระหว่าง มีการ อายัด ที่ดินพิพาท เป็น การ ไม่สุจริต ก็ ดี มูลหนี้ ตาม คำพิพากษา ที่เป็นเหตุ ให้ มี การ ยึด ที่ดินพิพาท ขายทอดตลาด เกิดจาก มูลหนี้ ที่ ไม่ชอบด้วย กฎหมาย คำพิพากษา ของ ศาล และ การ ขายทอดตลาด ก็ ไม่เป็น กฎหมาย ที่จะ ต้อง ยึดถือ และ ปฏิบัติ ตาม นั้น ก็ ดี จำเลย ไม่ได้ ให้การ สู้ คดี ไว้ และผู้ร้องสอด ก็ ไม่ได้ กล่าวอ้าง ไว้ ใน คำร้อง สอด ส่วน ที่ จำเลย และผู้ร้องสอด ฎีกา อีก ข้อ หนึ่ง ว่า โจทก์ ไม่เคย เข้า ครอบครอง ที่ดินพิพาทจึง ไม่มี อำนาจฟ้อง ก็ ดี ปรากฏว่า ศาลชั้นต้น ไม่ได้ กำหนด เป็น ประเด็นข้อพิพาท ไว้ ฎีกา ของ จำเลย และ ผู้ร้องสอด ทั้ง สาม ข้อ ดังกล่าว ล้วนแต่ เป็น ข้อ ที่ ไม่ได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว โดยชอบ ใน ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย จำเลย และ ผู้ร้องสอด ฎีกาอีก ข้อ หนึ่ง ว่า คำฟ้อง โจทก์ ไม่ บรรยาย ว่า เจ้าของ เดิม ชื่อ อะไรโจทก์ ได้ มา เมื่อใด อย่างไร สุจริต หรือไม่ เป็น คำฟ้อง เคลือบคลุมเห็นว่า โจทก์ บรรยายฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาทโฉนด เลขที่ 372 โดย จดทะเบียน รับโอน มา เมื่อ วันที่ 2 มีนาคม 2524จำเลย อาศัย อยู่ ใน ที่ดินพิพาท โดย ไม่มี สิทธิ ขอให้ ขับไล่ และ ชดใช้ค่าเสียหาย เป็น การ บรรยาย โดยชัดแจ้ง ซึ่ง สภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัย เป็น หลักแห่งข้อหา และ คำขอบังคับ ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว คำฟ้อง โจทก์ จึง ไม่ เคลือบคลุมฎีกา จำเลย และ ผู้ร้องสอด ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น จำเลย และ ผู้ร้องสอด ฎีกาข้อ สุดท้าย ว่า ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 กำหนด ให้ จำเลย และ ผู้ร้องสอด ชำระค่า ทนายความ ชั้นอุทธรณ์ 5,000 บาท ไม่ชอบ เพราะ คดี นี้ มี ทุนทรัพย์เพียง 15,444 บาท เห็นว่า คดี นี้ ผู้ร้องสอด ต่อสู้ กรรมสิทธิ์ จึง เป็นคดีมีทุนทรัพย์ และ ผู้ร้องสอด ได้เสีย ค่าขึ้นศาล ชั้นฎีกา โดย ตีราคาที่ดินพิพาท 274,665 บาท จึง เป็น คดีมีทุนทรัพย์ 274,665 บาทฉะนั้น ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 กำหนด ให้ จำเลย และ ผู้ร้องสอด ใช้ ค่า ทนายความ ชั้นอุทธรณ์ แทน โจทก์ 5,000 บาท จึง ชอบแล้ว
พิพากษายืน

Share