แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
++ เรื่อง ข่มขืนกระทำชำเรา ความผิดต่อเสรีภาพ ลหุโทษ ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++
++ พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยเรียงกระทงความผิดรวม 5 กรรม สำหรับฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 เป็นความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท และศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิจำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดเพราะไม่ได้ยิงปืนตามฟ้อง จึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าวการที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชน และศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยให้แล้วพิพากษายืน จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองเมื่อเป็นเช่นนี้คดีมีผลทำให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในความผิดที่เกี่ยวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 คดีในความผิดฐานนี้จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคหนึ่ง ความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสอง และความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา310 วรรคหนึ่ง ซึ่งศาลชั้นต้นฟังว่าเป็นการกระทำอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน และพิพากษาลงโทษจำเลยเรียงกระทงความผิดแต่ละกระทงศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน โดยแต่ละกระทงลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปีโดยไม่มีโทษปรับ ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ได้กระทำการพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ ไม่ได้กระทำการข่มขืนใจผู้เสียหาย และไม่ได้กระทำการหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหาย ซึ่งเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยมีว่า จำเลยได้กระทำการข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายหรือไม่
++ ปัญหาดังกล่าวโจทก์มีนางสาวสลิตตา อุตมะยาน ผู้เสียหายเบิกความว่า จำเลยไปรับตัวผู้เสียหายจากบ้านผู้เสียหายและขึ้นรถยนต์ของจำเลยไปด้วยกันโดยจำเลยเป็นคนขับตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2538 เวลาประมาณ 11 นาฬิกาโดยจำเลยพาผู้เสียหายไปรับประทานอาหารจนกระทั่ง 18 นาฬิกา จำเลยจะพาผู้เสียหายเข้าเมืองสกลนครเพื่อจะไปร้องเพลง ผู้เสียหายให้จำเลยพากลับบ้าน จำเลยไม่ยอมและจำเลยได้พูดขู่ว่าถ้าผู้เสียหายคิดหนีจะยิง พร้อมกับเปิดลิ้นชักเก็บของหน้ารถยนต์ของจำเลยให้ผู้เสียหายดูอาวุธปืนที่เก็บไว้ในลิ้นชักเก็บของ ผู้เสียหายถือโอกาสที่จำเลยเผลอได้เอาอาวุธปืนของจำเลยซ่อนไว้ใต้เบาะรถยนต์ที่ผู้เสียหายนั่งอยู่ และผู้เสียหายขอให้จำเลยหยุดรถยนต์เพื่อขอไปปัสสาวะ เมื่อจำเลยหยุดรถยนต์ ผู้เสียหายเปิดประตูรถยนต์วิ่งย้อนกลับไปทางเดิม และพยายามโบกรถยนต์ที่แล่นผ่านไปมาขอให้ช่วยเหลือขณะที่มีรถยนต์คันอื่นหยุด ผู้เสียหายขอความช่วยเหลือ ประจวบกับจำเลยตามมาทันถามผู้เสียหายเรื่องอาวุธปืน คนขับรถยนต์ที่หยุดตามที่ผู้เสียหายโบกได้ยินคำว่าปืนก็ขับรถยนต์แล่นออกไป ต่อจากนั้นจำเลยได้ฉุดผู้เสียหายขึ้นนั่งบนรถยนต์ของจำเลยพร้อมพูดขู่ว่าถ้าคิดหนีจะยิงให้ตาย ผู้เสียหายกลัวจำเลยจะยิง จำเลยขับรถยนต์พาผู้เสียหายเข้าไปบริเวณสวนหย่อมซึ่งอยู่ข้างถนนเวลาประมาณ 20 นาฬิกา ซึ่งบริเวณนั้นมืด จำเลยใช้อาวุธปืนขู่ผู้เสียหายให้ถอดเสื้อผ้า ผู้เสียหายไม่ยอมถอด จำเลยจึงยิงปืนไปทางต้นไม้ 1 นัดหลังจากนั้นจำเลยใช้อาวุธปืนจี้ที่ศีรษะของผู้เสียหาย จนผู้เสียหายกลัวนั่งทรุดลงกับพื้น จำเลยจึงเข้าไปถอดกางเกงของผู้เสียหายออกทั้งกางเกงนอกและใน พร้อมกับดึงเสื้อชั้นในของผู้เสียหายออก ต่อจากนั้นจำเลยได้ถอดเสื้อผ้าจำเลยออกแล้วขู่บังคับให้ผู้เสียหายขึ้นไปนั่งบนเบาะรถยนต์ของจำเลย แล้วให้ผู้เสียหายนอนลง หลังจากนั้นจำเลยได้ใช้อวัยวะเพศของจำเลยสอดใส่เข้าอวัยวะเพศของผู้เสียหาย