แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทรวม2แปลงจากจำเลยมีกำหนด30ปีสัญญาเช่าทำเป็นหนังสือกันเองรวม10ฉบับมีกำหนดเวลาเช่าฉบับละ3ปีติดต่อกันโดยมิได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีข้อตกลงกันว่าจำเลยจะไปจดทะเบียนการเช่าให้โจทก์ภายหลังที่จำเลยจัดสรรที่ดินให้เช่าหมดแล้วดังนี้การเช่าที่ดินตามฟ้องมีระยะเวลาเช่าเกินกว่า3ปีเมื่อยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยจดทะเบียนการเช่าที่ดินมีกำหนดเวลา30ปีไม่ได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ไป จดทะเบียน การ เช่า ให้ โจทก์ มีกำหนด 30 ปี นับแต่ วันที่ 15 กันยายน 2530 หาก ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย
จำเลย ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ ว่า โจทก์ ทำสัญญาเช่า ที่ดินพิพาท รวม 2 แปลง จาก จำเลย กำหนด เวลา เช่า กัน 30 ปีนับ ตั้งแต่ วันที่ 15 กันยายน 2530 สัญญาเช่า ได้ ทำ เป็น หนังสือกันเอง รวม 10 ฉบับ มี กำหนด เวลา เช่า ฉบับ ละ 3 ปี ติดต่อ กัน โดยมิได้ จดทะเบียน การ เช่า ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ตาม สัญญาเช่า ที่ดินท้ายฟ้อง โจทก์ เช่า ที่ดิน มา เป็น เวลา 4 ปี เศษ แล้ว มา ฟ้องคดี นี้ปัญหา วินิจฉัย มี ว่า สัญญาเช่า ที่ดิน ท้ายฟ้อง มีผล บังคับ กัน ได้ เพียงใดโดย โจทก์ ฎีกา ว่า โจทก์ จำเลย ทำ สัญญาเช่า ที่ดิน มี กำหนด เวลา เช่า กัน30 ปี มี ข้อตกลง กัน ว่า จำเลย จะ ไป จดทะเบียน การ เช่า ให้ โจทก์ ต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ ภายหลัง จาก ที่ จำเลย จัดสรร ที่ดิน ให้ เช่า หมด แล้วต่อมา จำเลย ไม่ได้ ปฏิบัติ ตาม สัญญา ที่ ตกลง กัน ไว้ เห็นว่า แม้ หากจะ ฟัง ข้อเท็จจริง ได้ว่า จำเลย เคย ตกลง จะ ไป จดทะเบียน การ เช่าที่ดิน ให้ โจทก์ ใน ภายหลัง ตาม ที่ โจทก์ ฎีกา ก็ ตาม แต่ สัญญาเช่าที่ดิน ตาม ที่ โจทก์ ฟ้อง มี ระยะเวลา การ เช่า เกินกว่า 3 ปี เมื่อ ยังมิได้ จดทะเบียน ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ โจทก์ จะ ฟ้องบังคับ ให้ จำเลยจดทะเบียน การเช่าที่ดิน มี กำหนด เวลา 30 ปี ไม่ได้ ที่ ศาลอุทธรณ์ฟัง ว่า โจทก์ จะ บังคับ ไม่ประสงค์ จะ จดทะเบียน การเช่าที่ดิน มา แต่ ต้นโจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง บังคับ ให้ จำเลย ไป จดทะเบียน การเช่าที่ดินนั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ใน ผล ฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน