คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

เหตุจำเป็นที่ไม่อาจเสนอใบลาหรือไม่อาจรอรับอนุญาตให้ลากิจส่วนตัวได้ตามข้อบังคับของจำเลยหมายถึงเหตุที่ลูกจ้างไม่สามารถยื่นใบลาก่อนหยุดงานหรือยื่นใบลาไว้แล้วแต่ไม่สามารถรอฟังคำสั่งอนุญาตของจำเลยได้มิได้หมายถึงความสำคัญหรือความจำเป็นของธุรกิจการงานซึ่งลูกจ้างจะต้องไปกระทำมิฉะนั้นข้อบังคับจะไร้ผลเพราะในกรณีที่ลูกจ้างได้รับหนังสือหรือโทรเลขเรียกตัวกลับบ้านโดยมิได้ระบุรายละเอียดของธุรกิจการงานหรือระบุรายละเอียดอันเป็นเท็จลูกจ้างก็ไม่อาจหยุดงานไปก่อนได้ดังนั้นการที่โจทก์ยื่นใบลากิจส่วนตัวต่อจำเลยโดยแนบโทรเลขซึ่งได้รับจากญาติซึ่งแจ้งให้โจทก์กลับบ้านด่วนนั้นเป็นการยื่นใบลาพร้อมทั้งชี้แจงเหตุจำเป็นซึ่งไม่อาจรอฟังคำสั่งอนุญาตจากจำเลยถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลยแล้วแม้ธุรกิจการงานที่โจทก์ลาไปทำนั้นเป็นเพียงไปกู้เงินให้พี่ชายไปทำงานต่างประเทศก็เป็นเรื่องที่โจทก์เพิ่งทราบภายหลังจำเลยจะถือเป็นข้ออ้างไม่อนุมัติใบลาของโจทก์ไม่ได้. จำเลยไม่อนุมัติใบลาของโจทก์โดยถือว่าโจทก์ขาดงานและมีคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์และตัดค่าจ้างเป็นเงิน348บาทโดยไม่ชอบด้วยระเบียบข้อบังคับศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งและให้จำเลยจ่ายเงินค่าจ้างที่ตัดได้ส่วนดอกเบี้ยโจทก์มีสิทธิได้เพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224เพราะเป็นเงินค่าจ้างซึ่งจำเลยตัดโดยมีกรณีกล่าวหาว่าโจทก์กระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยไม่ใช่เงินค่าจ้างซึ่งจำเลยผิดนัดในการจ่ายตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ31เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดวันใดหรือโจทก์ทวงถามจำเลยแล้วหรือไม่ศาลให้รับผิดตั้งแต่วันฟ้อง จำเลยถือเอาเหตุที่โจทก์ขาดงานครั้งนี้เป็นเหตุผลหนึ่งประกอบการพิจารณาไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีให้โจทก์เมื่อเหตุดังกล่าวไม่อาจถือเป็นความผิดของโจทก์การที่จำเลยนำเหตุนี้ไปประกอบการพิจารณาเป็นโทษแก่โจทก์ย่อมเป็นการไม่ชอบแต่เมื่อตัดเหตุดังกล่าวออกแล้วยังมีเหตุอื่นอีกหลายประการที่จำเลยใช้พิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีจำเลยจึงต้องพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีของโจทก์ใหม่.