แล้วจำเลยได้ชักอวัยวะเพศของจำเลยเข้าออกในอวัยวะเพศของผู้เสียหาย ผู้เสียหายรู้สึกเจ็บจึงผลักจำเลยออก และผู้เสียหายรู้สึกว่ามีน้ำลื่น ๆ ไหลออกจากอวัยวะเพศของผู้เสียหาย จำเลยลุกขึ้นไปสวมใส่เสื้อผ้า และผู้เสียหายก็จัดการสวมใส่เสื้อเช่นเดียวกัน จำเลยพาผู้เสียหายไปที่อำเภอกุสุมาลย์และพาไปซื้อน้ำดื่ม จำเลยทราบว่าสร้อยข้อมือของจำเลยหายไปในขณะเกิดเหตุจึงขับรถยนต์ย้อนกลับไปค้นหาพบแต่สร้อยข้อมือแต่ตะขอทองคำหาไม่พบ และพาผู้เสียหายเข้าพักโรงแรม ในห้องพักโรงแรมจำเลยจะะข่มขืนผู้เสียหายอีกแต่ผู้เสียหายไม่ยอมและขู่ว่าถ้าข่มขืนจะร้องให้คนช่วย ต่อจากนั้นจำเลยได้พาผู้เสียหายไปส่งที่อำเภอพังโคนในเวลาประมาณ 2 นาฬิกาของวันใหม่ ผู้เสียหายต้องขอร้องให้เพื่อนผู้หญิงที่ขายของอยู่ที่ตลาดอำเภอพังโคนพากลับไปส่งบ้าน เมื่อกลับถึงบ้านผู้เสียหายได้เล่าให้นางจงรักษ์ อุตมะยานซึ่งเป็นมารดาฟังทันที และพากันไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ และโจทก์มีนางจงรักษ์มารดาของผู้เสียหายเบิกความสนับสนุนว่า ผู้เสียหายไปกับจำเลยในวันที่ 30 มกราคม 2538 และกลับบ้านตอนประมาณ 4 ถึง 5 นาฬิกา ของวันที่ 31 มกราคม 2538 โดยมีเพื่อนผู้หญิงของผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์มาส่ง ผู้เสียหายกลับถึงบ้านได้ร้องไห้ เมื่อสอบถามแล้วได้ความว่าจำเลยใช้อาวุธปืนบังคับและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย นางจงรักษ์ทราบเหตุจากผู้เสียหายแล้วได้ไปหาแม่ภรรยาของจำเลยโดยได้พบนางศรีประไพภรรยาของจำเลยด้วย จึงเล่าเรื่องให้ฟัง นางศรีประไพบอกว่าให้นางจงรักษ์รออยู่ก่อนจะไปติดตามตัวจำเลยมาสอบถาม จึงได้รออยู่จนกระทั่งเที่ยงนางศรีประไพแจ้งว่าติดต่อจำเลยได้แล้ว ขออย่าเพิ่งไปแจ้งความดำเนินคดีแก่จำเลย นางจงรักษ์ได้ติดต่อกับพันตำรวจโทประสาร สุระเสียงแจ้งเหตุให้ทราบด้วย และได้ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจในวันที่31 มกราคม 2538 และโจทก์มีพลตำรวจสำรองทองพูน ภูผิวเงินเบิกความสนับสนุนว่า เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2538 ได้ร่วมไปตรวจสถานที่เกิดเหตุบริเวณสวนหย่อมริมถนนสายสกลนคร – นครพนม ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุดังกล่าวพบปลอกกระสุนปืน ขนาด .38 จำนวน1 ปลอก ยางรัดผม 1 เส้น ตะขอทองคำ 1 อัน เงินเหรียญบาท 2 เหรียญผ้าเย็นที่ใช้แล้ว 1 ผืน ผ้าอนามัย 1 อัน และโจทก์มีพันตำรวจโทประสารสุระเสียง เบิกความว่าเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2538 เวลาประมาณ8 นาฬิกา ได้รับโทรศัพท์จากนางจงรักษ์ซึ่งเป็นน้องภรรยาของพันตำรวจโทประสาร เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในคดีนี้ให้ฟัง ผู้เสียหายกับนางจงรักษ์ต่างก็รู้จักจำเลยเป็นอย่างดี จึงไม่มีเหตุที่จะระแวงสงสัยว่าจะจำคนผิด ประกอบกับจำเลยรับว่าได้ร่วมประเวณีกับผู้เสียหายในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุจริงเพียงแต่อ้างว่าผู้เสียหายสมยอมเท่านั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังยุติได้ว่า จำเลยได้ร่วมประเวณีกับผู้เสียหายในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุ คงมีปัญาที่ต้องวินิจฉัยว่า จำเลยได้ใช้อาวุธปืนข่มขู่จนผู้เสียหายจำยอมให้จำเลยกระทำชำเราหรือไม่ ปัญหาดังกล่าวข้อเท็จจริงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วว่าจำเลยได้ยิงปืนในบริเวณเกิดเหตุในเวลาเกิดเหตุ หากผู้เสียหายเป็นใจยินยอมร่วมประเวณีกับจำเลยก็ไม่มีเหตุใด ๆ ที่จำเลยจะต้องยิงปืนในขณะจะได้ร่วมประเวณีกับผู้เสียหาย เป็นการเจือสมกับคำเบิกความของผู้เสียหายว่าจำเลยยิงปืนขู่บังคับให้ผู้เสียหายจำต้องยอมให้จำเลยกระทำชำเราประกอบกับผู้เสียหายได้แจ้งเหตุว่าถูกจำเลยใช้อาวุธปืนข่มขู่บังคับข่มขืนกระทำชำเราในทันทีที่พบกับนางจงรักษ์มารดาของผู้เสียหาย หากผู้เสียหายสมัครใจร่วมประเวณีกับจำเลย คงไม่หาเหตุกล่าวหากลั่นแกล้งจำเลย และนางจงรักษ์ได้แจ้งเหตุที่เกิดขึ้นต่อพันตำรวจโทประสารญาติของนางจงรักษ์ในตอนเช้าวันเกิดเหตุ และได้ไปแจ้งเหตุต่อพนักงานสอบสวนในวันเดียวกันและเจ้าพนักงานตำรวจได้พากันออกไปตรวจสถานที่เกิดเหตุ และพบของกลางในบริเวณเกิดเหตุซึ่งสมจริงตามคำเบิกความของผู้เสียหาย แสดงว่าผู้เสียหายบอกเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เพราะมิฉะนั้นคงจะตรวจไม่พบของกลางโดยเฉพาะตะขอสร้อยข้อมือของจำเลยตกในบริเวณที่เกิดเหตุ แม้จะปรากฏว่าก่อนที่นางจงรักษ์จะไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน ได้มีการเจรจาต่อรองค่าเสียหายกับฝ่ายจำเลยอยู่บ้าง อาจจะเป็นเพราะว่าฝ่ายผู้เสียหายได้รับความเสียหาย ถ้าได้รับการชดใช้บรรเทาผลร้ายบ้างน่าจะเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายผู้เสียหาย การเจรจาต่อรองค่าเสียหาย จึงเป็นเรื่องปกติธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้ไม่เป็นพิรุธแต่ประการใด การที่นางจงรักษ์พาผู้เสียหายไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนในตอนเย็นวันที่ 31 มกราคม2538 จึงไม่ทำให้น้ำหนักของพยานส่วนนี้เสียไปแต่ประการใด
++ พยานหลักฐานเท่าที่โจทก์นำสืบ จึงฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยใด ๆ ว่าจำเลยได้ใช้อาวุธปืนขู่บังคับและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายจริงตามฟ้อง ศาลล่างทั้งสองพิพากษาปัญหานี้ชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น ++
++ อนึ่ง ศาลฎีกาเห็นว่า การที่จำเลยข่มขืนใจให้ผู้เสียหายกระทำการใด ไม่กระทำการใดหรือจำยอมต่อสิ่งใด และหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายก็เพื่อมุ่งประสงค์ที่จะข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย ซึ่งเป็นความประสงค์มาแต่แรกแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงต่อเนื่องกันมาโดยไม่ขาดตอน การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276วรรคสอง, 309 วรรคสอง และ 310 วรรคหนึ่ง ของจำเลย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษเป็นความผิดหลายกรรมนั้นไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ว่าจำเลยมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
++ และศาลฎีกาเห็นว่าตามทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดีนี้ การที่ศาลล่างทั้งสองไม่ลดโทษให้จำเลยนั้น ไม่เหมาะสม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข และให้มีผลไปถึงข้อหาพรากผู้เยาว์ และข้อหายิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุที่ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองด้วย ++
++ พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 คงให้บังคับคดีในกระทงความผิดนี้ไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และเฉพาะความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสอง, 309 วรรคสอง และ 310 วรรคหนึ่ง นั้นการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามมาตรา 276 วรรคสอง อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 จำคุก 15 ปี ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 10 ปีส่วนข้อหาพรากผู้เยาว์และข้อหายิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุ เมื่อลดโทษแล้วคงจำคุก 1 ปี 4 เดือน และปรับ 333.33 บาท ตามลำดับ เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วเป็นโทษจำคุก 11 ปี 4 เดือน และปรับ 333.33 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1.
