คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 63/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์ทั้งสองแต่งงานอยู่กินเป็นสามีภรรยากันตั้งแต่ปี2476ก่อนประกาศใช้บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ.2477แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันก็เป็นสามีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์ทั้งสองจึงเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายมีอำนาจฟ้องแม้มิได้บรรยายในคำฟ้องว่าเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์ทั้งสองก็สามารถนำสืบถึงสถานภาพการสมรสของโจทก์ทั้งสองได้เพราะเป็นเรื่องรายละเอียดที่จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณาจึงไม่เป็นการนำสืบพยานหลักฐานนอกคำฟ้อง โจทก์ทั้งสองต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคนฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดฐานละเมิดมาในคำฟ้องเดียวกันจึงต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองรวม240,000บาทก็ถือว่าทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์และฎีกาของโจทก์แต่ละคนคือคนละ120,000บาทการที่จำเลยทั้งสองฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนไม่เกิน200,000บาทซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ม. ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยทั้งสองและไม่ได้กระทำในทางการที่จ้าง ม. ไม่ได้เป็นฝ่ายประมาทและค่าเสียหายที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์แต่ละคนสูงเกินไปเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและการกำหนดค่าเสียหายของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง

ย่อยาว

โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง สอง เป็น บิดา มารดา ของ เรือโท หญิง จิรภา กาญจนวิสุทธิ์ ผู้ตาย จำเลย ที่ 2 เป็น หุ้นส่วน ผู้จัดการ ของ จำเลย ที่ 1 ลูกจ้าง ของ จำเลย ทั้ง สอง ขับ รถ ใน ทางการที่จ้างโดยประมาท เป็นเหตุ ให้ เรือโท หญิง จิรภา ถึงแก่ความตาย โจทก์ ทั้ง สอง ต้อง ขาดไร้อุปการะ ตาม กฎหมาย ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกันชำระ เงิน จำนวน 410,000 บาท แก่ โจทก์ ทั้ง สอง พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า โจทก์ ทั้ง สอง ไม่ได้ เป็น สามี ภรรยา กันโดยชอบ ด้วย กฎหมาย ฟ้อง ของ โจทก์ เคลือบคลุม จำเลย ทั้ง สอง ไม่ใช่เจ้าของ รถ ที่เกิดเหตุ และ ไม่ใช่ นายจ้าง ของ นาย มโนรมย์ เหตุ เกิด เพราะ ความประมาท ของ เรือโท หญิง จิรภา โจทก์ ทั้ง สอง ไม่ได้ ขาด ไร้ อุปการะ อย่าง แท้จริง และ ค่าเสียหาย สูง เกิน ความ เป็น จริง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน240,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า มี ประเด็น วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สองว่า โจทก์ ทั้ง สอง มีอำนาจ ฟ้อง และ ฟ้อง ของ โจทก์ เคลือบคลุม หรือไม่เห็นว่า โจทก์ ทั้ง สอง แต่งงาน อยู่กิน เป็น สามี ภรรยา กัน ตั้งแต่ ปี 2476ก่อน ประกาศ ใช้ บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477แม้ โจทก์ ทั้ง สอง มิได้ จดทะเบียนสมรส ก็ เป็น สามี ภรรยา กัน โดยชอบ ด้วยกฎหมาย โจทก์ ทั้ง สอง จึง เป็น บิดา มารดา โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ ผู้ตายจึง มีอำนาจ ฟ้อง เมื่อ โจทก์ ทั้ง สอง เป็น บิดา มารดา ของ ผู้ตาย แม้ มิได้บรรยาย ใน คำฟ้อง ว่า เป็น บิดา มารดา โดยชอบ ด้วย กฎหมาย อย่างไรก็ เป็น เรื่อง รายละเอียด ที่ จะ นำสืบ ได้ ใน ชั้นพิจารณา การ ที่ โจทก์ทั้ง สอง นำสืบ ถึง สถานภาพ การ สมรส ของ โจทก์ ทั้ง สอง จึง ไม่เป็นการ นำสืบ พยานหลักฐาน นอก คำฟ้อง แต่อย่างใด และ การ ที่ โจทก์ บรรยายฟ้องว่า โจทก์ ทั้ง สอง เป็น บิดา มารดา ผู้ตาย นาย มโนรมย์ แพรทอง ลูกจ้าง จำเลย ทั้ง สอง ขับ รถ โดยประมาท ชน รถ ผู้ตาย เป็นเหตุ ให้ ผู้ตาย ถึง แก่ความตาย ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน 410,000 บาทให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง เป็น ฟ้อง ที่ แจ้งชัด ซึ่ง สภาพแห่งข้อหา ของ โจทก์และ คำขอบังคับ ทั้ง ข้ออ้าง ที่อาศัย เป็น หลักแห่งข้อหา แล้วจึง เป็น ฟ้อง ที่ สมบูรณ์ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ประเด็น ต่อไป ว่า นาย มโนรมย์ ไม่ใช่ ลูกจ้าง ของ จำเลย ทั้ง สอง และ ไม่ได้ กระทำ ใน ทางการที่จ้าง นาย มโนรมย์ ไม่ได้ เป็น ฝ่าย ประมาท และ ศาลอุทธรณ์ กำหนด ค่าเสียหาย ให้ โจทก์ ทั้ง สองสูง เกิน ไป นั้น เห็นว่า คดี นี้ โจทก์ ทั้ง สอง ต่าง ใช้ สิทธิ เฉพาะตัว ของโจทก์ แต่ละ คน ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ฟ้อง จำเลยทั้ง สอง ให้ รับผิด ฐาน ละเมิด มา ใน คำฟ้อง เดียว กัน แต่ แม้ จะ ฟ้อง รวมกัน มาก็ ต้อง ถือ ทุนทรัพย์ ของ โจทก์ แต่ละ คน แยก กัน โดย โจทก์ ทั้ง สอง เรียกค่าเสียหาย มา คน ละ 205,000 บาท เมื่อ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน ตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ทั้ง สอง รวม 240,000 บาท ก็ ถือได้ว่า ทุนทรัพย์ ใน ชั้นอุทธรณ์และ ฎีกา ของ โจทก์ แต่ละ คน คือ คน ละ 120,000 บาท ดังนั้น การ ที่ จำเลยทั้ง สอง ฎีกา ขอให้ กลับ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ เป็น พิพากษายก ฟ้องโจทก์จึง เป็น คดี ที่ มี ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกา ของ โจทก์ แต่ละ คนไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่ง ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่ จำเลยทั้ง สอง ฎีกา ว่า นาย มโนรมย์ ไม่ใช่ ลูกจ้าง ของ จำเลย ทั้ง สอง และ ไม่ได้ กระทำ ใน ทางการที่จ้าง นาย มโนรมย์ ไม่ได้ เป็น ฝ่าย ประมาท และ จำนวน ค่าเสียหาย ที่ ศาลอุทธรณ์ กำหนด ให้ โจทก์ แต่ละ คน สูง เกิน ไปเป็น ฎีกา โต้แย้ง ดุลพินิจ ใน การ รับฟัง พยานหลักฐาน และ การ กำหนดค่าเสียหาย ของ ศาลอุทธรณ์ จึง เป็น ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ซึ่ง ต้องห้ามมิให้ ฎีกา ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย
พิพากษายืน

Share