คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2155/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

สิ่งของในโรงงานของจำเลยขาดบัญชีและไม่ถูกต้องจำเลยจึงมีคำสั่งตั่งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนและพิจารณาเมื่อขณะออกคำสั่งจำเลยยังไม่ทราบชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหาจึงไม่จำต้องระบุไว้ในคำสั่งนั้น. การสอบสวนของคณะกรรมการที่จำเลยแต่งตั้งปรากฏว่าโจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องกับสิ่งของที่ขาดบัญชีโดยเป็นประธานกรรมการตรวจรับสิงของบางส่วนแต่การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้นและโจทก์มีอายุใกล้กำหนดจะออกจากงานฐานเกษียณอายุดังนี้จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาได้เพราะข้อบังคับของจำเลยกำหนดไว้ในกรณีเช่นนี้เป็นการสั่งให้ออกไว้ชั่วคราวโดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะต้องมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่งตามผลการสอบสวนพิจารณาจึงหาทำให้นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยระงับสิ้นไปทันทีไม่แม้เมื่อสอบสวนเสร็จและโจทก์เกษียณอายุไปแล้วแต่หากการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าโจทก์ไม่มีความผิดจำเลยก็สามารถเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นให้ออกจากงานฐานเกษียณอายุได้มิใช่เป็นการพ้นวิสัยที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งทั้งมิใช่ให้โจทก์ทำงานต่อไปหลังจากที่ขาดคุณสมบัติแล้วจึงไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจการที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานไว้ก่อนเช่นนี้ไม่เป็นการเลิกจ้าง.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ซึ่ง เป็น ลูกจ้าง ประจำ โดยอ้าง ว่า ให้ โจทก์ ออก จาก งาน ไว้ ก่อน เพื่อ รอ ฟัง ผล การ สอบสวนพิจารณา กรณี พัสดุ ของ โรง ตกแต่ง รถโดยสาร ขาด บัญชี และ ไม่ ถูกต้องแต่ จน บัดนี้ จำเลย ยัง ไม่ ตั้ง คณะกรรมการ สอบสวน โจทก์ และ โจทก์ก็ ไม่ ได้ กระทำ ผิด เป็น การ เลิกจ้าง ไม่ เป็นธรรม โจทก์ จึง มีสิทธิ ได้ รับ ค่าชดเชย และ เงินสงเคราะห์ ครั้งเดียว ต้อง จ่าย เงินสะสม คืน ให้ โจทก์ และ ต้อง ชดใช้ ค่าเสียหาย เนื่องจาก เป็น การเลิกจ้าง ที่ ไม่ เป็นธรรม ขอ ศาล พิพากษา บังคับ ให้ จำเลย จ่าย เงินดังกล่าว ให้ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า เมื่อ เดือน มกราคม 2526 พนักงาน ตรวจบัญชี ได้ ตรวจบัญชี พัสดุ ของ โรง ตกแต่ง รถโดยสาร แผนก ซ่อม รถโดยสาร พบ ว่า มีสิ่งของ พัสดุ ขาด บัญชี และ ไม่ ถูกต้อง จำนวน มาก จำเลย จึง มี คำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการ ขึ้น ทำการ สอบสวน จาก การ สอบสวน ปรากฏ ว่า มีพัสดุ ขาด บัญชี เป็น จำนวน เงิน กว่า 20 ล้านบาท ซึ่ง เกิดจาก การทุจริต ใน การ ตรวจ รับมอบ สิ่งของ ที่ จำเลย ได้ จัดซื้อ โดย มี โจทก์เป็น ประธานกรรมการ ตรวจรับ สิ่งของ ดังกล่าว ใน ขณะ ที่ การ สอบสวนพิจารณา ยัง ไม่ เสร็จสิ้น โจทก์ มี อายุ ใกล้ ที่ จะ ต้อง ออก จาก งานฐาน เกษียณ อายุ จำเลย จึง มี คำสั่ง ให้ โจทก์ ออก จาก งาน ไว้ ก่อนเพื่อ รอ ฟัง ผล การ สอบสวน พิจารณา เป็น ไป ตาม ข้อบังคับ ของ จำเลยเป็น การ ให้ ออก จาก งาน ไว้ เป็น การ ชั่วคราว ถือ ไม่ ได้ ว่า เป็นการ เลิกจ้าง โจทก์ จึง ยัง ไม่ มี สิทธิ ได้ รับ ค่าชดเชย ตาม ฟ้องเงิน สะสม ที่ จำเลย หัก จาก ค่าจ้าง โจทก์ จะ จ่าย ให้ เมื่อ โจทก์ต้อง ออก จาก งาน และ ไม่ มี หนี้สิน เกี่ยว ค้าง กับ จำเลย จึง ไม่ มีสิทธิ ได้ รับ เงิน สะสม คืน ใน ขณะนี้ สำหรับ สิทธิ ใน การ รับ เงินสงเคราะห์ ครั้งเดียว จะ มี สิทธิ ได้ รับ ต่อเมื่อ ออก จาก งาน แล้วและ จะ ต้อง ไม่ เป็น ผู้ ที่ ถูก ไล่ออก ปลด ออก จาก งาน เพราะ มีความผิด คำสั่ง ให้ โจทก์ ออก จาก งาน ไว้ ก่อน ไม่ เป็น การ เลิกจ้างจึง ไม่ ใช่ เป็น การ เลิกจ้าง ไม่ เป็นธรรม
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน ตรวจ สำนวน ประชุม ปรึกษา แล้ว ฟัง ข้อเท็จจริงว่า การ ตรวจ บัญชี พัสดุ โรง ตกแต่ง รถโดยสาร แผนก ซ่อม รถโดยสาร ซึ่งโจทก์ เป็น ผู้ ควบคุม รับผิด ชอบ ปรากฏ ว่า สิ่งของ ขาด บัญชี และไม่ ถูกต้อง เป็น จำนวน มาก จำเลย จึง มี คำสั่ง ตั้ง คณะกรรมการ ขึ้นทำ การ สอบสวน ปรากฏ ว่า โจทก์ มี ส่วน เกี่ยวข้อง กับ สิ่งของ ที่ ขาดบัญชี โดย เป็น ประธานกรรมการ ตรวจรับ สิ่งของ บางส่วน แต่ เนื่องจากการ สอบสวน ยัง ไม่ เสร็จสิ้น โจทก์ มี อายุ ใกล้ ถึง กำหนด จะ ออก จากงาน ฐาน เกษียณอายุ ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2527 จำเลย จึง ให้ โจทก์ออก จาก งาน ไว้ ก่อน เพื่อ รอ ฟัง ผล การ สอบสวน พิจารณา ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2527 เป็นต้นไป และ วินิจฉัย ปัญหา ข้อกฎหมาย ว่าโจทก์ อุทธรณ์ เป็น ประการ แรก ว่า คำสั่ง ตั้ง คณะกรรมการ สอบสวน ตามเอกสาร หมาย ล.1 ไม่ ได้ ระบุ ชื่อ และ ตำแหน่ง ของ ผู้ ถูก กล่าวหา ไว้ เป็น การ ไม่ ปฏิบัติ ตาม คำสั่ง เอกสาร หมาย จ.6 จึง ไม่ ชอบพิเคราะห์ แล้ว คำสั่ง ตาม เอกสาร หมาย จ.6 ข้อ 1.2 กำหนด ว่า ‘คำสั่งตั้ง คณะกรรมการ สอบสวน ให้ ทำ เป็น หนังสือ ตาม แบบ คำสั่ง โดย ระบุชื่อ และ ตำแหน่ง ของ ผู้ ถูก กล่าวหา ใน กรณี ที่ ทราบ ชื่อ และตำแหน่ง ของ ผู้ ถูก กล่าวหา และ เรื่อง ที่ ถูก กล่าวหา ตลอด จน ชื่อหรือ ตำแหน่ง ของ ผู้ ได้ รับ แต่งตั้ง เป็น คณะกรรมการ’ คำสั่ง ตามเอกสาร หมาย ล.1 มี ความ ว่า เนื่องจาก พนักงาน ตรวจบัญชี ได้ ตรวจบัญชี ที่ พัสดุ โรง ตกแต่ง รถโดยสาร แผนก ซ่อม รถโดยสาร กองซ่อม รถพ่วง พบ ว่า มี สิ่งของ ขาด บัญชี และ ไม่ ถูกต้อง อยู่ มาก เพื่อ ให้ ได้ข้อเท็จจริง โดย แน่ชัด และ ลงโทษ ผู้ กระทำ ผิด ได้ ตาม ควร แก่ กรณีฝ่าย การช่างกล จึง เสนอ ให้ ตั้ง คณะกรรมการ ขึ้น ทำ การ สอบสวน ซึ่งจำเลย พิจารณา แล้ว เห็น ชอบ ด้วย จึง แต่งตั้ง ให้ ผู้ มี ตำแหน่ง ตามที่ ระบุ ใน คำสั่ง นี้ มี จำนวน 3 นาย เป็น กรรมการ ทำ การ สอบสวน และพิจารณา เสร็จแล้ว ให้ รายงาน ผล การ สอบสวน ให้ จำเลย ทราบ โดย เร็วดังนี้ เห็น ว่า ขณะ ออก คำสั่ง เอกสาร หมาย ล.1 จำเลย ยัง ไม่ ทราบชื่อ และ ตำแหน่ง ของ ผู้ ถูก กล่าวหา จึง ไม่ จำต้อง ระบุ คำสั่ง ตั้งคณะกรรมการ สอบสวน ของ จำเลย ชอบ แล้ว