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๓๘ เวลากลางวัน ถึงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๓๘ เวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยพรากนางสาวสลิตตา อุตมะยาน อายุ ๑๖ ปีเศษ ผู้เสียหายไปจากนางจงรักษ์อุตมะยาน ซึ่งเป็นมารดาและผู้ปกครองของผู้เสียหาย เพื่อการอนาจาร โดยใช้อุบายหลอกลวงว่าจะพาผู้เสียหายไปตัดเสื้อผ้าเพื่อเตรียมตัวประกวดธิดาโซ่จนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายหลงเชื่อไปกับจำเลย เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๓๘เวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยข่มขืนใจผู้เสียหายไม่ให้หลบหนีลงจากรถยนต์ของจำเลย โดยใช้อาวุธปืนพกข่มขู่ผู้เสียหายให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต จนผู้เสียหายกลัวต้องจำยอมอยู่บนรถยนต์ของจำเลย และจำเลยยิงปืนกระบอกดังกล่าวซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในบริเวณสวนหย่อมที่พักริมทางถนนสายสกลนคร – นครพนม และจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งมิใช่ภริยาของจำเลย โดยใช้อาวุธปืนกระบอกดังกล่าวขู่เข็ญผู้เสียหายมิให้ขัดขืนอันเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายโดยผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้และเมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๓๘ เวลากลางคืนก่อนเที่ยง จำเลยหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายไว้ในห้องพักของโรงแรมอินทะวงษ์ เหตุเกิดที่ตำบลแวง อำเภอสว่างแดนดิน ตำบลนาแก้ว กิ่งอำเภอโพนนาแก้ว และตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘ เจ้าพนักงานยึดได้ปลอกกระสุนปืนขนาด .๓๘ จำนวน ๑ ปลอก ยางรัดผม ๑ เส้น ตะขอทองคำ๑ อัน เงินเหรียญบาท ๒ เหรียญ ผ้าเย็นใช้แล้ว ๑ ผืน ผ้าอนามัย ๑ ผืนเป็นของกลาง และจับกุมจำเลยได้พร้อมปืนพกรีวอลเวอร์ ๑ กระบอก ซองปืน๑ ซอง กระสุนปืนขนาด .๓๘ จำนวน ๖ นัด ใบไม้ ๑๑ ใบ เป็นของกลางขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๗๖, ๓๐๙, ๓๑๐, ๓๑๙,๓๗๖ ริบปลอกกระสุนปืน ปืนพก ซองปืน และกระสุนปืนของกลาง
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๗๖ วรรคสอง, ๓๐๙ วรรคสอง, ๓๑๐วรรคหนึ่ง, ๓๑๙ วรรคหนึ่ง และ ๓๗๖ เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๑ ฐานพรากผู้เยาว์ จำคุก ๒ ปี ฐานข่มขืนใจผู้อื่น จำคุก ๖ เดือน ฐานยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุ ปรับ ๕๐๐ บาทฐานข่มขืนกระทำชำเราหญิงซึ่งมิใช่ภริยาของตน จำคุก ๑๕ ปี และฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น จำคุก ๖ เดือน รวมจำคุก ๑๘ ปี ปรับ ๕๐๐ บาทไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙, ๓๐ ริบปลอกกระสุนปืน ปืนพก ซองปืน และกระสุนปืนของกลาง
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค ๑ พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่า เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๓๘ เวลาประมาณ ๘ นาฬิกา จำเลยไปพบนางจงรักษ์ อุตมะยาน มารดาผู้เสียหายและผู้เสียหายที่บ้าน จำเลยขออนุญาตพาผู้เสียหายไปตัดชุดเพื่อประกวดธิดาโซ่ ที่อำเภอกุสุมาลย์จังหวัดสกลนคร นางจงรักษ์อนุญาต จำเลยขับรถยนต์เก๋งส่วนตัวพาผู้เสียหายออกจากบ้านที่อำเภอสว่างแดนดินเวลาประมาณ ๑๑ นาฬิกา มุ่งหน้าไปอำเภอกุสุมาลย์เพียงสองคน เมื่อไปถึงอำเภอพังโคนจำเลยจอดรถลงไปซื้อเบียร์ ๒ กระป๋อง จำเลยดื่ม ๑ กระป๋อง ผู้เสียหายดื่มเล็กน้อยไม่หมดกระป๋อง ถึงอำเภอเมืองสกลนครประมาณเที่ยงวัน จำเลยพาผู้เสียหายไปรับประทานอาหารที่ร้านอาหาร สั่งเบียร์มาดื่มและขอให้ผู้เสียหายดื่มด้วยผู้เสียหายดื่มได้ประมาณ ๑ แก้ว จำเลยดื่มเบียร์ ๔ ขวด และเหล้า ๑ แบนจนถึงเวลา ๑๘ นาฬิกา จำเลยพาผู้เสียหายเข้าไปในตัวเมืองสกลนครบอกว่าจะพาไปร้องเพลง ถึงหน้าโรงแรมอินทะวงษ์ผู้เสียหายบอกว่าอยากกลับบ้าน จำเลยหยุดรถผู้เสียหายเปิดประตูรถออกจะเดินกลับบ้าน เมื่อจำเลยบอกว่าจะพากลับบ้าน ผู้เสียหายจึงกลับเข้าไปนั่งในรถอีก จำเลยขับรถมุ่งหน้าไปทางอำเภอกุสุมาลย์ ระหว่างทางจำเลยพูดว่าอยากได้ตัวผู้เสียหายผู้เสียหายแกล้งบอกว่าปวดปัสสาวะ จำเลยจึงพูดว่าถ้าคิดจะหนี ตาย โดยเปิดลิ้นชักเก็บของหน้ารถให้ผู้เสียหายดูว่ามีอาวุธปืนอยู่ และพูดอีกว่าหากคิดจะหนีจะยิงแล้วปิดลิ้นชักไว้เหมือนเดิม ระหว่างทางผู้เสียหายแอบเปิดลิ้นชักเอาอาวุธปืนมาซ่อนไว้ใต้เบาะที่ผู้เสียหายนั่ง เมื่อจำเลยจอดรถให้ปัสสาวะผู้เสียหายวิ่งย้อนกลับไปทางบ้านท่าแร่ได้ประมาณ ๑ กิโลเมตร