แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่โจทก์เข้าไปก่อสร้างอาคารเพื่อรับเงินช่วยค่าก่อสร้างจากผู้เช่าอาคารขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนการเช่ากับผู้จองเช่าอาคารส่วนคดีซึ่งจำเลยอ้างนั้นโจทก์รับมอบอำนาจจากผู้จองเช่าอาคารฟ้องจำเลยขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนการเช่าโจทก์คดีนี้กับคดีที่ผู้จองเช่าอาคารเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยนั้นต่างกันด้วยฐานะบุคคลและฐานะสิทธิก็แยกแตกต่างกันจึงมิใช่โจทก์เดียวกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173(1)ส่วนคำขอบังคับท้ายฟ้องแม้จะเหมือนกันแต่ในชั้นบังคับคดีย่อมต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งไม่อาจบังคับซ้ำซ้อนกันอยู่แล้ว
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ซึ่ง เป็น เจ้าของ ที่ดิน ที่ โจทก์เข้า ไป ก่อสร้าง อาคาร เพื่อ รับ เงิน ช่วย ค่าก่อสร้าง จาก ผู้เช่า อาคารขอให้ บังคับ จำเลย ไป จดทะเบียน การ เช่า กับ ผู้ จอง เช่า อาคาร หาก ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา
จำเลย ให้การ และ ฟ้องแย้ง ว่า โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง โจทก์ก่อสร้าง อาคาร ไม่ เสร็จ ตาม สัญญา สิทธิ ใน การ เช่า อาคารพาณิชย์ตกเป็น ของ จำเลย ขอให้ ยกฟ้อง และ บังคับ ให้ โจทก์ ส่งมอบ อาคาร พิพาทคืน จำเลย
โจทก์ ให้การ แก้ฟ้อง แย้ง ว่า ฟ้องแย้ง เคลือบคลุม จำเลย ไม่มีอำนาจฟ้อง แย้ง ขอให้ ยกฟ้อง แย้ง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย จดทะเบียน การ เช่าให้ แก่ ผู้ จอง เช่า อาคาร ตาม คำขอ ท้ายฟ้อง มี กำหนด 25 ปี นับ ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2531 ซึ่ง เป็น วัน ครบ กำหนด ใน คำบอกกล่าวหาก ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลยคำขอ อื่น ให้ยก กับ ให้ยก ฟ้องแย้ง ของ จำเลย
โจทก์ และ จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย จดทะเบียน การ เช่า มีกำหนด ราย ละ 25 ปี นับแต่ วัน จดทะเบียน การ เช่า
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ปัญหา ที่ จำเลย ฎีกา ว่า คดี โจทก์ กับ คดี ที่ผู้ จอง เช่า ฟ้อง จำเลย เรื่อง ที่ นำ มา ฟ้อง และ มี คำขอบังคับ ให้ ปฎิบัติคือ ไป จดทะเบียน การ เช่า เป็น อย่างเดียว กัน เป็น ฟ้องซ้อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) นั้น เห็นว่าโจทก์ คดี นี้ กับ คดี ที่ ผู้ จอง เช่า เป็น โจทก์ ฟ้อง จำเลย นั้น ต่างกันทั้ง ด้วย ฐานะ บุคคล และ ฐานะ สิทธิ ก็ แยก แตกต่าง จาก กัน จึง มิใช่ โจทก์เดียว กัน ตาม บทบัญญัติ แห่งกฎหมาย ที่ จำเลย อ้าง ส่วน คำขอบังคับท้ายฟ้อง แม้ จะ เหมือนกัน แต่ ใน ชั้น บังคับคดี ย่อม ต้อง เป็น ไป ตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย ซึ่ง ไม่อาจ บังคับ ซ้ำซ้อน กัน อยู่ แล้ว
พิพากษายืน