แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
เอาดวงตราราชการไปทำหนังสือปลอมโดยตั้งใจนำกลับมาคืน ก็เป็นความผิดฐานลักทรัพย์.
ปลอมใบสั่งให้จ่ายเงินธนา-ณัติสำหรับการส่งเงินธนาณัตินั้นเป็นผิดฐานปลอมหนังสือในราชการ.
เจ้าพนักงานไปทำงานแทนผู้ประจำตำแหน่ง แล้วลักเอาแบบพิมพ์ไปทำหนังสือเกี่ยวกับตำแหน่งนั้น ไม่มีผิดฐานปลอมหนังสือตามมาตรา 229ลหรือ 230.
ย่อยาว
คดีได้ความว่าจำเลยรับราชการเป็นเสมียนอยู่ในกรมไปรษณีย์ดทรเลข หมวดรับจ่ายธนาณัติ เจ้าพนักงานรับจ่ายธนาณัติลาป่วย จำเลยเข้าทำการแทน และได้ทำการลักเอาตราประจำวัน ๑ ดวง ตามประกันลายเซ็น ๑ ดวง แบบพิมพ์ธนาณัติ ธงน.๓๑ หนึ่งเล่มของรัฐบาลไป เมื่อจำเลยลักไปแล้วได้ทำการปลอมใบบอกธนาณัติขึ้นที่บ้านจำเลย และปลอมลายมือชื่อเจ้าพนักงานรับจ่ายธนาณัติ และลายมือชื่อนายไปรษณีย์ แล้วเอาตราประจำวันและตราประกันลายเซ็นที่ลักไปประทับลงในใบบอกตามระเบียบทั้ง ๒ ดวง จำเลยได้ทำปลอมถึง ๒๐ ฉะบับเป็นเงิน ๑๐๐๐๐ บาท โดยเจตนาทุจริตเพื่อจะให้นายไปรษณีย์ปลายทางสำคัญว่าเป็นใบบอกและใบธนาณัติอันแท้จริง จะได้จ่ายเงินให้แก่พรรคพวกของจำเลยไป ดวงตราที่จำเลยเอาไปนั้น จำเลยก็ได้นำมาคืนแต่ถูกจับเสียก่อน.
ศาลชั้นต้นฟังว่าตรา ๒ ดวงกับแบบพิมพ์เป็นของสำหรับใช้ในราชการกรมไปรษณีย์โทรเลข จำเลยเอาไปโดยมิได้รับอนุญาตเพื่อการทุจริต จึงผิดฐานหลักทรัพย์ ส่วนใบบอกไปรษณีย์ธนาณัติของกลางได้ถูกจำเลยปลอมขึ้นมีข้อความสมบูรณ์และมีลักษณะสามารถอาจเกิดการเสียหายได้ จึงผิดฐานปลอมหนังสือสำคัญ พิพากษาลงโทษตามมาตรา ๒๙๔ กะทงหนึ่ง กับมาตรา ๒๒๔ อิกกะทงหนึ่ง.
โจทก์ จำเลย ศาลอุทธรณ์ พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา ๒๙๔,๒๒๕,๒๒๙ และ ๒๓๐.
จำเลยดังต่อไปนี้
๑. จำเลยฎีกา ว่าได้เอาดวงตรามาทำปล่อยแล้วจะส่งคืน เผชิญถูกจับเสียก่อน จำเลยจึงหามีผิดฐานหลักทรัพย์ไม่ศาลฎีกาเห้นว่า ต้องถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นผิดฐานลักทรัพย์ตามกฎหมายแล้วส่วนที่จำเลยว่าไม่มีเจตนาที่จะตัดกรรมสิทธิ์ให้ขาดจากเจ้าของเอามาเป้นกรรมสิทธิ์ของจำเลยไม่เป็นลักทรัพย์ตามกฎหมายนั้นฟังไม่ได้ เพราะกฎหมายไม่ได้บัญญัติเจตนาของผู้กระทำดังที่จำเลยฎีกามา.
๒. จำเลยฎีกาว่า ควรมีความผิดฐานปลอมหนังสือสำคัญตามมาตรา ๒๒๔ ไม่ใช่มาตรา ๒๒๕ นั้น ศาลฎีกาเห็นว่าที่ศษลอุทธรณ์ลงโทษตามมาตรา ๒๒๕ ชอบแล้ว เพราะใบบอกไปรษณีย์ธนาณัติที่จำเลยปลอมเป็นหนังสือในราชการแผนกธนาณัติกรมไปรษณีย์โทรเลข.
๓. จำเลยฎีกาว่า ไม่ควรมีความผิดตามมาตรา ๒๒๙,๒๓๐ ศาลฎีกาเห็นว่าตามข้อเท็จจริงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเป้นเจ้าพนักงานปลอมหนังสือซึ่งอยู่ในหน้าที่ของจำเลยเป็นผู้ทำตามตำแหน่งมาตรา ๒๒๙ และฟังไม่ได้ว่า จำเลยเป้นเจ้าพนักงานมีตำแหน่งหน้าที่จดหนังสือด้วยข้อความเท็จตามมาตรา ๒๓๐.
ศาลฎีกาจึงพิพากษาแก้ให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา ๒๙๔ และมาตรา ๒๒๕ นอกนี้ยืนตามศาลอุทธรณ์.