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อไป ว่า คำสั่ง ให้ โจทก์ ออก จาก งาน ไว้ ก่อน ย่อมทำ ให้ นิติสัมพันธ์ ระหว่าง โจทก์ จำเลย ตาม สัญญา จ้างแรงงาน ระงับสิ้น ไป โอกาส ที่ โจทก์ จะ กลับ เข้า ทำงาน กับ จำเลย ตาม เดิม ไม่ มีเพราะ จำเลย มี อายุ ครบ 60 ปี บริบูรณ์ ทั้ง การ ที่ จำเลย ออก คำสั่งเช่นนี้ ยัง ขัด ต่อ พระราชบัญญัติ คุณสมบัติ มาตรฐาน สำหรับ กรรมการและ พนักงาน รัฐวิสาหกิจ พิเคราะห์ แล้ว ข้อบังคับ ฉบับ ที่ 3 ว่าด้วยระเบียบ วินัย และ การ ลงโทษ พนักงาน ของ การรถไฟ แห่ง ประเทศไทย ตามเอกสาร หมาย จ.2 ข้อ 6 ทวิ วรรคหนึ่ง กำหนด ความ ว่า พนักงาน ผู้ใด มีกรณี ต้องหา ว่า กระทำ ผิด วินัย อย่าง ร้ายแรง จน ถูก สอบสวน ถ้าผู้นั้น มี อายุ ใกล้ ถึง กำหนด ที่ จะ ต้อง ออก จาก งาน เพราะ เหตุอายุ ครบ 60 ปี บริบูรณ์ ก็ ให้ ผู้บังคับ บัญชา มี อำนาจ สั่ง ให้ผู้นั้น ออก จาก งาน ไว้ ก่อน วรรคสอง ความ ว่า ถ้า ภายหลัง การ สอบสวนพิจารณา ได้ ความ เป็น สัตย์ ที่ จะ ต้อง ลงโทษ ไล่ออก ปลดออก หรือ ให้ออก หรือ เป็น กรณี ที่ จะ ต้อง ให้ ออก จาก งาน ด้วย เหตุ อื่น ก็ ให้ดำเนินการ เปลี่ยนแปลง คำสั่ง เป็น ไล่ออก ปลดออก หรือ ให้ ออก ให้ ตรงตาม ข้อบังคับ ถ้า ปรากฏ ว่า ผู้ ถูก สั่ง ให้ ออก จาก งาน ไว้ ก่อนมิได้ มี ความผิด เลย หรือ มี ความผิด ไม่ ถึง กับ จะ ต้อง ถูก ลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือ ให้ ออก และ ไม่ มี กรณี ที่ จะ ต้อง ออก จาก งานด้วย เหตุ อื่น ให้ ผู้บังคับ บัญชา สั่ง ให้ ผู้นั้น กลับ เข้า ทำงานตาม เดิม วรรคสาม ตาม เดิม วรรคสาม ความ ว่า ใน กรณี ที่ ผู้ ถูก สั่งให้ ออก จาก งาน ไว้ ก่อน มิได้ มี ความผิด หรือ มี ความผิด ไม่ ถึงกับ จะ ต้อง ถูก ลงโทษ ไล่ออก ปลดออก หรือ ให้ออก เท่า ที่ เกี่ยวกับเงินเดือน ให้ ผู้นั้น มี สิทธิ ได้ รับ เงินเดือน ใน ระหว่าง ถูก สั่งให้ ออก จาก งาน ไว้ ก่อน นั้น เสมือน ว่า ผู้นั้น ถูก สั่ง ให้ พัก งาน แต่ ถ้า ผู้นั้น มี อายุ ครบ 60 ปี บริบูรณ์ และ มิได้ รับ การ ต่ออายุ ก็ ให้ มี สิทธิ รับ เงินเดือน เพียง ถึง สิ้นปี งบประมาณ นั้นเห็น ได้ ว่า การ สั่ง ให้ ออก จาก งาน ไว้ ก่อน ตาม ข้อบังคับ ของจำเลย เป็น เพียง การ สั่ง ให้ ออก ไว้ ชั่วคราว โดย มี เงื่อนไข ว่าจำเลย จะ ต้อง มี คำสั่ง เปลี่ยนแปลง อีก ครั้ง หนึ่ง ตาม ผล การ สอบสวนพิจารณา หา ทำ ให้ นิติสัมพันธ์ ระงับ สิ้นไป ทันที ไม่ แม้ เมื่อสอบสวน เสร็จ โจทก์ เกษียณอายุ ไป แล้ว แต่ หาก การ สอบสวน พิจารณาปรากฏ ว่า โจทก์ ไม่ มี ความผิด จำเลย ก็ สามารถ เปลี่ยนแปลง คำสั่งเป็น ให้ โจทก์ ออก จาก งาน ฐาน เกษียณอายุ ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม2527 ได้ มิใช่ เป็น การ พ้นวิสัย ที่ จะ เปลี่ยนแปลง คำสั่ง ทั้ง มิใช่ให้ โจทก์ ทำงาน ต่อไป หลังจาก ที่ ขาด คุณสมบัติ แล้ว จึง ไม่ เป็น การขัด ต่อ กฎหมาย ว่าด้วย คุณสมบัติ มาตรฐาน สำหรับ กรรมการ และ พนักงานรัฐวิสาหกิจ แต่ อย่างใด ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า การ ที่ จำเลย ให้โจทก์ ออก จาก งาน ไว้ ก่อน ไม่ เป็น การ เลิกจ้าง ศาลฎีกา เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ โจทก์ ทุก ข้อ ฟัง ไม่ ขึ้น
พิพากษา ยืน.

Share