คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องว่า จ. ได้สลักหลังโอนเช็คพิพาทชำระหนี้แก่โจทก์โดยเช็คดังกล่าวจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายแล้วนำมาแลกเงินสดไปจากจ. เมื่อวันที่5ธันวาคม2532แต่จำเลยลงวันที่สั่งจ่ายผิดไปเป็นวันที่5มกราคม2532ความจริงเป็นวันที่5มกราคม2533จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธทั้งในชั้นพิจารณาเมื่อโจทก์นำพยานเข้าสืบในประเด็นนี้จำเลยก็ไม่ได้นำสืบโต้แย้งหรือคัดค้านฎีกาจำเลยที่ว่าโจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงวันที่สั่งจ่ายจากวันที่5มกราคม2532เป็นวันที่5มกราคม2533ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นแม้จำเลยจะยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้จำเลยก็ไม่มีสิทธิฎีกา

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ผู้ทรงเช็ค ของ ธนาคาร กรุงไทย จำกัด สาขา นานาเหนือ ลงวันที่ 5 มกราคม 2532 สั่งจ่าย เงิน จำนวน 112,000 บาท โดย จำเลย เป็น ผู้ลงลายมือชื่อ สั่งจ่าย เช็ค ฉบับนี้ จำเลยนำ มา แลก เงินสด ไป จาก นาย จรูญ ฬาพานิช และ นาย จรูญ สลักหลัง โอน ชำระหนี้ ให้ แก่ โจทก์ ส่วน วันที่ ลง ใน เช็ค นั้น จำเลย ลงวันที่สั่งจ่าย ผิด ไป โดย ลงวันที่ 5 มกราคม 2532 ซึ่ง ความจริง เป็นวันที่ 5 มกราคม 2533 ทั้งนี้ เพราะ จำเลย ได้ เบิก เช็ค มาจาก ธนาคารเมื่อ วันที่ 30 ตุลาคม 2532 และ ธนาคาร ได้ ประทับตรา ลงวันที่30 ตุลาคม 2532 ที่ ด้านหลัง เช็ค เมื่อ วันที่ 6 มีนาคม 2533 ธนาคารปฏิเสธ การ จ่ายเงิน โจทก์ ขอ คิด ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีนับแต่ วันที่ 5 มกราคม 2533 ถึง วันฟ้อง เป็น ค่า ดอกเบี้ย 8,109.04 บาทรวมเป็น เงิน ทั้งสิ้น 120,109.04 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงินจำนวน 120,109.04 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่งต่อ ปี จาก ต้นเงิน 112,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระเสร็จ
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ไม่เคย นำ เช็คพิพาท ไป แลก เงินสด จาก นาย จรูญ และ ไม่เคย สัญญา ว่า จะ ชำระหนี้ ให้ นาย จรูญ ใน วันที่ 5 มกราคม 2533โจทก์ ไม่มี นิติสัมพันธ์ กับ จำเลย โจทก์ ไม่มี สิทธิ จะ เรียก ดอกเบี้ย ในอัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จาก ต้นเงิน 112,000 บาท นับแต่ วันที่ เช็คถึง กำหนด คือ วันที่ 5 มกราคม 2533 ถึง วันฟ้อง ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 กล่าว คือ โจทก์ ไม่ได้ฟ้องคดี ภายใน 1 ปี นับแต่ วันที่ 5 มกราคม 2532 ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน 112,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 6 มกราคม 2533 เป็นต้น ไปจนกว่า จำเลย จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย ใน อัตราร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 6 มีนาคม 2533 เป็นต้น ไป จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ จำเลย ฎีกา ว่า การ ที่ โจทก์ นำพยาน บุคคลเข้าสืบ เพื่อ เปลี่ยนแปลง วันที่ สั่งจ่าย ใน เช็คพิพาท จาก วันที่ 5มกราคม 2532 เป็น วันที่ 5 มกราคม 2533 เป็น การ นำพยาน บุคคล มา สืบเพื่อ เปลี่ยนแปลง ข้อความ ใน เอกสาร คือ วันที่ สั่งจ่าย ใน เช็ค ย่อม ต้องห้าม ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 (ข) นั้นเห็นว่า โจทก์ กล่าว ไว้ ใน ฟ้อง ว่า จำเลย นำ เช็คพิพาท มา แลก เงินสดไป จาก นาย จรูญ ฬาพานิช เมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม 2532 และ สัญญา ว่า จะ ชำระหนี้ ตามเช็ค ใน วันที่ 5 มกราคม 2533 แต่ จำเลย ลงวันที่สั่งจ่าย ผิด ไป เป็น วันที่ 5 มกราคม 2532 จำเลย ไม่ได้ ให้การ ปฏิเสธ ข้อกล่าวอ้าง ของ โจทก์ ดังกล่าว ทั้ง ใน ชั้นพิจารณา เมื่อ โจทก์ นำพยาน เข้าสืบ ใน ประเด็น นี้ จำเลย ก็ ไม่ได้ นำสืบ โต้แย้ง หรือ คัดค้าน การ นำสืบ ของโจทก์ ฎีกา จำเลย ข้อ นี้ จึง เป็น ข้อ ที่ ไม่ได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว โดยชอบใน ศาลชั้นต้น ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249วรรคหนึ่ง แม้ จำเลย จะ ยกขึ้น ใน ชั้นอุทธรณ์ และ ศาลอุทธรณ์ รับ วินิจฉัยให้ จำเลย ก็ ไม่มี สิทธิ ฎีกา ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย เช่นเดียวกันพิพากษายก ฎีกา จำเลย

Share