หยุดโบกรถที่ผ่านมาให้ช่วยเหลือ เมื่อรถคันที่ ๔ หยุดจะช่วยเหลือ จำเลยขับรถมาถึงพอดีและถามหาอาวุธปืน เมื่อได้ยินพูดถึงอาวุธปืนคนขับรถคันดังกล่าวจึงขับรถหนีไปจากนั้นจำเลยฉุดผู้เสียหายขึ้นไปบนรถ และพูดว่าถ้าคิดจะหนีจะยิงให้ตายผู้เสียหายกลัวไม่กล้าหนีลงจากรถ จากนั้นจำเลยขับรถมุ่งหน้าไปทางอำเภอกุสุมาลย์ แล้วขับรถเลี้ยวเข้าไปในสวนหย่อมริมทาง ขณะนั้นเป็นเวลาประมาณ๒๐ นาฬิกา จำเลยหยิบอาวุธปืนมาขู่ผู้เสียหายให้ถอดเสื้อผ้า ผู้เสียหายไม่ยอมถอด จำเลยจึงยิงปืนไปทางต้นไม้ ๑ นัด แล้วเอาอาวุธปืนจ่อที่ศีรษะผู้เสียหาย ผู้เสียหายกลัวนั่งทรุดลงกับพื้น จำเลยจึงเข้ามาถอดกางเกงชั้นนอกชั้นในและดึงเสื้อชั้นในของผู้เสียหายออกและถอดเสื้อผ้าของจำเลยออกด้วย ขู่ให้ผู้เสียหายขึ้นไปบนรถ นอนตรงเบาะนั่งด้านหน้ารถ เอาขาออกนอกตัวรถ แล้วจำเลยข่มขืนผู้เสียหาย ผู้เสียหายดิ้นรนขัดขืนแต่สู้แรงของจำเลยไม่ได้ ทั้งกลัวว่าจำเลยจะใช้อาวุธปืนยิง แล้วจำเลยและผู้เสียหายลุกขึ้นสวมใส่เสื้อผ้า จากนั้นจำเลยขับรถพาผู้เสียหายไปที่อำเภอกุสุมาลย์เมื่อทราบว่าสร้อยข้อมือหายจึงขับรถย้อนกลับไปที่สวนหย่อม ค้นหาพบเพียงสร้อยข้อมือแต่ไม่พบตะขอทองคำ แล้วจำเลยขับรถพาผู้เสียหายไปพักที่โรงแรมอินทะวงษ์ พยายามข่มขืนอีกแต่ผู้เสียหายไม่ยินยอมบอกว่าจะร้องให้คนช่วย และขอร้องให้จำเลยพากลับบ้าน จนเวลาประมาณ ๒ นาฬิกาของวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๓๘ จำเลยจึงพาผู้เสียหายไปส่งที่ตลาดอำเภอพังโคน ส่วนจำเลยขับรถไปที่อำเภอกุสุมาลย์ ผู้เสียหายขอร้องให้เพื่อนหญิงที่ขายของอยู่ตลาดอำเภอพังโคนขับรถจักรยานยนต์ไปส่งที่บ้านเวลาประมาณ๔ นาฬิกา เมื่อถึงบ้านผู้เสียหายเล่าเรื่องที่เกิดเหตุขึ้นให้นางจงรักษ์ฟัง ต่อมาเวลาใกล้สว่างนางจงรักษ์ไปพบนางพิมพ์แม่ยายและนางศรีประไพภรรยาจำเลย เล่าเรื่องให้ฟัง วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๓๘ เวลาประมาณ ๒๐ นาฬิกาผู้เสียหายและนางจงรักษ์ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอโพนนาแก้ววันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘ เจ้าพนักงานตำรวจพาผู้เสียหายไปตรวจสถานที่เกิดเหตุ พบตะขอทองคำ เงินเหรียญบาท ๒ เหรียญ ยางรัดผมของผู้เสียหาย ผ้าเย็นที่ใช้แล้ว ๑ ผืน ผ้าอนามัยของผู้เสียหาย ๑ อัน และปลอกกระสุนปืน ๑ ปลอก ตกอยู่ที่พื้นดินตรงบริเวณที่เกิดเหตุ ปรากฏตามเอกสารหมาย ป.จ.๑ และ ป.จ. ๒ (ศาลจังหวัดอุดรธานี) วันที่ ๓กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘ เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้ ตรวจค้นรถยนต์ของจำเลยพบอาวุธปืนพกขนาด .๓๘ จำนวน ๑ กระบอก ซึ่งเป็นอาวุธปืนมีทะเบียนและมีใบอนุญาตให้พกพาของจำเลย พร้อมกระสุนปืนบรรจุในลูกโม่๖ นัด ชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยให้การปฏิเสธ จากการจัดส่งอาวุธปืนและปลอกกระสุนปืนที่พบในที่เกิดเหตุไปตรวจพิสูจน์ และส่งตัวจำเลยและผู้เสียหายให้แพทย์ตรวจร่างกายได้รับรายงานว่าปลอกกระสุนปนที่พบในที่เกิดเหตุใช้ยิงมาจากอาวุธปืนพกของจำเลย พบคราบอสุจิในช่องคลอดของผู้เสียหาย และจำเลยมีร่องรอยเขียวช้ำที่ข้อศอกขวา มีแผลถลอกที่ศอกซ้ายตามเอกสารหมาย ป.จ.๑ (ศาลจังหวัดขอนแก่น) จ.๑๐ และ จ.๑๑หลังจากเกิดเหตุประมาณ ๕ ถึง ๖ วัน ฝ่ายจำเลยและฝ่ายผู้เสียหายตกลงกันเรื่องค่าเสียหายได้ โดยฝ่ายจำเลยตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้เป็นเงิน๕๐,๐๐๐ บาท ตามบันทึกการตกลงเอกสารหมาย จ.๒
จำเลยนำสืบว่า จำเลยขออนุญาตนางจงรักษ์พาผู้เสียหายไปซ้อมเดินและเตรียมชุดประกวดธิดาโซ่ แวะรับประทานอาหารและนั่งคุยกัน ผู้เสียหายบอกว่าไม่มีเงินเรียนหนังสือ จำเลยบอกว่าจะส่งให้เดือนละ ๕,๐๐๐ บาท ผู้เสียหายตกลงและขอเป็นภริยาน้อยของจำเลยจำเลยให้เงินผู้เสียหาย ๒,๕๐๐ บาท ต่อมาจำเลยขับรถออกจากร้านอาหารไปอำเภอกุสุมาลย์ ระหว่างทางแวะเข้าไปที่สวนหย่อมริมทางสายสกลนคร – นครพนม ผู้เสียหายร่วมประเวณีกับจำเลยโดยสมัครใจในรถของจำเลย จากนั้นจำเลยพาผู้เสียหายไปที่อำเภอกุสุมาลย์และกลับไปหาสร้อยข้อมือที่หายไปที่สวนหย่อมริมทาง แล้วไปพักที่โรงแรมอินทะวงษ์ในตัวเมืองสกลนครนอนกอดกันถึงเวลาประมาณ ๔ นาฬิกา จำเลยพาผู้เสียหายไปส่งที่ตลาดอำเภอพังโคนตามที่ผู้เสียหายแนะนำ ต่อมามีการแจ้งความ จำเลยถูกจับกุมและเจรจาตกลงเรื่องค่าเสียหาย จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้เป็นเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท
พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยเรียงกระทงความผิดรวม ๕ กรรม สำหรับฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๗๖ เป็นความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกิน ๓ ปี หรือปรับไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาท และศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙๓ ทวิจำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดเพราะไม่ได้ยิงปืนตามฟ้อง จึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าวการที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชน และศาลอุทธรณ์ภาค ๑วินิจฉัยให้แล้วพิพากษายืน จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองเมื่อเป็นเช่นนี้คดีมีผลทำให้ศาลอุทธรณ์ภาค ๑ ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในความผิดที่เกี่ยวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๗๖ คดีในความผิดฐานนี้จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๑๙ วรรคหนึ่ง ความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๙ วรรคสอง และความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๓๑๐ วรรคหนึ่ง ซึ่งศาลชั้นต้นฟังว่าเป็นการกระทำอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน และพิพากษาลงโทษจำเลยเรียงกระทงความผิดแต่ละกระทงศาลอุทธรณ์ภาค ๑ พิพากษายืน โดยแต่ละกระทงลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปีโดยไม่มีโทษปรับ ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๑๘ วรรคหนึ่ง การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ได้กระทำการพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ ไม่ได้กระทำการข่มขืนใจผู้เสียหาย และไม่ได้กระทำการหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหาย ซึ่งเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยมีว่า จำเลยได้กระทำการข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายหรือไม่ ปัญหาดังกล่าวโจทก์มีนางสาวสลิตตา อุตมะยาน ผู้เสียหายเบิกความว่า จำเลยไปรับตัวผู้เสียหายจากบ้านผู้เสียหายและขึ้นรถยนต์ของจำเลยไปด้วยกันโดยจำเลยเป็นคนขับตั้งแต่วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๓๘ เวลาประมาณ ๑๑ นาฬิกาโดยจำเลยพาผู้เสียหายไปรับประทานอาหารจนกระทั่ง ๑๘ นาฬิกา จำเลยจะพาผู้เสียหายเข้าเมืองสกลนครเพื่อจะไปร้องเพลง ผู้เสียหายให้จำเลยพากลับบ้าน จำเลยไม่ยอมและจำเลยได้พูดขู่ว่าถ้าผู้เสียหายคิดหนีจะยิง พร้อมกับเปิดลิ้นชักเก็บของหน้ารถยนต์ของจำเลยให้ผู้เสียหายดูอาวุธปืนที่เก็บไว้ในลิ้นชักเก็บของ ผู้เสียหายถือโอกาสที่จำเลยเผลอได้เอาอาวุธปืนของจำเลยซ่อนไว้ใต้เบาะรถยนต์ที่ผู้เสียหายนั่งอยู่ และผู้เสียหายขอให้จำเลยหยุดรถยนต์เพื่อขอไปปัสสาวะ เมื่อจำเลยหยุดรถยนต์ ผู้เสียหายเปิดประตูรถยนต์วิ่งย้อนกลับไปทางเดิม และพยายามโบกรถยนต์ที่แล่นผ่านไปมาขอให้ช่วยเหลือขณะที่มีรถยนต์คันอื่นหยุด ผู้เสียหายขอความช่วยเหลือ ประจวบกับจำเลยตามมาทันถามผู้เสียหายเรื่องอาวุธปืน คนขับรถยนต์ที่หยุดตามที่ผู้เสียหายโบกได้ยินคำว่าปืนก็ขับรถยนต์แล่นออกไป ต่อจากนั้นจำเลยได้ฉุดผู้เสียหายขึ้นนั่งบนรถยนต์ของจำเลยพร้อมพูดขู่ว่าถ้าคิดหนีจะยิงให้ตาย ผู้เสียหายกลัวจำเลยจะยิง จำเลยขับรถยนต์พาผู้เสียหายเข้าไปบริเวณสวนหย่อมซึ่งอยู่ข้างถนนเวลาประมาณ ๒๐ นาฬิกา ซึ่งบริเวณนั้นมืด จำเลยใช้อาวุธปืนขู่ผู้เสียหายให้ถอดเสื้อผ้า ผู้เสียหายไม่ยอมถอด จำเลยจึงยิงปืนไปทางต้นไม้ ๑ นัดหลังจากนั้นจำเลยใช้อาวุธปืนจี้ที่ศีรษะของผู้เสียหาย จนผู้เสียหายกลัวนั่งทรุดลงกับพื้น จำเลยจึงเข้าไปถอดกางเกงของผู้เสียหายออกทั้งกางเกงนอกและใน พร้อมกับดึงเสื้อชั้นในของผู้เสียหายออก ต่อจากนั้นจำเลยได้ถอดเสื้อผ้าจำเลยออกแล้วขู่บังคับให้ผู้เสียหายขึ้นไปนั่งบนเบาะรถยนต์ของจำเลย แล้วให้ผู้เสียหายนอนลง หลังจากนั้นจำเลยได้ใช้อวัยวะเพศของจำเลยสอดใส่เข้าอวัยวะเพศของผู้เสียหาย แล้วจำเลยได้ชักอวัยวะเพศของจำเลยเข้าออกในอวัยวะเพศของผู้เสียหาย ผู้เสียหายรู้สึกเจ็บจึงผลักจำเลยออก และผู้เสียหายรู้สึกว่ามีน้ำลื่น ๆ ไหลออกจากอวัยวะเพศของผู้เสียหาย จำเลยลุกขึ้นไปสวมใส่เสื้อผ้า และผู้เสียหายก็จัดการสวมใส่เสื้อเช่นเดียวกัน จำเลยพาผู้เสียหายไปที่อำเภอกุสุมาลย์และพาไปซื้อน้ำดื่ม จำเลยทราบว่าสร้อยข้อมือของจำเลยหายไปในขณะเกิดเหตุจึงขับรถยนต์ย้อนกลับไปค้นหาพบแต่สร้อยข้อมือแต่ตะขอทองคำหาไม่พบ และพาผู้เสียหายเข้าพักโรงแรม ในห้องพักโรงแรมจำเลยจะะข่มขืนผู้เสียหายอีกแต่ผู้เสียหายไม่ยอมและขู่ว่าถ้าข่มขืนจะร้องให้คนช่วย ต่อจากนั้นจำเลยได้พาผู้เสียหายไปส่งที่อำเภอพังโคนในเวลาประมาณ ๒ นาฬิกาของวันใหม่ ผู้เสียหายต้องขอร้องให้เพื่อนผู้หญิงที่ขายของอยู่ที่ตลาดอำเภอพังโคนพากลับไปส่งบ้าน เมื่อกลับถึงบ้านผู้เสียหายได้เล่าให้นางจงรักษ์ อุตมะยานซึ่งเป็นมารดาฟังทันที และพากันไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ และโจทก์มีนางจงรักษ์มารดาของผู้เสียหายเบิกความสนับสนุนว่า ผู้เสียหายไปกับจำเลยในวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๓๘ และกลับบ้านตอนประมาณ ๔ ถึง ๕ นาฬิกา ของวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๓๘ โดยมีเพื่อนผู้หญิงของผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์มาส่ง ผู้เสียหายกลับถึงบ้านได้ร้องไห้ เมื่อสอบถามแล้วได้ความว่าจำเลยใช้อาวุธปืนบังคับและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย นางจงรักษ์ทราบเหตุจากผู้เสียหายแล้วได้ไปหาแม่ภรรยาของจำเลยโดยได้พบนางศรีประไพภรรยาของจำเลยด้วย จึงเล่าเรื่องให้ฟัง นางศรีประไพบอกว่าให้นางจงรักษ์รออยู่ก่อนจะไปติดตามตัวจำเลยมาสอบถาม จึงได้รออยู่จนกระทั่งเที่ยงนางศรีประไพแจ้งว่าติดต่อจำเลยได้แล้ว ขออย่าเพิ่งไปแจ้งความดำเนินคดีแก่จำเลย นางจงรักษ์ได้ติดต่อกับพันตำรวจโทประสาร สุระเสียงแจ้งเหตุให้ทราบด้วย และได้ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจในวันที่๓๑ มกราคม ๒๕๓๘ และโจทก์มีพลตำรวจสำรองทองพูน ภูผิวเงินเบิกความสนับสนุนว่า เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘ ได้ร่วมไปตรวจสถานที่เกิดเหตุบริเวณสวนหย่อมริมถนนสายสกลนคร – นครพนม ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุดังกล่าวพบปลอกกระสุนปืน ขนาด .๓๘ จำนวน๑ ปลอก ยางรัดผม ๑ เส้น ตะขอทองคำ ๑ อัน เงินเหรียญบาท ๒ เหรียญผ้าเย็นที่ใช้แล้ว ๑ ผืน ผ้าอนามัย ๑ อัน และโจทก์มีพันตำรวจโทประสารสุระเสียง เบิกความว่าเมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๓๘ เวลาประมาณ๘ นาฬิกา ได้รับโทรศัพท์จากนางจงรักษ์ซึ่งเป็นน้องภรรยาของพันตำรวจโทประสาร เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในคดีนี้ให้ฟัง ผู้เสียหายกับนางจงรักษ์ต่างก็รู้จักจำเลยเป็นอย่างดี จึงไม่มีเหตุที่จะระแวงสงสัยว่าจะจำคนผิด ประกอบกับจำเลยรับว่าได้ร่วมประเวณีกับผู้เสียหายในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุจริงเพียงแต่อ้างว่าผู้เสียหายสมยอมเท่านั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังยุติได้ว่า จำเลยได้ร่วมประเวณีกับผู้เสียหายในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุ คงมีปัญาที่ต้องวินิจฉัยว่า จำเลยได้ใช้อาวุธปืนข่มขู่จนผู้เสียหายจำยอมให้จำเลยกระทำชำเราหรือไม่ ปัญหาดังกล่าวข้อเท็จจริงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วว่าจำเลยได้ยิงปืนในบริเวณเกิดเหตุในเวลาเกิดเหตุ หากผู้เสียหายเป็นใจยินยอมร่วมประเวณีกับจำเลยก็ไม่มีเหตุใด ๆ ที่จำเลยจะต้องยิงปืนในขณะจะได้ร่วมประเวณีกับผู้เสียหาย