แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
โจทก์ซื้อปลาจากจำเลยทั้งสองและเคยร้องทุกข์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองยักยอกเงินของโจทก์จนพนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหายักยอกโดยโจทก์ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมด้วยคดีอาญาถึงที่สุดให้ยกฟ้องโดยวินิจฉัยว่านอกจากโจทก์ได้ชำระราคาปลาที่ซื้อจากจำเลยทั้งสองโดยการโอนเงินผ่านธนาคารแล้วไม่เชื่อว่าโจทก์ได้มอบเงินสดให้จำเลยทั้งสองอีกคดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46ว่าการซื้อขายปลาระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองโจทก์เพียงแต่ชำระราคาให้จำเลยทั้งสองด้วยการโอนเงินผ่านธนาคารโดยโจทก์ไม่ได้มอบเงินสดอีกจำนวนหนึ่งให้จำเลยทั้งสองดังที่โจทก์ฎีกากล่าวอ้าง
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า โจทก์ ได้ มอบหมาย ให้ จำเลย ทั้ง สองเป็น ตัวแทน ของ โจทก์ร่วม กัน จัดหา ซื้อ ลูก ปลาเก๋า ที่ จังหวัด ตรังโจทก์ ได้ จัด ส่ง เงิน ให้ แก่ จำเลย ทั้ง สอง รวมทั้งสิ้น 9 ครั้ง เป็น เงิน860,000 บาท นอกจาก นี้ โจทก์ ยัง ได้ จัดซื้อ ลูก ปลาเก๋า มอบหมาย ให้จำเลย ทั้ง สอง ดูแล แทน คิด เป็น เงิน 182,385 บาท ตาม ระยะเวลา ดังกล่าวจำเลย ทั้ง สอง ได้ จัด ส่ง ลูก ปลาเก๋า ให้ แก่ โจทก์ 15 ครั้ง คิด เป็น เงิน451,050 บาท และ มิได้ นำ เงิน ที่ เหลือ ไป ทำการ จัดซื้อ ลูก ปลาเก๋าโจทก์ จึง ได้ บอกเลิก ไม่ยินยอม ให้ จำเลย ทั้ง สอง เป็น ตัวแทน ของ โจทก์อีก ต่อไป เมื่อ คิด บัญชี หัก ลบ ยอดเงิน และ ค่าใช้จ่าย ปรากฏว่า จำเลยทั้ง สอง เป็น หนี้ โจทก์ อยู่ 584,113 บาท แต่เมื่อ จำเลย ทั้ง สองยอมรับ ผิด และ สัญญา ว่า จะ ส่ง ลูก ปลา เก๋า ของ จำเลย ทั้ง สอง ชดใช้ หนี้จำนวน ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์ โจทก์ หลงเชื่อ จึง ยินยอม ให้ จำเลย ทั้ง สองเป็น ตัวแทน จัดหา ซื้อ ลูก ปลา เก๋า ต่อไป แต่ จำเลย ทั้ง สอง ไม่ จัด ส่งลูก ปลา เก๋า ให้ แก่ โจทก์ เพื่อ ชำระหนี้ ตาม ที่ สัญญา ไว้ โจทก์ จึง ยกเลิกการ แต่งตั้ง ตัวแทน การ จัดซื้อ ลูก ปลา เก๋า และ ทวงถาม ให้ จำเลย ทั้ง สองชำระหนี้ ที่ ค้าง อยู่ เป็น เงิน 584,113 บาท แต่ จำเลย ทั้ง สอง เพิกเฉยต่อมา โจทก์ ได้ แจ้งความ ร้องทุกข์ ต่อ พนักงานสอบสวน เพื่อ ให้ดำเนินคดี อาญา แก่ จำเลย ทั้ง สอง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกันใช้ เงิน จำนวน 584,113 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ และ ฟ้องแย้ง ว่า โจทก์ ไม่เคย แต่งตั้งและ มอบหมาย ให้ จำเลย ทั้ง สอง เป็น ตัวแทน ร่วมกัน จัดหา ซื้อ ลูก ปลาเก๋าให้ แก่ โจทก์ จำเลย ทั้ง สอง มี อาชีพ จัดหา ซื้อ ลูก ปลาเก๋า ส่ง ไป ขาย ยังกรุงเทพมหานคร มา นาน หลาย ปี แล้ว จำเลย ทั้ง สอง เพิ่ง รู้ จัก โจทก์เมื่อ ต้น ปี 2532 โดย โจทก์ ให้ จำเลย จัด ส่ง ลูก ปลาเก๋า ไป ขาย ให้ แก่ โจทก์ณ กรุงเทพมหานคร โดย จำเลย ทั้ง สอง เป็น ผู้ จัดหา รถยนต์บรรทุก ปลาเก๋าไป ส่งมอบ ให้ แก่ โจทก์ และ เป็น ผู้ เสีย ค่าใช้จ่าย เอง เมื่อ ส่งมอบ แล้วโจทก์ จึง จะ ชำระ ราคา ลูก ปลาเก๋า ให้ ตาม ขนาด ของ ตัว ปลา