แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์ฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินมรดกโฉนดที่1969แก่โจทก์จำนวน23ไร่เศษศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องเกิน1ปีจึงขาดอายุความมรดกแต่โจทก์คงได้เท่าที่โจทก์ครอบครองอยู่6ไร่เป็นการวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิได้ที่ดินเพียงใดโจทก์ขอให้ศาลออกคำบังคับให้จำเลยแบ่งที่ดิน6ไร่ให้โจทก์แต่ศาลยกคำร้องเพราะไม่อาจออกคำบังคับได้โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยจดทะเบียนลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่1969เป็นเนื้อที่6ไร่อันมีประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยแบ่งที่ดิน6ไร่ได้หรือไม่ซึ่งไม่ใช่ประเด็นที่ศาลวินิจฉัยแล้วไม่เป็นฟ้องซ้ำตามป.วิ.พ.มาตรา148 หลังจากเจ้ามรดกตายมีการแบ่งปันมรดกโดยทายาทต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัดทั้งนี้โจทก์เข้าครอบครองที่ดิน6ไร่ของที่ดินโฉนดที่1969โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ร่วมในโฉนดดังกล่าวได้และมิใช่เป็นการฟ้องคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754ด้วย
ย่อยาว
โจทก์ ทั้ง เจ็ด ฟ้อง ขอให้ บังคับ ทายาทโดยธรรม ของ จำเลย ที่ 1และ จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 7 จดทะเบียน ลงชื่อ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ใน โฉนด ที่1969 เป็น เนื้อที่ จำนวน 6 ไร่ หาก ไม่ไป ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทนการแสดง เจตนา และ ให้ ขับไล่ จำเลย ที่ 7 พร้อม บริวาร ออกจาก ที่ดินของ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ดังกล่าว
จำเลย ทั้ง เจ็ด ให้การ ว่า โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 3 ได้ ขอ อาศัยอยู่ ใน ที่ดินพิพาท ของ จำเลย ที่ 7 ฟ้องโจทก์ เป็น ฟ้องซ้ำ กับ คดีแพ่งหมายเลขแดง ที่ 49/2512 ของ ศาลชั้นต้น และ ขาดอายุความ 1 ปี นับแต่เจ้ามรดก ถึงแก่ความตาย ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง เจ็ด ไป จดทะเบียน ใส่ ชื่อ โจทก์ทั้ง เจ็ด ลง ใน โฉนด ที่ 1969 ตั้ง อยู่ ที่ แขวง คู้ฝั่งเหนือ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 6 ไร่ ที่ สำนักงาน ที่ดิน กรุงเทพมหานครสาขา มีนบุรี หาก จำเลย ทั้ง เจ็ด ไม่ไป ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การ แสดง เจตนา ให้ จำเลย ที่ 7 และ บริวาร ออก ไป จาก ที่ดิน ดังกล่าว เฉพาะ ส่วนของ โจทก์ ทั้ง เจ็ด
จำเลย ทั้ง เจ็ด อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์ ทั้ง เจ็ด
ก่อน ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง รับ ฎีกา ของ โจทก์ ทั้ง เจ็ด โจทก์ ที่ 6ถึงแก่กรรม นาง ฮานีฟะ สอนเขียว ทายาท ของ โจทก์ ที่ 6 ยื่น คำร้อง ขอ เข้า เป็น คู่ความ แทน ศาลชั้นต้น อนุญาต
โจทก์ ทั้ง เจ็ด ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ ในเบื้องต้น ว่า โจทก์ ทั้ง เจ็ด และ จำเลย ที่ 7 เป็น บุตร ของ นาย หมัด สอนเขียว และนางหนับ สอนเขียว นางหนับ สอนเขียว เป็น บุตร ของ นาย หมัด โพธิ์โซ๊ะ และนางแมะ โพธิ์โซ๊ะหรือสะแน เมื่อ นาง แมะ โพธิ์โซ๊ะหรือสะแน ถึงแก่ความตาย แล้ว นาย หมัด โพธิ์โซ๊ะ ได้ นาง ติยะหรือแมะ โพธิ์โซ๊ะ เป็น ภริยา อีก คนหนึ่ง มี บุตร ด้วยกัน 5 คน คือ นาง เฟาะ โพธิ์โซ๊ะ จำเลย ที่ 3 ถึง ที่ 5และ นาย ชู โพธิ์โซ๊ะ นายชู โพธิ์โซ๊ะ ถึงแก่ความตาย แล้ว จำเลย ที่ 2 เป็น บุตร นาย ชู โพธิ์โซ๊ะ ส่วน จำเลย ที่ 6 เป็น บุตร ของ นาง เฟาะ โพธิ์โซ๊ะ นายหมัด โพธิ์โซ๊ะ ถึงแก่ความตาย มี ทรัพย์มรดก คือ ที่ดิน ตาม โฉนด ที่ 1969 ตำบล คู้ฝั่งเหนือ (บ้านคู่ฝั่งเหนือ) อำเภอ หนองจอก จังหวัด พระนคร ซึ่ง ตั้ง อยู่ ที่ แขวง คู้ฝั่งเหนือ เขต หนองจอก กรุงเทพมหานคร ตาม สำเนา โฉนด ที่ดิน เอกสาร หมาย จ. 2ที่ดินพิพาท เนื้อที่ 6 ไร่ เป็น ส่วน หนึ่ง ของ ที่ดิน โฉนด ที่ 1969 ตามแผนที่ พิพาท เอกสาร หมาย จ. 4 คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของโจทก์ ทั้ง เจ็ด ว่า ฟ้อง ของ โจทก์ ทั้ง เจ็ด เป็น ฟ้องซ้ำ กับ คดีแพ่งหมายเลขแดง ที่ 49/2512 ของ ศาลชั้นต้น หรือไม่ ได้ความ ว่า โจทก์ทั้ง เจ็ด เคย ฟ้อง ฝ่าย จำเลย ทั้ง เจ็ด ว่า ที่ดิน โฉนด ที่ 1969 ตั้ง อยู่แขวง คู้ฝั่งเหนือ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 42 ไร่ 2 งาน 50 ตารางวา เป็น มรดก ของ นาย หมัด โพธิ์โซ๊ะ ตกทอด ได้ แก่ โจทก์ ทั้ง เจ็ด เนื้อที่ 23 ไร่ 1 งาน 17 ตารางวา เศษ ขอให้ บังคับฝ่าย จำเลย ทั้ง เจ็ด แบ่ง ที่ดิน ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ตามคดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 49/2512 ของ ศาลชั้นต้น คดีถึงที่สุด โดยศาลฎีกา วินิจฉัย สรุป ได้ว่า เมื่อ นาย หมัด โพธิ์โซ๊ะ ตาย แล้ว บรรดา ทายาท ต่าง ได้ เข้า ครอบครอง ที่ดินพิพาท เป็น ส่วนสัด ที่ดินนอกนั้น ฝ่าย จำเลย ทั้ง เจ็ด เป็น ผู้ครอบครอง โจทก์ ทั้ง เจ็ด ฟ้องคดีเมื่อ นาย หมัด โพธิ์โซ๊ะ ตาย เกินกว่า 1 ปี ที่ดิน มรดก นอกจาก ที่ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ครอบครอง จึง ขาดอายุความ ตาม ประมวล กฎหมาย แพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 1754 โจทก์ ทั้ง เจ็ด คง ได้ เท่าที่ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ครอบครองอยู่ ใน จำนวน 6 ไร่ นั้น พิพากษายืน ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ที่ ให้ยกฟ้อง ตาม สำเนา คำพิพากษา ศาลฎีกา เอกสาร หมาย จ. 1 หรือ ล. 4 โจทก์ทั้ง เจ็ด ยื่น คำร้องขอ ให้ ศาล ออกคำบังคับ ฝ่าย จำเลย ทั้ง เจ็ด แบ่งที่ดิน จำนวน 6 ไร่ ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ยกคำร้องศาลอุทธรณ์ และ ศาลฎีกา พิพากษายืน ตาม สำเนา คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เอกสาร หมาย ล. 5 และ ล. 6 เห็นว่า แม้ ใน คดี ก่อน กับ คดี นี้จะ เป็น คู่ความ ราย เดียว กัน แต่ ใน คดี ก่อน ประเด็น ที่ ว่า โจทก์ ทั้ง เจ็ดมีสิทธิ ขอให้ แบ่ง ที่ดินพิพาท เนื้อที่ 6 ไร่ หรือไม่ ศาลฎีกา พิพากษายกฟ้อง โดย ไม่ได้ วินิจฉัย ว่า โจทก์ ทั้ง เจ็ด มีสิทธิ ที่ จะ เรียกร้องให้ ฝ่าย จำเลย ทั้ง เจ็ด แบ่ง ที่ดินพิพาท เนื้อที่ 6 ไร่ อันเป็น ที่ดินบางส่วน ที่ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ฟ้อง ได้ หรือไม่ คง วินิจฉัย ไว้ แต่เพียง ว่าโจทก์ ทั้ง เจ็ด มีสิทธิ ได้ ที่ดินพิพาท ใน คดี ก่อน เพียงใด เท่าใดโจทก์ ทั้ง เจ็ด ก็ ได้ ดำเนินการ ขอให้ บังคับคดี ใน ส่วน ของ ตน ตามคำวินิจฉัย ของ ศาลฎีกา แล้วแต่ ศาล ก็ ไม่อาจ ออกคำบังคับ ให้ ได้ ดังนั้นฟ้อง ของ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ใน คดี นี้ ที่ ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง เจ็ด จดทะเบียนลงชื่อ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ใน โฉนด ที่ 1969 เนื้อที่ 6 ไร่ อันเป็น ที่ดินพิพาท กับ ขอให้ ขับไล่ จำเลย ที่ 7 และ บริวาร ออก ไป จาก ที่ดิน ของโจทก์ ทั้ง เจ็ด ดังกล่าว จึง ไม่ใช่ ประเด็น ที่ ศาล วินิจฉัย แล้ว อัน จะ เป็นการ ต้องห้าม มิให้ โจทก์ ทั้ง เจ็ด นำ มา ฟ้อง จำเลย ทั้ง เจ็ด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 คำพิพากษา ศาลฎีกาที่ ฝ่าย โจทก์ และ ฝ่าย จำเลย อ้าง ข้อเท็จจริง ไม่ ตรง กับ คดี นี้ ที่ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย
ปัญหา ที่ ว่า ฟ้อง ของ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ขาดอายุความ แล้ว หรือไม่โจทก์ ทั้ง เจ็ด ครอบครอง ที่ดินพิพาท จน ได้ กรรมสิทธิ์ ตาม กฎหมาย แล้วหรือไม่ และ จำเลย ที่ 7 กระทำ ละเมิด ตาม ฟ้อง หรือไม่ นั้น ศาลอุทธรณ์ยัง ไม่ได้ วินิจฉัย ศาลฎีกา เห็นสมควร วินิจฉัย ไป ทีเดียว โดย ไม่ต้องย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ใหม่
ปัญหา ว่า ฟ้อง ของ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ขาดอายุความ แล้ว หรือไม่ ในข้อ นี้ จำเลย ทั้ง เจ็ด ให้การ ว่า ฟ้อง ของ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ขาดอายุความแล้ว เนื่องจาก โจทก์ ฟ้องคดี เกินกว่า 1 ปี นับแต่ เจ้ามรดก (นาย หมัด โพธิ์โซ๊ะ ) ถึงแก่ความตาย เพราะ คดี สืบเนื่อง มาจาก การ ฟ้อง ขอ แบ่ง มรดก ใน คดี เดิม และ เป็น ทรัพย์สิน พิพาท อัน เดียว กัน เห็นว่าโจทก์ ทั้ง เจ็ด ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง เจ็ด ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาทโดย การ ครอบครองปรปักษ์ ที่ดินพิพาท เนื้อที่ 6 ไร่ แม้ ที่ดินพิพาทจะ เป็น ทรัพย์มรดก แต่ ก็ เป็น ทรัพย์มรดก ที่ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ผู้เป็นทายาท ได้ มา โดย การ เข้า ครอบครอง เป็น ส่วนสัด แล้ว ซึ่ง เป็น การ แบ่งปันทรัพย์มรดก อย่างหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750วรรคหนึ่ง โจทก์ ทั้ง เจ็ด ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลยทั้ง เจ็ด ลงชื่อ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ใน โฉนด ที่ 1969จึง มิใช่ เป็น การ ฟ้องคดี มรดก ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 ฟ้อง ของ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ไม่ขาดอายุความ ”
พิพากษากลับ ให้ บังคับคดี ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น