เป็นการเจือสมกับคำเบิกความของผู้เสียหายว่าจำเลยยิงปืนขู่บังคับให้ผู้เสียหายจำต้องยอมให้จำเลยกระทำชำเราประกอบกับผู้เสียหายได้แจ้งเหตุว่าถูกจำเลยใช้อาวุธปืนข่มขู่บังคับข่มขืนกระทำชำเราในทันทีที่พบกับนางจงรักษ์มารดาของผู้เสียหาย หากผู้เสียหายสมัครใจร่วมประเวณีกับจำเลย คงไม่หาเหตุกล่าวหากลั่นแกล้งจำเลย และนางจงรักษ์ได้แจ้งเหตุที่เกิดขึ้นต่อพันตำรวจโทประสารญาติของนางจงรักษ์ในตอนเช้าวันเกิดเหตุ และได้ไปแจ้งเหตุต่อพนักงานสอบสวนในวันเดียวกันและเจ้าพนักงานตำรวจได้พากันออกไปตรวจสถานที่เกิดเหตุ และพบของกลางในบริเวณเกิดเหตุซึ่งสมจริงตามคำเบิกความของผู้เสียหาย แสดงว่าผู้เสียหายบอกเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เพราะมิฉะนั้นคงจะตรวจไม่พบของกลางโดยเฉพาะตะขอสร้อยข้อมือของจำเลยตกในบริเวณที่เกิดเหตุ แม้จะปรากฏว่าก่อนที่นางจงรักษ์จะไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน ได้มีการเจรจาต่อรองค่าเสียหายกับฝ่ายจำเลยอยู่บ้าง อาจจะเป็นเพราะว่าฝ่ายผู้เสียหายได้รับความเสียหาย ถ้าได้รับการชดใช้บรรเทาผลร้ายบ้างน่าจะเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายผู้เสียหาย การเจรจาต่อรองค่าเสียหาย จึงเป็นเรื่องปกติธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้ไม่เป็นพิรุธแต่ประการใด การที่นางจงรักษ์พาผู้เสียหายไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนในตอนเย็นวันที่ ๓๑ มกราคม๒๕๓๘ จึงไม่ทำให้น้ำหนักของพยานส่วนนี้เสียไปแต่ประการใด พยานหลักฐานเท่าที่โจทก์นำสืบ จึงฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยใด ๆ ว่าจำเลยได้ใช้อาวุธปืนขู่บังคับและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายจริงตามฟ้อง ศาลล่างทั้งสองพิพากษาปัญหานี้ชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
อนึ่ง ศาลฎีกาเห็นว่า การที่จำเลยข่มขืนใจให้ผู้เสียหายกระทำการใด ไม่กระทำการใดหรือจำยอมต่อสิ่งใด และหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายก็เพื่อมุ่งประสงค์ที่จะข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย ซึ่งเป็นความประสงค์มาแต่แรกแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงต่อเนื่องกันมาโดยไม่ขาดตอน การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๗๖วรรคสอง, ๓๐๙ วรรคสอง และ ๓๑๐ วรรคหนึ่ง ของจำเลย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษเป็นความผิดหลายกรรมนั้นไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ว่าจำเลยมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙๕ วรรคสอง ประกอบมาตรา ๒๒๕ และศาลฎีกาเห็นว่าตามทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดีนี้ การที่ศาลล่างทั้งสองไม่ลดโทษให้จำเลยนั้น ไม่เหมาะสม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข และให้มีผลไปถึงข้อหาพรากผู้เยาว์ และข้อหายิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุที่ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองด้วย
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๑ ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๗๖ คงให้บังคับคดีในกระทงความผิดนี้ไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และเฉพาะความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๗๖ วรรคสอง, ๓๐๙ วรรคสอง และ ๓๑๐ วรรคหนึ่ง นั้นการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามมาตรา ๒๗๖ วรรคสอง อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๙๐ จำคุก ๑๕ ปี ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ คงจำคุก ๑๐ ปีส่วนข้อหาพรากผู้เยาว์และข้อหายิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุ เมื่อลดโทษแล้วคงจำคุก ๑ ปี ๔ เดือน และปรับ ๓๓๓.๓๓ บาท ตามลำดับ เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วเป็นโทษจำคุก ๑๑ ปี ๔ เดือน และปรับ ๓๓๓.๓๓ บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๑.