คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6503/2537

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดตามกฎหมายของ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยแนบหนังสือรับรองพร้อม คำแปลเป็นภาษาไทยมาด้วยท้ายฟ้องซึ่งในคำแปลเป็นภาษาไทยดังกล่าวได้ระบุว่าเป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจจดทะเบียนการค้าต่างประเทศเลขที่10832มีชื่อบริษัทโจทก์ที่อยู่และทุนจดทะเบียนพร้อมซึ่งเพียงพอที่จะทำให้จำเลยและจำเลยร่วมเข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลของประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้นโจทก์สามารถจะนำสืบรายละเอียดในชั้นพิจารณาคดีได้ฟ้องของโจทก์จึงมีสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาชัดเจนพอเพียงที่จำเลยและจำเลยร่วมสามารถให้การต่อสู้คดีในส่วนนี้ได้แล้วหาเป็น ฟ้องเคลือบคลุมแต่อย่างใดไม่ การเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนนั้นไม่จำต้องระบุไว้เป็นกิจการใน วัตถุประสงค์ของ นิติบุคคล หากเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับกิจการค้าขายที่บริษัท ก. เกี่ยวข้องอยู่ด้วยก็ย่อมเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนได้เมื่อบริษัท ก.เป็น ตัวแทนจำหน่ายกุญแจตราลูกโลกของโจทก์ซึ่งพิพาทกันในคดีนี้บริษัท ก. จึงเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราลูกโลกกับสินค้ากุญแจไว้ในต่างประเทศหลายประเทศและได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้ในประเทศไทยตั้งแต่ก่อนจำเลยและจำเลยร่วมจะได้ใช้และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้การที่จำเลยและจำเลยร่วมรู้ดีว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวอยู่ก่อนแล้วจำเลยและจำเลยร่วมยังนำเครื่องหมายการค้านั้นไปจดทะเบียนแสดงว่าจำเลยและจำเลยร่วมมิได้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้านี้ขึ้นเองโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยและจำเลยร่วมทั้งนี้แม้โจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในประเทศไทยและจำเลยกับจำเลยร่วมได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ก่อนที่ประเทศไทยจะมีความสัมพันธ์ทางการฑูตกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ตามโจทก์ก็ย่อมจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยกับจำเลยร่วมและมีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในนามของจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น นิติบุคคล ประเภท บริษัท จำกัด ตามกฎหมาย ของ ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน ตาม หนังสือ รับรอง พร้อม คำแปล ท้ายฟ้อง โจทก์ ได้ มอบอำนาจ ให้บริษัท กรุงไทยเอนเตอร์ไพรส์ จำกัด เป็น ผู้ดำเนินคดี นี้ แทน โจทก์ เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้า อักษร โรมัน คำ ว่า GLOBE อ่าน ว่า โกลบ แปล ว่า ลูกโลก กับ เครื่องหมายการค้า อักษร จีน อ่าน เป็น ภาษา จีน แต้จิ๋วว่า ตี่กิ่วไป๊ แปล ว่า ตรา ลูกโลก และ รูป จำลอง ลูกโลก โจทก์ ได้ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ดังกล่าว ณประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อ ปี 2504 และ ได้ จดทะเบียน ใน ต่างประเทศ อีก หลาย ประเทศ ทั่ว โลก โจทก์ ใช้ เครื่องหมายการค้านี้ กับ สินค้า ประเภท ลูกกุญแจ ทุก ชนิด ของ โจทก์ โจทก์ ได้ โฆษณา เผยแพร่จำหน่าย สินค้า ภายใต้ เครื่องหมาย การ นี้ ทั่ว โลก และ ใน ประเทศ ไทยมา นาน แล้ว จน สาธารณชน ทราบ ดี ต่อมา ปี 2514 จำเลย ได้ นำเครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ นี้ ไป จดทะเบียน เป็น ของ จำเลย โดย ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย และ ใน ปี 2522 จำเลย ได้ ทำการ ผลิต และ จำหน่าย สินค้า กุญแจโดย ใช้ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ซึ่ง จำเลย ได้ จดทะเบียน ไว้กับ ใช้ รูป จำลอง ลูกโลก ของ โจทก์ ซึ่ง จำเลย มิได้ จดทะเบียน นำ ไป แสดงบน หีบ ห่อ บรรจุ สินค้า อีก ทั้ง ยัง ลอก เลียน รูป และ สีสัน ของ ของ หีบ ห่อบรรจุ สินค้า ของ โจทก์ ด้วย โดย จำเลย มี เจตนา ลวง สาธารณชน ให้ เข้าใจว่า สินค้า ของ จำเลย เป็น สินค้า ของ โจทก์ ซึ่ง สินค้า ของ จำเลย มี คุณภาพ ต่ำกว่า สินค้า ของ โจทก์ มาก ขอให้ ศาล มี คำสั่ง เพิกถอน เครื่องหมายการค้า ตามคำขอ ที่ 74460 ทะเบียน เลขที่ 50065 โดย ให้ จำเลย เป็น ผู้ ไป จดทะเบียนเพิกถอน หาก จำเลย ไม่ยอม ปฏิบัติ ตาม ก็ ขอให้ ถือเอา คำพิพากษาของ ศาล แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ให้ จำเลย หยุด การ ใช้เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ และ ให้ จำเลย ชดใช้ เงิน จำนวน2,400,000 บาท และ อีก เดือน ละ 300,000 บาท นับ จาก วันฟ้องเป็นต้น ไป พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับ จากวันฟ้อง จนกว่า จำเลย จะ หยุด การ ใช้ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า ฟ้องโจทก์ เคลือบคลุม โจทก์ มิได้ เป็นนิติบุคคล ประเภท บริษัท จำกัด จดทะเบียน ณ เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน บริษัท กรุงไทยเอนเตอร์ไพรส์ จำกัด ผู้รับมอบอำนาจ โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง คดี แทน โจทก์ เพราะ เป็นเรื่อง นอกเหนือ วัตถุประสงค์ ทางการ ค้า ของ บริษัท ผู้รับมอบอำนาจ โจทก์โจทก์ ไม่ใช่ เจ้าของ เครื่องหมายการค้า ตาม ฟ้องโจทก์ ไม่เคย จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ดังกล่าว ณ ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อ ปี 2504 และ ใน ประเทศ อื่น ๆ แต่ จำเลย เป็น เจ้าของเครื่องหมายการค้า ดังกล่าว โดย ได้ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ถูกต้องตาม กฎหมาย ตั้งแต่ ปี 2514 ตาม ทะเบียน เลขที่ 50065 จำเลย ได้ เริ่ม ผลิตและ จำหน่าย สินค้า กุญแจ ภายใต้ เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว ตั้งแต่ปี 2514 โดยสุจริต และ เปิดเผย ด้วย เจตนา เป็น เจ้าของ ดังนั้นแม้ โจทก์ จะ นำสืบ ได้ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้า ดังกล่าวจำเลย ก็ ย่อม ได้ กรรมสิทธิ์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1342จำเลย จึง มี กรรมสิทธิ์ ใน เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว ดีกว่า โจทก์และ จำเลย ไม่เคย ลวง ขาย สินค้า กุญแจ ภายใต้ เครื่องหมายการค้า ดังกล่าวว่า เป็น สินค้า ของ โจทก์ ประกอบ กับ โจทก์ มิได้ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว ตาม พระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 โจทก์จึง ไม่มี สิทธิ เรียก ค่าเสียหาย ใด ๆ จาก จำเลย นอกจาก นี้ ความเสียหายของ โจทก์ อย่างมาก ก็ ไม่เกิน เดือน ละ 10,000 บาท ขอให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง การ พิจารณา ของ ศาลชั้นต้น โจทก์ ยื่น คำร้องขอ ให้ศาลชั้นต้น ออกหมาย เรียก บริษัท ไชยอิค่อน จำกัด เข้า มา เป็น จำเลยร่วม ศาลชั้นต้น อนุญาต
จำเลยร่วม ให้การ ทำนอง เดียว กับ จำเลย ดังกล่าว ข้างต้น
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ เพิกถอน เครื่องหมายการค้า ของ จำเลยตาม คำขอ เลขที่ 74460 ทะเบียน เลขที่ 50065 โดย ให้ จำเลย ไป จดทะเบียนเพิกถอน หาก จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดงเจตนา ของ จำเลย ห้าม จำเลย และ จำเลยร่วม ใช้ เครื่องหมายการค้าตาม เอกสาร ท้ายฟ้อง ของ โจทก์ ต่อไป คำขอ อื่น ให้ยก
โจทก์ จำเลย และ จำเลยร่วม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย และ จำเลยร่วม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ปัญหา ว่า ฟ้องโจทก์ เคลือบคลุม หรือไม่เห็นว่า โจทก์ บรรยายฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น นิติบุคคล ประเภท บริษัท จำกัดตาม กฎหมาย ของ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดย แนบ หนังสือ รับรอง พร้อม คำแปล เป็น ภาษา ไทย มา ด้วย ตาม เอกสาร ท้ายฟ้อง ซึ่ง ใน คำแปลเป็น ภาษา ไทย ดังกล่าว ได้ ระบุ ว่า เป็น ใบอนุญาต ประกอบ ธุรกิจจดทะเบียน การค้า ต่างประเทศ เลขที่ 10832 มี ชื่อ บริษัท โจทก์ ที่อยู่และ ทุน จดทะเบียน พร้อม ซึ่ง เพียงพอ ที่ จะ ทำให้ จำเลย และ จำเลยร่วมเข้าใจ ได้ว่า โจทก์ เป็น นิติบุคคล ของ ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วน ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับ การ จดทะเบียน เป็น นิติบุคคล หรือ การ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ นั้น โจทก์ สามารถ จะ นำสืบ รายละเอียดใน ชั้นพิจารณา คดี ได้ ฟ้อง ของ โจทก์ จึง มี สภาพแห่งข้อหา และ คำขอบังคับทั้ง ข้ออ้าง ที่อาศัย เป็น หลักแห่งข้อหา ชัดเจน พอเพียง ที่ จำเลย และจำเลยร่วม สามารถ ให้การ ต่อสู้ คดี ใน ส่วน นี้ ได้ แล้ว หา เป็นฟ้องเคลือบคลุม แต่อย่างใด ไม่ สำหรับ ปัญหา ที่ ว่าบริษัท กรุงไทยเอนเตอร์ไพรส์ จำกัด สามารถ กระทำการ เป็น ผู้ รับมอบ อำนาจฟ้อง คดี นี้ ได้ หรือไม่ นั้น จำเลย และ จำเลยร่วม ฎีกา ว่าบริษัท ดังกล่าว รับมอบ อำนาจฟ้อง คดี นี้ ไม่ได้ เพราะ อยู่ นอก วัตถุประสงค์ของ บริษัท บริษัท กรุงไทยเอนเตอร์ไพรส์ จำกัด มิได้ ประกอบ กิจการ รับจ้าง จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า หรือ เป็น ผู้รับมอบอำนาจให้ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า การ ฟ้องคดี จึง ไม่เกี่ยวกับ กิจการ ค้าของ โจทก์ เห็นว่า การ เป็น ผู้รับมอบอำนาจ ฟ้องคดี แทน นั้น ไม่จำต้องระบุ ไว้ เป็น กิจการ ใน วัตถุประสงค์ ของ นิติบุคคล หาก เป็น การ ฟ้องคดีเกี่ยวกับ กิจการ ค้าขาย ที่ บริษัท กรุงไทยเอนเตอร์ไพรส์ จำกัด เกี่ยวข้อง อยู่ ด้วย ก็ ย่อม เป็น ผู้รับมอบอำนาจ ฟ้องคดี แทน ได้ข้อเท็จจริง ได้ความ ว่า บริษัท กรุงไทยเอนเตอร์ไพรส์ จำกัด เป็น ตัวแทน จำหน่าย กุญแจ ตรา ลูกโลก ของ โจทก์ ซึ่ง พิพาท กัน ใน คดี นี้บริษัท กรุงไทยเอนเตอร์ไพรส์ จำกัด จึง เป็น ผู้รับมอบอำนาจ ฟ้อง คดี แทน โจทก์ ได้
ปัญหา ต่อไป ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย และ จำเลยร่วมมี ว่า โจทก์ หรือ จำเลย และ จำเลยร่วม ใคร จะ มีสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้าพิพาท ดีกว่า กัน ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า โจทก์ ได้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า พิพาท ที่ ประเทศ สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย และ ประเทศ สวีเดน กับ ยัง ได้ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า นี้ ใน อีก หลาย ประเทศ และ ได้ ใช้ เครื่องหมายการค้า นี้ ใน ประเทศ ไทย ตั้งแต่ก่อน จำเลยร่วม จะ ได้ ใช้ และ ได้ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า นี้การ ที่ จำเลย และ จำเลยร่วม รู้ ดี ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้าพิพาท อยู่ ก่อน แล้ว จำเลย และ จำเลยร่วม ยัง นำ เครื่องหมายการค้า พิพาทไป จดทะเบียน แสดง ว่า จำเลย และ จำเลยร่วม มิได้ คิด ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้า พิพาท ขึ้น เอง โจทก์ จึง มีสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้าพิพาท ดีกว่า จำเลย และ จำเลยร่วม ทั้งนี้ แม้ โจทก์ จะ ยัง ไม่ได้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า พิพาท ใน ประเทศ ไทย ก็ ตาม สรุป แล้ว โจทก์ มีสิทธิขอให้ เพิกถอน ทะเบียน เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ได้ ส่วน ที่จำเลย และ จำเลยร่วม ฎีกา ว่า เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ไม่เคยจดทะเบียน ใน ประเทศ ไทย จำเลย และ จำเลยร่วม ได้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า พิพาท ใน ประเทศ ไทย ตั้งแต่ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2514ซึ่ง เป็น ช่วง เวลา ก่อน ที่ ประเทศ ไทย จะ มี ความ สัมพันธ์ ทางการ ฑูต กับประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่ง โจทก์ จะ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน ไม่ได้ นั้น เห็นว่า เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า โจทก์ ใช้เครื่องหมายการค้า พิพาท ใน ประเทศ ไทย มา ก่อน จำเลย ยื่น คำขอ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า พิพาท โจทก์ ก็ ย่อม จะ มีสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้าพิพาท ดีกว่า จำเลย กับ จำเลยร่วม และ มีสิทธิ ขอให้ เพิกถอน การ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า พิพาท ใน นาม ของ จำเลย ได้ ตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) ซึ่ง ใช้ บังคับ ใน ขณะเกิด ข้อพิพาท
พิพากษายืน

Share