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ลูกจ้าง ประจำ ของ จำเลย ทำ หน้าที่ พนักงานขับรถ โดยสาร ประจำทาง สาย 111 ได้ รับ ค่าจ้าง วันละ 87 บาท เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2528 โจทก์ ได้ รับ โทรเลข จาก ญาติ ซึ่ง อยู่ ที่ต่างจังหวัด แจ้ง ให้ โจทก์ กลับ บ้าน ด่วน โจทก์ จึง ยื่น ใบลา ขอลากิจ ต่อ จำเลย นับ ตั้งแต่ วันที่ 25 ถึง วันที่ 28 เมษายน 2527พร้อมทั้ง แนบ โทรเลข ไป ด้วย จากนั้น โจทก์ หยุดงาน และ เดินทาง ไปต่างจังหวัด ต่อมา ปรากฏ ว่า จำเลย ไม่ อนุมัติ ใบลา ของ โจทก์ และถือว่า โจทก์ ขาดงาน กับ มี คำสั่ง ลงโทษ โจทก์ ทาง วินัย เมื่อ วันที่12 พฤษภาคม 2528 ด้วยการ ภาคทัณฑ์ และ ตัด ค่าจ้าง เป็น เงิน 348 บาทการ ที่ จำเลย ไม่ อนุมัติ ใบลา ของ โจทก์ และ ลงโทษ ดังกล่าว เป็น การกระทำ ที่ ไม่ ชอบ ด้วย ระเบียบ ข้อบังคับ ของ จำเลย ฉบับที่ 45 และฉบับที่ 46 ซึ่ง กำหนด ให้ สิทธิ โจทก์ ที่ จะ ลากิจ ได้ ปี ละ 7 วันและ มี สิทธิ ได้ รับ ค่าจ้าง เต็ม เมื่อ ได้ เสนอ ใบลา ถูกต้อง ตามระเบียบ ข้อบังคับ แล้ว นอกจากนี้ เมื่อ ถึง กำหนด ปรับ ค่าจ้าง ประจำปี 2529 ซึ่ง เริ่ม ตั้งแต่ เดือน ตุลาคม 2528 จำเลย ไม่ ปรับ ค่าจ้าง ให้โจทก์ 1 ขั้น ตาม ระเบียบ คือ จาก วันละ 87 บาท เป็น วันละ 93 บาทอ้าง ว่า โจทก์ ขาด งาน ตาม วัน ดังกล่าว ซึ่ง เป็น ข้ออ้าง ที่ ไม่ ชอบเพราะ ถือ ไม่ ได้ ว่า โจทก์ ขาดงาน โจทก์ มี สิทธิ ได้ รับ การ ปรับอัตรา ค่าจ้าง ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2528 ขอ ให้ ศาล พิพากษา ให้จำเลย อนุมัติ การ ลากิจ ของ โจทก์ นับ ตั้งแต่ วันที่ 25 ถึง วันที่28 เมษายน 2528 ให้ เพิกถอน คำสั่ง ของ จำเลย ที่ สั่ง ลงโทษ โจทก์ให้ จำเลย จ่าย ค่าจ้าง จำนวน 348 บาท พร้อมด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ15 ต่อปี นับแต่ วันที่ 12 พฤษภาคม 2528 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ และ ให้ จำเลย ปรับ ค่าจ้าง ประจำปี พร้อมทั้ง จ่าย ค่าจ้าง ให้ โจทก์ใน อัตรา วันละ 93 บาท นับแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2528 เป็นต้นไป
จำเลย ให้การ ว่า การ ที่ จำเลย มี คำสั่ง ลงโทษ โจทก์ ด้วย การตักเตือน และ ตัด ค่าจ้าง นั้น เป็น เพราะ เมื่อ วันที่ 24 เมษายน 2528โจทก์ ยื่น ใบลา ขอ ลากิจ ต่อ นาย สุพจน์ พนักงาน จ่าย งาน ของ จำเลยโดย อ้าง เหตุ เพียง ว่า ได้ รับ โทรเลข ทาง บ้าน ให้ กลับ ด่วน แต่มิได้ แจ้ง เหตุ ว่า มี เรื่อง ด่วน สำคัญ ประการ ใด บ้าง จาก นั้นใน วัน รุ่งขึ้น โจทก์ หยุดงาน ไป ทันที ครั้น โจทก์ กลับ มา ปฏิบัติงาน ตาม ปกติ นาย ประสิทธิ ผู้จัดการ สาย 111 ซึ่ง เป็น ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น เรียก โจทก์ ไป สอบถาม ถึง ความ จำเป็น ใน การ ลาหยุด งานกะทันหัน เพื่อ เสนอ เหตุผล ถึง ผู้บังคับบัญชา ประกอบการ พิจารณาใบลา ของ โจทก์ แต่ โจทก์ ปฏิเสธ ที่ จะ ให้ ปากคำ ต่อมา นาย ใหญ่หัวหน้า แผนก เรียก โจทก์ ไป สอบถาม โจทก์ แจ้งว่า โจทก์ ไป กู้เงินให้ พี่ชาย ไป ทำงาน ที่ ต่างประเทศ ผู้บังคับบัญชา พิจารณา แล้วเห็นว่า การ ที่ โจทก์ หยุดงาน ไป กู้เงิน ให้ พี่ชาย ไป ทำงาน ที่ต่างประเทศ ไม่ ใช่ เรื่อง จำเป็น เร่งด่วน ที่ โจทก์ จะ หยุดงาน ไปก่อน ได้ รับ อนุมัติ ให้ ลากิจ ตาม ระเบียบ ข้อบังคับ ของ จำเลยว่าด้วย การ ลา ฉบับที่ 45 ข้อ 11 วรรคท้าย จึง ไม่ อนุมัติ ใบลา ของโจทก์ และ ถือว่า โจทก์ ขาดงาน พร้อมทั้ง มี คำสั่ง ลงโทษ โจทก์ เป็นการ ปฏิบัติ ถูกต้อง ตาม ระเบียบ ข้อบังคับ ของ จำเลย แล้ว จำเลย ไม่ต้อง ยกเลิก คำสั่ง และ คืน ค่าจ้าง ให้ แก่ โจทก์ สำหรับ การ เลื่อนขั้น เงินเดือน ประจำปี นั้น เป็น อำนาจ และ อยู่ ใน ดุลพินิจ ของจำเลย ซึ่ง ต้อง พิจารณา หลาย เหตุ ประกอบ กัน เช่น ความตั้งใจ ในการ ทำงาน ความ อุตสาหะ บากบั่น การ ลาหยุด งาน และ ความประพฤติ อื่นๆเป็นต้น การ ขาดงาน เป็น เพียง เหตุ หนึ่ง เท่านั้น แม้ โจทก์ จะ ไม่ขาดงาน ถ้า ผล ของ งาน ไม่ ได้ มาตรฐาน จำเลย ก็ อาจ ไม่ เลื่อน ขั้นเงินเดือน ให้ แก่ โจทก์ ได้ ไม่ ใช่ อยู่ ใน อำนาจ การ พิจารณา ของ ศาล ขอ ให้ ยกฟ้อง โจทก์
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า ข้อบังคับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ฉบับที่ 45 ว่าด้วย การลา และ การ จ่ายเงินเดือน หรือ ค่าจ้าง ระหว่าง ลา พ.ศ. 2524 ข้อ 11.2 วรรคสอง ระบุ ว่า ‘การ ขออนุญาต ลากิจ ส่วนตัว ต้อง เสนอ ใบลา ต่อ ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น ก่อน วัน เริ่ม ลา พอสมควร และ ต้อง ได้ รับ อนุญาต ก่อน แล้วจึง หยุด งาน เพื่อ กิจส่วนตัว ได้ แต่ ใน กรณี ที่ มี เหตุ จำเป็นไม่อาจ เสนอ ใบลา หรือ ไม่อาจ รอ รับ อนุญาต