จำเลย ทั้ง สองได้ ส่งมอบ ปลาเก๋า ให้ แก่ โจทก์ 11 ครั้ง เป็น เงิน 451,050 บาทแต่ โจทก์ ส่ง เงิน ชำระ ราคา โดย วิธีการ โอน เข้าบัญชี ของ จำเลย ที่ 2ที่ ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด สาขา กันตัง เพียง 3 ครั้ง เป็น เงิน 330,000 บาท โจทก์ ยัง คง ค้างชำระ ค่า ปลาเก๋า จำเลย อยู่ เป็น เงิน121,050 บาท จำเลย ทั้ง สอง ไม่เคย ยอมรับ ผิด และ สัญญา ว่า จะ ชดใช้ หนี้ให้ แก่ โจทก์ จำเลย ทั้ง สอง เคย ทวงถาม ให้ โจทก์ โอน เงิน จำนวน 121,050 บาทให้ แก่ จำเลย แต่ โจทก์ ขอผัด ผ่อน โดย แจ้ง ว่า กำลัง รอ เงิน จาก ต่างประเทศอยู่ หาก ได้ เงิน แล้ว จะ จัด ส่ง มา ให้ แก่ จำเลย ทั้ง สอง ทันที ให้ จำเลยทั้ง สอง จัดหา ลูก ปลาเก๋า มา ขาย ให้ แก่ โจทก์ ต่อไป ก่อน จำเลย ทั้ง สองเห็นว่า เคย ค้าขาย กัน มา ก่อน จึง ยินยอม ตกลง ด้วย ต่อมา จำเลย ทั้ง สองได้ จัด ส่ง ปลาเก๋า ไป ขาย ให้ แก่ โจทก์ อีก รวม 25 ครั้ง เป็น เงิน1,324,108.50 บาท เมื่อ รวมกับ หนี้ ที่ ค้างชำระ อยู่ เดิม เป็น เงิน1,445,158.50 บาท แต่ โจทก์ ได้ โอน เงิน มา เข้าบัญชี ของ จำเลย ที่ 2เพียง 12 ครั้ง เป็น เงิน 970,000 บาท เมื่อ หักกลบลบกัน แล้วถึง วันที่ 15 มิถุนายน 2532 โจทก์ ยัง คง ค้างชำระ ค่า ปลาเก๋าจำเลย ทั้ง สอง อยู่ เป็น เงิน ทั้งสิ้น 475,158.50 บาท ขณะ นั้น เป็น เวลาหยุด จับ ปลาเก๋า ของ ปี พอดี จึง ไม่มี การ ซื้อ ขาย กัน ต่อไป อีก นอกจาก นี้โจทก์ ยัง จะ ต้อง รับผิด ใช้ ราคา ที่ เพิ่ม ของ ขนาด ปลาเก๋า ตาม ที่ ได้ตกลง กัน ไว้ ให้ แก่ จำเลย ทั้ง สอง เป็น เงิน 188,042 บาท จำเลย ทั้ง สองทวงถาม ให้ โจทก์ ชำระ หลาย ครั้ง แล้ว แต่ โจทก์ เพิกเฉย ขอให้ ยกฟ้องกับ ให้ โจทก์ ชำระ ราคา ปลาเก๋า ที่ ค้าง จำเลย ทั้ง สอง เป็น เงิน 475,158.50บาท และ ค่า เพิ่ม ราคา ปลาเก๋า อีก 188,042 บาท รวมเป็น เงิน ทั้งสิ้น663,200.50 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีของ ต้นเงิน ดังกล่าว นับ ตั้งแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จแก่ จำเลย ทั้ง สอง
โจทก์ ให้การ แก้ฟ้อง แย้ง ยืนยัน ตาม คำฟ้อง ของ โจทก์ขอให้ ยกฟ้อง แย้ง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ โจทก์ ชำระ เงิน ค่า ปลา ให้จำเลย ทั้ง สอง เป็น เงิน 475,158.50 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตราร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน ดังกล่าว นับ ตั้งแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไปจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ โจทก์ ชำระ ค่า ปลาเก๋าแก่ จำเลย ทั้ง สอง เป็น เงิน 235,354 บาท นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ ใน เบื้องต้น ตาม ที่คู่ความ ไม่ได้ โต้เถียง กัน ใน ชั้นฎีกา ว่า โจทก์ กับ จำเลย ทั้ง สองได้ ซื้อ ขาย ปลาเก๋า กัน โดย จำเลย ทั้ง สอง ได้ ส่ง ขาย ปลา เก๋า ให้ โจทก์ตาม ใบ ส่ง ของ เอกสาร หมาย จ. 1 หรือ ล. 1 ใน สำนวน คดีอาญา หมายเลขแดงที่ 1954/2533 ของ ศาลชั้นต้น คิด เป็น ราคา รวม 1,454,354 บาทและ โจทก์ ได้ ชำระ ราคา ให้ จำเลย ทั้ง สอง โดย การ โอน เงิน ผ่าน ธนาคารตาม เอกสาร หมาย จ. 3 รวมเป็น เงิน 