แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
คำให้การชั้นสอบสวนและบันทึกการชี้ตัวจำเลยจากภาพถ่ายในชั้นสอบสวนของผู้เสียหายศาลรับฟังเป็นข้อประกอบการพิจารณาได้เพราะไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้ศาลรังฟังส่วนจะรับฟังได้เพียงใดหรือไม่สุดแล้วแต่เหตุผลของแต่ละเรื่องไป. คดีพยายามฆ่าเหตุเกิดเวลากลางวันขณะที่ผู้เสียหายขึ้นรถยนต์โดยสารประจำทางทางประตูด้านหน้าคนร้ายซึ่งนั่งอยู่ด้านหลังคนขับก็ยิงผู้เสียหาย2นัดได้รับอันตรายสาหัสในชั้นสอบสวนผู้เสียหายให้การว่าเห็นหน้าคนร้ายและจำได้ชัดเจนและชี้ตัวยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้ายแต่ก่อนเกิดเหตุมีการขว้างปากันระหว่างผู้โดยสารที่นั่งอยู่ด้านหลังรถกับพวกที่ยืนคอยอยู่ที่ป้ายรถซึ่งน่าจะเกิดการชุลมุนวุ่นวายเพราะผู้โดยสารแย่งกันขึ้นลงและหลบหนีจากรถผู้เสียหายไม่เคยรู้จักหรือเห็นหน้าจำเลยมาก่อนได้เห็นคนร้ายในขณะที่ตนถูกยิงเพียงไม่ถึง30วินาทีแล้วก็เซจากรถไปที่ชี้ตัวจำเลยก็ชี้จากภาพถ่ายหลังจากเกิดเหตุแล้วถึง2เดือนในชั้นพิจารณาผู้เสียหายเบิกความว่าจำคนร้ายไม่ได้ไม่ทราบว่าคนร้ายเป็นชายหรือหญิงคำเบิกความปฏิเสธคำให้การในชั้นสอบสวนและการชี้ตัวเช่นนี้น่าจะตรงกับความจริง.พยานโจทก์นอกจากนี้คงมีแต่คำให้การในชั้นสอบสวนของส.ท.และช.กับบันทึกการชี้ตัวจำเลยของส.แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้ตัวมาเบิกความจึงเป็นเพียงพยานบอกเล่าซึ่งจำเลยไม่มีโอกาสซักค้านแม้จำเลยจะรับสารภาพชั้นจับกุมและสอบสวนแต่ให้การต่อศาลปฏิเสธเสียแล้วพยานหลักฐานของโจทก์จึงไม่พอฟังลงโทษจำเลย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอ ให้ ลงโทษ จำเลย ฐาน มี เครื่อง กระสนุปืน และ พา อาวุธปืน ไป ใน เมือง หมู่บ้าน โดย ไม่ มี เหตุ สมควร และ ฐาน พยายาม ฆ่านาย นุภาพ แทบทับ
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ลงโทษ จำคุก จำเลย ฐาน พยายาม ฆ่า ส่วน ข้อหา อื่นให้ ยก
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง เป็น ยุติ เบื้องต้น จาก การ นำสืบของ โจทก์ จำเลย ว่า วัน เกิดเหตุ เวลา ประมาณ 15.30 นาฬิกา ขณะ ที่นาย นุภาพ แทบทับ ผู้เสียหาย กำลัง ขึ้น ประตู หน้า รถยนต์ โดยสารประจำทาง สาย 26 ก็ ถูก คนร้าย ยิง ที่ ท้อง กระสุน ฝังใน ได้ รับอันตราย สาหัส มี บาดแผล ตาม รายงาน การ ชันสูตร ของ แพทย์ ท้ายฟ้องปัญหา วินิจฉัย ใน ชั้น นี้ มี ว่า จำเลย เป็น คนร้าย ยิง ผู้เสียหายหรือไม่ โจทก์ มี นาย นุภาพ แทบทับ ผู้เสียหาย เป็น ประจักษ์พยาน มาเบิกความ ว่า จำหน้า คนร้าย ไม่ ได้ ไม่ ทราบ ว่า คนร้าย เป็น ชาย หรือหญิง แตกต่าง กับ คำให้การ ของ ผู้เสียหาย ใน ชั้นสอบสวน ซึ่งผู้เสียหาย ให้การ ว่า เห็นหน้า คนร้าย และ จำได้ ชัดเจน หาก เห็นอีกจำได้ โดย ได้ ยืนยืน ชี้ตัว จำเลย จาก ภาพถ่าย ว่า เป็น คนร้าย เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2526 ดังที่ ปรากฏ จาก คำให้การ ใน ชั้นสอบสวน และบันทึก การ ชี้ตัว จาก ภาพถ่าย เอกสาร หมาย จ.2 ถึง จ.5 ซึ่ง ศาล รับฟังได้ เพราะ ไม่มี บทบัญญัติ ของ กฎหมาย ห้าม มิให้ ศาล รับฟัง คำให้การชั้น สอบสวน เป็น ข้อ ประกอบ การ พิจารณา ของ ศาล ส่วน จะ รับ ฟัง ได้เพียงไร หรือไม่ นั้น สุดแล้ว แต่ เหตุผล ของ แต่ละ เรื่อง ไป สำหรับคำให้การ ใน ชั้น สอบสวน ของ ผู้เสียหาย ใน คดีนี้ เห็น ว่า แม้ผู้เสียหาย จะ ได้ยิน เสียง ดัง แชะ ก่อน เงยหน้า ขึ้น มอง ไป ทาง เสียงนั้น จนกระทั่ง เห็น อาวุธปืน ใน มือ ของ คนร้าย ก็ ตาม แต่ ก่อนเกิดเหตุ มี ผู้โดยสาร อยู่ ทั้ง ที่ บน รถ และ ที่ ป้ายรถ เมื่อ รถจอด ก็ มี การ ขว้าง ปา กัน ระหว่าง ผู้โดยสาร ที่ นั่ง อยู่ ด้าน หลังรถ กับพวก ยืน คอย ที่ ป้าย รถ ซึ่ง น่า จะ เกิด การ ชุลมุน วุ่นวายขึ้น เพราะ ผู้โดยสาร ต่าง แย่งกัน ขึ้น ลง และ หลบหนี จาก รถ ซึ่งเป็น เหตุการณ์ ที่ เกิดขึ้น ฉุกละหุก ใน ทันที ทันใด ประกอบ กับผู้เสียหาย กับ จำเลย ไม่ เคย รู้จัก และ เห็น หน้า กัน มา ก่อน ระยะเวลา ที่ เห็น ก็ เพียง ประเดี๋ยว เดียว ไม่ ถึง 30 วินาที ภายหลังถูก ยิง แล้ว ผู้เสียหาย ได้ เซ จาก รถ ไป ทันที จึง น่าเชื่อ ว่าผู้เสียหาย เห็น แต่ จำ คนร้าย ไม่ ได้ เพราะ หาก จำ ได้ จริง แล้วพนักงาน สอบสวน น่าง จะ ให้ ชี้ ตัว จำเลย ใน วันนั้น มิใช่ เพิ่ง มาให้ ชี้ ตัว จาก ภาพถ่าย ภายหลัง เกิดเหตุ ถึง 2 เดือน ที่ ผู้เสียหายเบิกความ ปฏิเสธ คำให้าร ใน ชั้น สอบสวน และ การ ชี้ตัว จำเลย จากภาพถ่าย โดย ว่า จำ คนร้าย ไม่ ได้ นั้น จึง น่า จะ ถูกต้อง และ ตรงกับความจริง พยาน โจทก์ นอกจากนี้ คง มี คำให้การ ใน ชั้น สอบสวน ของนาย สุวิทย์ เต็งทอง นาย ทนงศักดิ์ ศรพล นาย ธรรมนูญ ป้องปัดพาล และบันทึก การ ชี้ ตัว จำเลย ของ นาย สุวิทย์ ตาม เอกสาร หมาย จ.10 ถึงจ.13 ที่ โจทก์ ไม่ ได้ ตัว มา เบิกความ ที่ ศาล ก็ เป็น พยาน บอกเล่าไม่ ให้ โอกาส จำเลย ซักค้าน และ คำ รับสารภาพ ชั้น จับกุม และ สอบสวนของ จำเลย ซึ่ง จำเลย ยัง ปฏิเสธ ความจริง อยู่ จึง มี น้ำหนัก ไม่พอฟัง ลงโทษ จำเลย ที่ ศาลล่าง ทั้งสอง พิพากษา ลงโทษ จำเลย มา นั้น ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา จำเลย ฟัง ขึ้น
พิพากษา กลับ ให้ ยกฟ้อง