ได้ จะ เสนอ ใบลา พร้อมทั้งชี้แจง เหตุ จำเป็น ต่อ ผู้บังคับบัญชา ชั้นต้น ภายใน 3 วัน หลังจากหยุด งาน เพื่อ กิจส่วนตัว ไป แล้ว แต่ ถ้า ได้ มา ปฏิบัติ งาน ภายใน7 วัน หลังจาก หยุดงาน ไป ให้ เสนอ ใบลา วันนั้น’ ตาม ข้อบังคับดังกล่าว พอ แยก ขั้นตอน วิธี การ ลากิจ ส่วนตัว ได้ เป็น สอง กรณีคิอ กรณี แรก การ ลากิจ ส่วนตัว นั้น ลูกจ้าง ต้อง เสนอ ใบลา ต่อผู้บังคับบัญชา ชั้นต้น ก่อน เริ่ม วันลา พอสมควร และ ต้อง ได้ รับอนุญาต ก่อน จึง จะ หยุดงาน ได้ และ กรณี ที่ สอง หาก มี เหตุ จำเป็นซึ่ง ไม่ อาจ เสนอ ใบลา หรือ เสนอ ใบลา ไว้ แล้ว แต่ ไม่อาจ รอ ฟังคำสั่ง อนุญาต ได้ ก็ ให้ หยุดงาน ไป ก่อน แต่ เมื่อ หยุดงาน ไป แล้วต้อง เสนอ ใบลา พร้อมทั้ง ชี้แจง เหตุ จำเป็น ภายใน 3 วัน นับแต่ วันหยุดงาน หรือ นับแต่ วัน มา ทำงาน ตาม ปกติ แล้วแต่ กรณี คำว่า ‘เหตุจำเป็น’ ตาม ข้อบังคับ ฉบับนี้ ย่อม หมายถึง เหตุ ที่ ลูกจ้าง ไม่สามารถ ยื่น ใบลา ก่อน หยุดงาน หรือ ยื่น ใบลา ไว้ แล้ว แต่ ไม่ สามารถรอ ฟัง คำสั่ง อนุญาต ของ จำเลย ได้ มิได้ หมายถึง ความ สำคัญ หรือ ความจำเป็น ของ ธุรกิจ การงาน ซึ่ง ลูกจ้าง จะ ต้อง ไป กระทำ หาก หมายถึงความ สำคัญ หรือ ความ จำเป็น ของ ธุรกิจ การงาน ซึ่ง ลูกจ้าง จะ ต้องไป กระทำ แล้ว ข้อบังคับ ก็ จะ ไร้ผล เพราะ กรณี ที่ ลูกจ้าง ได้ รับหนังสือ หรือ โทรเลข เรียก ตัว ให้ กลับบ้าน โดย มิได้ ระบุ รายละเอียดของ ธุรกิจ การงาน หรือ ระบุ รายละเอียด การงาน อัน เป็น เท็จ ลูกจ้างก็ ไม่อาจ หยุดงาน ไป ก่อน ได้ เพราะ ลูกจ้าง ไม่ สามารถ ทราบ ล่วงหน้าว่า การงาน หรือ ธุรกิจ นั้น เป็น เรื่อง อะไร มี ความ จำเป็น หรือเร่งด่วน จะ ต้อง กระทำ มาก น้อย เพียงใด ดังนั้น การ ที่ โจทก์ ยื่นใบลา ขอ ลากิจ ส่วนตัว ต่อ จำเลย โดย แนบ โทรเลข ซึ่ง ได้ รับ จาก ญาติซึ่ง แจ้ง ให้ โจทก์ กลับ บ้าน ด่วน นั้น เป็น การ ยื่น ใบลา พร้อมทั้งชี้แจง เหตุ จำเป็น ซึ่ง ไม่อาจ รอ ฟัง คำสั่ง อนุญาต จาก จำเลย ถูกต้องตาม ข้อบังคับ ดังกล่าว ของ จำเลย แล้ว แม้ จะ ปรากฏ ว่า ธุรกิจ การงานซึ่ง โจทก์ ต้อง กระทำ นั้น เป็น เพียง ไป กู้เงิน ให้ พี่ชาย ไป ทำงานที่ ต่างประเทศ ก็ ตาม เป็น เรื่อง ที่ โจทก์ เพิ่ง ทราบ ภายหลัง จากการ หยุดงาน ไป แล้ว จำเลย จะ ถือ เหตุ นี้ เป็น ข้ออ้าง ไม่ อนุมัติใบลา ของ โจทก์ หา ได้ ไม่ เมื่อ ไม่ มี เหตุ อื่น ซึ่ง จำเลย จะ ไม่อนุมัติ ใบลา ของ โจทก์ การ ที่ จำเลย ไม่ อนุมัติ ใบลา ของ โจทก์ โดยถือ ว่า โจทก์ ขาด งาน และ มี คำสั่ง ลงโทษ โจทก์ นั้น จึง เป็น การไม่ ชอบ ด้วย ระเบียบ ข้อบังคับ ศาล ชอบ ที่ จะ พิพากษา เพิกถอน คำสั่งและ ให้ จำเลย คืนเงิน ค่าจ้าง จำนวน 348 บาท สำหรับ ดอกเบี้ย ซึ่งโจทก์ เรียกร้อง ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่ วันที่ 12 พฤษภาคม2528 นั้น เห็นว่า เงิน จำนวนนี้ เป็น ค่าจ้าง ซึ่ง จำเลย ตัด ค่าจ้างกรณี กล่าวหา ว่า โจทก์ กระทำ ผิด ต่อ ระเบียบ ข้อบังคับ ของ จำเลยไม่ ใช่ เงิน ซึ่ง จำเลย ผิดนัด ใน การ จ่าย ค่าจ้าง ตาม ที่ กำหนดใน ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 โจทก์ จึงมี สิทธิ เรียก ดอกเบี้ย ได้ เพียง ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 และ ไม่ ปรากฏ ว่า จำเลยผิดนัด วันใด หรือ โจทก์ ทวงถาม จำเลย แล้ว หรือไม่ ศาลฎีกา จึง ให้จำเลย รับผิด ตั้งแต่ วันฟ้อง
สำหรับ การ เลื่อนขั้น เงินเดือน ประจำปี นั้น ข้อเท็จจริง ได้ความ ว่า ใน การ พิจารณา เลื่อน ขั้น เงินเดือน ประจำปี ของ โจทก์ นั้นจำเลย ถือ เอา เหตุ ที่ โจทก์ ขาด งาน ครั้ง นี้ เป็น เหตุผล หนึ่งประกอบ การ พิจารณา ไม่ เลื่อน ขั้น เงินเดือน ประจำปี ให้ แก่ โจทก์เมื่อ เหตุ ดังกล่าว ไม่อาจ ถือ เป็น ความผิด ของ โจทก์ การ ที่ จำเลยนำ เหตุ นี้ ไป ประกอบ การ พิจารณา ซึ่ง เป็น โทษ แก่ โจทก์ ย่อม เป็นการ ไม่ ชอบ อย่างไร ก็ ตาม เมื่อ ตัด เหตุ ดังกล่าว ออก แล้ว จำเลย ก็ยัง มี เหตุ อื่น อีก หลาย ประการ ใน การ พิจารณา เลื่อนขั้น เงินเดือนประจำปี ฉะนั้น จำเป็น ต้อง ให้ จำเลย พิจารณา การ เลื่อนขั้น เงินเดือนประจำปี ของ โจทก์ ใหม่ โดย พิจารณา เฉพาะ เหตุ อื่น ว่า โจทก์ มี สิทธิหรือ ควร ได้ รับ การ เลื่อนขั้น เงินเดือน ประจำปี 2528 ตาม ระเบียบข้อบังคับ ของ จำเลย หรือไม่
พิพากษา กลับ ให้ เพิกถอน คำสั่ง ของ จำเลย ที่ ไม่ อนุมัติ ใบลา ของโจทก์ โดย ถือ ว่า โจทก์ ได้ รับ อนุมัติ ให้ ลากิจ ตั้งแต่ วันที่25 ถึง วันที่ 28 เมษายน 2528 ให้ เพิกถอน คำสั่ง ที่ 179/2528 ของจำเลย ซึ่ง สั่ง ลงโทษ โจทก์ ให้ จำเลย จ่าย ค่าจ้าง จำนวน 348 บาทพร้อมด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ และ ให้ จำเลย พิจารณา การ เลื่อนขั้นเงินเดือน ประจำปี 2528 ของ โจทก์ ใหม่ ตาม นัย ที่ กล่าว ข้างต้น.

Share