1,220,000 บาท โจทก์ เคย ร้องทุกข์ต่อ พนักงานสอบสวน กล่าวหา ว่า จำเลย ทั้ง สอง ยักยอก เงิน ของ โจทก์และ พนักงานอัยการ จังหวัด ตรัง ได้ เป็น โจทก์ ใน คดีอาญา ฟ้อง จำเลย ทั้ง สองใน ข้อหา ดังกล่าว โดย โจทก์ ได้ ขอ เข้า เป็น โจทก์ร่วม ใน คดีอาญาดังกล่าว ด้วย คดีอาญา นั้น ถึงที่สุด ตาม คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้นที่ ให้ยก ฟ้องโจทก์ ปรากฎ ตาม สำนวน คดีอาญา หมายเลขแดง ที่ 1954/2533ของ ศาลชั้นต้น มี ปัญหา ที่ จะ วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า จำเลย ทั้ง สองเป็น หนี้ โจทก์ ตาม ฟ้อง หรือ โจทก์ เป็น หนี้ จำเลย ทั้ง สอง ตาม ฟ้องแย้งเพียงใด ที่ โจทก์ ฎีกา กล่าวอ้าง ใน ปัญหา นี้ ว่า นอกจาก จำนวนเงินที่ โจทก์ ชำระ ราคา ปลาเก๋า ให้ จำเลย ทั้ง สอง โดย การ โอน เงิน ผ่าน ธนาคารตาม เอกสาร หมาย จ.3 แล้ว โจทก์ ได้ มอบ เงินสด ให้ จำเลย ทั้ง สองอีก จำนวน หนึ่ง ซึ่ง เมื่อ รวม จำนวนเงิน ที่ โจทก์ ชำระ ราคา ปลาเก๋าให้ จำเลย ทั้ง สอง โดย การ โอน เงิน ผ่าน ธนาคาร กับ ที่ มอบ ให้ จำเลย ทั้ง สองเป็น เงินสด แล้ว จะ เป็น จำนวนเงิน เกินกว่า ราคา ปลา เก๋า ที่ จำเลย ทั้ง สองส่ง ขาย ให้ โจทก์ จำเลย ทั้ง สอง จึง ยัง คง เป็น หนี้ โจทก์ ตาม ฟ้อง นั้นเห็นว่า คดี นี้ เป็น คดีแพ่ง เกี่ยวเนื่อง กับ คดีอาญา หมายเลขแดงที่ 1954/2533 ที่ จำเลย ทั้ง สอง ถูก ฟ้อง กล่าวหา ว่า ได้ ยักยอก เงินของ โจทก์ ซึ่ง คดีอาญา นั้น ถึงที่สุด ตาม คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้นที่ ให้ยก ฟ้อง โดย วินิจฉัย ว่า นอกจาก โจทก์ ได้ ชำระ ราคา ปลาเก๋าที่ ซื้อ จาก จำเลย ทั้ง สอง ให้ จำเลย ทั้ง สอง โดย การ โอน เงิน ผ่าน ธนาคาร แล้วไม่ เชื่อ ว่า โจทก์ ได้ มอบ เงินสด ให้ จำเลย ทั้ง สอง อีก แต่อย่างใดคดี นี้ จึง ต้อง ถือ ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ปรากฏ ใน คำพิพากษา คดี ส่วน อาญาดังกล่าว ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ว่าการ ซื้อ ขาย ลูก ปลาเก๋า ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ทั้ง สอง โจทก์ เพียงแต่ชำระ ราคา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ด้วย การ โอน เงิน ผ่าน ธนาคาร โดย โจทก์ไม่ได้ มอบ เงินสด อีก จำนวน หนึ่ง ให้ จำเลย ทั้ง สอง ดัง ที่ โจทก์ ฎีกากล่าวอ้าง และ ด้วย เหตุ ดังกล่าว เมื่อ พิจารณา ประกอบ กับ ข้อเท็จจริงตาม ที่ วินิจฉัย แล้ว ข้างต้น ที่ ได้ความ ว่า จำเลย ทั้ง สอง ได้ ส่ง ขายปลาเก๋า ให้ โจทก์ ตาม ใบ ส่ง ของ เอกสาร หมาย จ. 1 และ ล. 1 ใน สำนวน คดีอาญาหมายเลขแดง ที่ 1954/2533 ของ ศาลชั้นต้น คิด เป็น ราคา รวม 1,455,354บาท แต่ โจทก์ ได้ ชำระ ราคา ให้ จำเลย ทั้ง สอง โดย การ โอน เงิน ผ่าน ธนาคารตาม เอกสาร หมาย จ. 3 รวม เพียง 1,220,000 บาท ซึ่ง ยัง ชำระ ราคาปลาเก๋า ขาด อยู่ เป็น จำนวนเงิน 235,354 บาท คดี จึง ฟังได้ ว่า จำเลยทั้ง สอง ไม่ได้ เป็น หนี้ โจทก์ ตาม ฟ้อง แต่ โจทก์ ยัง เป็น หนี้ จำเลย ทั้ง สองอยู่ เป็น จำนวนเงิน 235,354 บาท ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษาคดี มา นั้นศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน