แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดแล้วจำเลยยังคงเบิกและถอนเงินจากบัญชีและข้อสัญญาระบุว่าหากครบกำหนดแล้วผู้กู้ยังเบิกเงินอีกให้ถือว่าเป็นหนี้เงินกู้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีถือได้ว่าสัญญาดังกล่าวระหว่างโจทก์จำเลยยังคงมีอยู่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา พฤติการณ์ที่จำเลยหลีกเลี่ยงไม่ยอมรับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ถึงสองครั้งถือได้ว่าจำเลยประวิงการชำระหนี้ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา8(4)ข้อข
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย กับ นาย สมชาย ชัยศรีชวาลา ได้ ร่วมกัน เปิด บัญชี ประเภท เงินฝาก กระแสรายวัน ไว้ กับ ธนาคาร โจทก์ ต่อมา จำเลยได้ ทำ สัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชี กับ โจทก์ สาขา จักรวรรดิ ใน วงเงิน 300,000 บาท โดย ยอม เสีย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 10 ต่อ ปี ตกลง ชำระดอกเบี้ย เป็น รายเดือน หาก ผิดนัด ยอม ให้ โจทก์ นำ ดอกเบี้ย ที่ ค้างชำระทบ เข้า เป็น เงินต้น ได้ ต่อมา จำเลย ได้ ตกลง เพิ่ม วงเงิน อีก 4 ครั้งรวม เงินกู้ เบิกเงินเกินบัญชี ทั้งสิ้น 1,500,000 บาท ซึ่ง จำเลย ได้เบิกเงิน ตาม สัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชี ไป จาก โจทก์ และ นำ เงิน เข้าบัญชีเพื่อ หัก ทอน บัญชี กัน หลาย ครั้ง ทั้ง ได้ ตกลง ปรับ อัตรา ดอกเบี้ย ตามภาวะ เศรษฐกิจ จำนวน 5 ครั้ง ต่อมา จำเลย ได้ เบิกเงิน เกิน ไป จาก บัญชีจำนวน มาก และ ขาด การ ติดต่อ กับ โจทก์ และ นาย สมชาย ลูกหนี้ ร่วม ถูก พิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด โจทก์ จึง มี หนังสือ บอกเลิก สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ไป ยัง จำเลย 2 ครั้ง แต่ ไม่สามารถ ส่ง ให้ ได้พฤติการณ์ ของ จำเลย แสดง ว่า จำเลย มี เจตนา หลบหนี ไป จาก ภูมิลำเนา และจำเลย ไม่มี ทรัพย์สิน ใด ๆ จำเลย เป็น หนี้ โจทก์ คิด ถึง วันฟ้อง เป็น เงิน8,121,412.53 บาท ขอให้ มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด และ พิพากษาให้ จำเลย เป็น บุคคล ล้มละลาย
จำเลย ไม่ยื่น คำให้การ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จำเลย เด็ดขาดตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 ให้ จำเลย ใช้ค่าฤชาธรรมเนียม แทน โจทก์ โดย หัก จาก กอง ทรัพย์สิน ของ จำเลย ส่วน ค่าทนายความ ให้ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ กำหนด ตาม ที่ เห็นสมควร
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา วินิจฉัย ว่า หนี้ ที่ โจทก์ นำ มา ฟ้องขาดอายุความ หรือไม่ จำเลย ฎีกา ว่า สัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชี แต่ละ ฉบับได้ กำหนด เวลา ชำระหนี้ ไว้ แน่นอน แล้ว คือ 1 ปี ต้อง ถือ อายุความ นับแต่สัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชี แต่ละ ฉบับ สิ้นสุด ลง เมื่อ สัญญา ฉบับ สุดท้ายครบ กำหนด เมื่อ วันที่ 26 มีนาคม 2525 โจทก์ ฟ้องคดี เมื่อ วันที่31 มีนาคม 2535 จึง เกินกว่า 10 ปี คดี โจทก์ จึง ขาดอายุความ นั้นเห็นว่า แม้ สัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชี แต่ละ ฉบับ ได้ กำหนด เวลาชำระหนี้ ไว้ แน่นอน ก็ ตาม แต่ ข้อเท็จจริง ได้ความ ว่า หลังจาก ครบ กำหนดเวลา ตาม สัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชี แต่ละ ฉบับ แล้ว จำเลย ยัง คง เบิกและ ถอนเงิน จาก บัญชี อยู่ และ ตาม สัญญา ข้อ 4 ก็ ระบุ ว่า เมื่อ ครบ กำหนดสัญญา แล้ว ผู้กู้ ยัง เบิกเงิน จาก ผู้ให้กู้ อยู่ อีก ให้ ถือว่า เป็นหนี้ เงินกู้ ตาม สัญญา นี้ ทั้งสิ้น ซึ่ง ผู้ให้กู้ จะ เรียกร้อง ให้ชำระหนี้ เมื่อใด ก็ ได้ ดังนี้ จึง ถือได้ว่า สัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชีระหว่าง โจทก์ จำเลย ยัง คง มี อยู่ ต่อไป โดย ไม่มี กำหนด เวลา เมื่อ ปรากฏว่าโจทก์ ได้ บอกเลิก สัญญา และ เรียก ให้ จำเลย ชำระหนี้ เมื่อ เดือน สิงหาคม2534 โจทก์ ฟ้องคดี เมื่อ เดือน มีนาคม 2535 ยัง ไม่เกิน 10 ปี คดี ของโจทก์ จึง ไม่ขาดอายุความ
ที่ จำเลย ฎีกา ว่า การ บอกเลิก สัญญา และ ทวงถาม ให้ จำเลย ชำระหนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย นั้น ได้ความ ว่า โจทก์ ส่ง หนังสือ บอกเลิก สัญญาและ ทวงถาม ให้ จำเลย ชำระหนี้ 2 ฉบับ ฉบับ หนึ่ง ส่ง ไป ที่ บ้าน เลขที่ 340ซอย พาณิชอนันต์ ถนนสุขุมวิท 71 แขวงคลองตัน เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร แต่ ส่ง ไม่ได้ ทั้ง สอง ฉบับ โดย ฉบับ แรก ส่ง คืน แจ้ง ว่าย้าย ไม่ทราบ ที่อยู่ ใหม่ ส่วน ฉบับ หลัง แจ้ง ว่า ไม่มี ผู้รับ ตาม จ่าหน้าส่วน จำเลย นำสืบ ว่า จำเลย มี ภูมิลำเนา อยู่ ที่ บ้าน เลขที่ 43 หมู่ ที่ 8แขวง ลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร โดย มิได้ โต้แย้ง ว่า บ้าน เลขที่ 340 ซอย พาณิชอนันต์ ถนนสุขุมวิท 71 แขวงคลองตัน เขต พระโขนง กรุงเทพมหานคร ตาม ที่ จำเลย ให้ ไว้ แก่ โจทก์ มิใช่ ภูมิลำเนา ของ จำเลย ทั้ง สัญญา เบิกเงินเกินบัญชี แต่ละ ฉบับ ข้อ 9ก็ มี ข้อตกลง ว่า บรรดา หนังสือ บอกกล่าว ที่ ส่ง ไป ยัง สถานที่ ดังกล่าวให้ ถือว่า ได้ ส่ง ให้ แก่ ผู้กู้ โดยชอบ แล้ว ดังนี้ เห็นว่า การ ที่ โจทก์ส่ง หนังสือ บอกเลิก สัญญา และ ทวงถาม ให้ จำเลย ชำระหนี้ ไม่ได้ ถึง สอง ครั้งโดย ได้ ส่ง ไป ตาม ภูมิลำเนา ของ จำเลย แล้ว แต่ละ ครั้ง ก็ ไม่มี ผู้ใดยอมรับ ไว้ ถือได้ว่า การแสดง เจตนา บอกเลิก สัญญา และ ทวงถาม ให้ จำเลยของ โจทก์ ไป ถึง จำเลย โดยชอบ ด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา169 วรรคแรก แล้ว โดย หา จำต้อง ประกาศ หนังสือพิมพ์ บอกกล่าวแก่ จำเลย อีก ไม่
ที่ จำเลย ฎีกา ว่า โจทก์ เพียงแต่ เบิกความ ลอย ๆ ว่า จำเลย กับนาย สมชาย เป็น หนี้ โจทก์ ถึง วันฟ้อง เป็น เงิน 8,121,412.53 บาท โดย ไม่ได้ นำ สมุห์บัญชี หรือ ฝ่าย บัญชี ของ โจทก์ มา เบิกความ รับรองโจทก์ ไม่ฟ้อง จำเลย เป็น คดีแพ่ง ก่อน จึง ฟัง ไม่ได้ ว่า จำเลย เป็นหนี้ โจทก์ จำเลย ประกอบ อาชีพ ค้าขาย ผ้า ที่ สำเพ็ง มี เงินทุน หมุนเวียน ไม่ ต่ำกว่า 5,000,000 ถึง 10,000,000 บาท จำเลย ไม่อยู่ ใน ฐานะที่ จะ เป็น บุคคล ล้มละลาย นั้น ได้ความ ตาม ที่ โจทก์ นำสืบ ว่า จำเลยได้ ร่วม กับ นาย สมชาย เปิด บัญชี เงินฝาก ประเภท กระแสรายวัน ไว้ กับ โจทก์ และ ได้ ร่วมกัน ทำ สัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชี ไว้ กับ โจทก์ รวม 5 ครั้งใน วงเงิน เบิกเกินบัญชี 1,500,000 บาท เมื่อ คิด บัญชี แล้ว จำเลยเป็น หนี้ โจทก์ ถึง วันฟ้อง จำนวน 8,121,412.53 บาท จำเลย ไม่ได้ นำสืบให้ เห็น เป็น อย่างอื่น จึง ฟังได้ ว่า จำเลย เป็น หนี้ โจทก์ ตาม ฟ้องและ หนี้ ดังกล่าว เป็น หนี้ ที่ แน่นอน มี จำนวน ไม่ น้อยกว่า ห้า หมื่น บาทโดย โจทก์ หา จำต้อง ฟ้อง จำเลย เป็น คดีแพ่ง ก่อน ไม่ ที่ จำเลย ฎีกา ว่าจำเลย ค้าขาย เสื้อผ้า มี ทุนหมุนเวียน ไม่ ต่ำกว่า 5,000,000 ถึง10,000,000 บาท ก็ เป็น ข้อ นำสืบ ที่ เลื่อนลอย ไม่มี น้ำหนัก รับฟัง ได้พฤติการณ์ ที่ จำเลย หลีกเลี่ยง ไม่ยอม รับ หนังสือ ทวงถาม ให้ ชำระหนี้ถึง สอง ครั้ง ดัง วินิจฉัย มา แล้ว ถือได้ว่า จำเลย ประวิง การ ชำระหนี้ซึ่ง ต้องด้วย ข้อสันนิษฐาน ตาม มาตรา 8(4) ข้อ ข. แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ว่า จำเลย เป็น ผู้ มี หนี้สินล้นพ้นตัว เมื่อ จำเลยไม่สามารถ พิสูจน์ ให้ เห็นว่า จำเลย มี ทรัพย์สิน อื่น ใด ที่ จะ ชำระหนี้ให้ โจทก์ ได้ ศาลชั้นต้น มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จำเลย เด็ดขาด และศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน ตาม มา นั้น ต้องด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา แล้วฎีกา ของ จำเลย ทุก ข้อ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน