คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์จำเลยทำ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทภายในระยะเวลาตามข้อกำหนดห้ามโอนเป็นการหลีกเลี่ยงข้อห้ามโอนย่อมตกเป็น โมฆะและเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลชั้นต้นมีอำนาจ งดสืบพยานแล้วยกขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา24

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ ที่ดินพิพาท โฉนด เลขที่ 37743เนื้อที่ 8 ไร่ 72 เศษ 6 ส่วน 10 ตารางวา ร่วม กับ นาง ทองปาน ฟุ้งมา ตาม สำเนา โฉนด ที่ดิน เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 1 เมื่อ วันที่ 14 พฤษภาคม 2530 โจทก์ ได้ ทำ สัญญาจะขาย ที่ดิน แปลง ดังกล่าว ให้ จำเลยจำนวน 4 ไร่ 72 เศษ 6 ส่วน 10 ตารางวา ใน ราคา 60,000 บาท จำเลยได้ วาง มัดจำ ไว้ 50,000 บาท ว่า จะ ชำระ ราคา ส่วน ที่ เหลือ และ จดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ ใน เดือน พฤษภาคม 2533 เมื่อ ถึง กำหนด โจทก์ จำเลย ได้ ไปสำนักงาน ที่ดิน จังหวัด ขอนแก่น เพื่อ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ แต่ จำเลยไม่ยอม เสีย ค่าธรรมเนียม ตาม ที่ ตกลง กัน ไว้ อันเป็น การ ผิดสัญญาโจทก์ จึง ใช้ สิทธิ บอกเลิก สัญญา และ ริบ เงินมัดจำ สัญญา เป็น อัน สิ้นสุด ลงเนื่องจาก โจทก์ ได้ อนุญาต ให้ จำเลย เข้า ทำประโยชน์ ใน ที่ดินตั้งแต่ วัน ทำ สัญญา บัดนี้ โจทก์ ไม่ประสงค์ จะ ให้ จำเลย ครอบครองทำประโยชน์ ใน ที่ดินพิพาท ต่อไป ได้ บอกกล่าว ให้ จำเลย ออก ไป จาก ที่ดินพิพาท หลาย ครั้ง แต่ จำเลย เพิกเฉย ทำให้ โจทก์ เสียหาย ขอให้ บังคับขับไล่ จำเลย และ บริวาร ออก ไป จาก ที่ดินพิพาท กับ ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหายเดือน ละ 3,000 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง จนกว่า จำเลย และ บริวารจะ ออก ไป และ ให้ จำเลย ส่งมอบ โฉนด ที่ดินพิพาท คืน ให้ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ได้ ทำ สัญญาจะซื้อขาย ที่ดินพิพาท ไว้ กับโจทก์ จริง แต่ ตกลง กัน ไว้ ว่า จะ ชำระ ราคา ส่วน ที่ เหลือ และ จดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ กัน พร้อม กับ ที่นา ง ทองปาน ไป จดทะเบียน โอน ที่ดิน ส่วน ของ ตน ให้ แก่ บุตร แต่ ปรากฏว่า นาง ทองปาน ได้ ถึงแก่ความตาย ไป ก่อน โจทก์ จำเลย ยัง มิได้ ตกลง กัน ใหม่ ว่า จะ ไป จดทะเบียน โอนกัน เมื่อใด ครั้น เดือน มิถุนายน 2536 จำเลย ได้ บอกกล่าว ให้ โจทก์มา รับ เงิน ค่าที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ และ ไป จดทะเบียน โอน ให้ จำเลย แต่ โจทก์เพิกเฉย จำเลย จึง นำ เงิน จำนวน ดังกล่าว ไป วาง ไว้ ณ สำนักงานบังคับคดี และ วางทรัพย์ ภูมิภาค ที่ 4 เจ้าพนักงาน ได้ มี หมาย แจ้ง ให้โจทก์ ไป รับ เงิน แล้ว โจทก์ ก็ เพิกเฉย โจทก์ จึง เป็น ฝ่าย ผิดสัญญาไม่มี สิทธิ บอกเลิก และ เรียก ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย ได้ ขอให้ ยกฟ้อง
ก่อน สืบพยาน โจทก์ ยื่น คำร้องขอ ให้ ศาล วินิจฉัยชี้ขาด ข้อกฎหมายเบื้องต้น ว่า ที่ดินพิพาท มี กำหนด ห้ามโอน ห้า ปี ตาม พระราชบัญญัติจัด รูป ที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม พ.ศ. 2517 มาตรา 44 และ สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท ทำ ใน กำหนด เวลา ห้ามโอน ดังกล่าว จึง เป็น โมฆะ โดย ยอม สละประเด็น เรื่อง เรียก ค่าเสียหาย จำเลย ไม่ คัดค้าน
ศาลชั้นต้น เห็นว่า คดี พอ วินิจฉัย ได้ จึง ให้ งดสืบพยาน แล้ว พิพากษาว่า สัญญาจะซื้อขาย ที่ดินพิพาท ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ตกเป็น โมฆะเพราะ ไม่ชอบ ด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 และพระราชบัญญัติ จัด รูป ที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม พ.ศ. 2517 มาตรา 44ให้ ขับไล่ จำเลย และ บริวาร ออก ไป จาก ที่ดินพิพาท โฉนด เลขที่ 37743ตำบล บึงเนียม (ที่ ถูก ตำบล พระลับ ) อำเภอ เมืองขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น ให้ จำเลย ส่งมอบ โฉนด ที่ดินพิพาท คืน โจทก์
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ ตาม คำฟ้อง และ คำให้การ ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของร่วม ที่ดินพิพาท ตาม โฉนด เลขที่ 37743ตำบล พระลับ อำเภอ เมือง ขอนแก่น เมื่อ วันที่ 14 พฤษภาคม 2530โจทก์ ได้ ทำ สัญญาจะขาย ที่ดิน บางส่วน ให้ แก่ จำเลย ใน ราคา 60,000 บาทโจทก์ ได้ ส่งมอบ ที่ดิน ที่ จะขาย ให้ แก่ จำเลย แล้ว จำเลย ฎีกา ว่า สัญญาจะซื้อขาย ที่ดินพิพาท เป็น สัญญา ที่ สมบูรณ์ ไม่เป็น โมฆะ และ ปัญหาข้อกฎหมาย ดังกล่าว อยู่ นอกเหนือ คำฟ้อง และ คำให้การ การ ที่ ศาล งด สืบพยานโจทก์ และ พยาน จำเลย แล้ว วินิจฉัยชี้ขาด ประเด็น ข้อกฎหมายดังกล่าว จึง ไม่ชอบ เห็นว่า ที่ดินพิพาท เป็น ที่ดิน ที่ ได้รับ การ จัด รูปที่ดิน ตาม พระราชบัญญัติ จัด รูป ที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม พ.ศ. 2517ซึ่ง ใน กรณี นี้ พระราชบัญญัติ จัด รูป ที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม พ.ศ. 2517มาตรา 44 วรรคแรก บัญญัติ ว่า ภายใน กำหนด ห้า ปี นับแต่ วันที่ ได้รับหนังสือ แสดง สิทธิ ที่ดิน ใน เขต โครงการ จัด รูป ที่ดิน เจ้าของ ที่ดินหรือ ผู้ที่ได้รับ สิทธิ ใน ที่ดิน จะ โอนสิทธิ ใน ที่ดิน นั้น ไป ยัง ผู้อื่นมิได้ เว้นแต่ เป็น การ ตกทอด โดย ทาง มรดก หรือ โอน ไป ยัง สหกรณ์หรือ กลุ่ม เกษตรกร ที่ เป็น สมาชิก ฯ ที่ดินพิพาท ที่ โจทก์ จำเลย ทำ สัญญาจะซื้อขาย นี้ มี ข้อกำหนด ชัดแจ้ง ว่า ห้ามโอน ภายใน ห้า ปี ตาม มาตรา 44แห่ง พระราชบัญญัติ จัด รูป ที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม พ.ศ. 2517 นับแต่วันที่ 23 เมษายน 2528 แต่ โจทก์ กับ จำเลย ได้ ทำ สัญญาจะซื้อขายเมื่อ วันที่ 14 พฤษภาคม 2530 วัน ทำ สัญญา โจทก์ ได้รับ เงิน ค่าที่ดินเป็น ส่วน มาก ทั้ง ได้ ส่งมอบ ที่ดินพิพาท ให้ จำเลย ครอบครอง เป็น การหลีกเลี่ยง ข้อห้าม โอน ตาม มาตรา 44 และ การ ซื้อ ขาย ไม่ เข้า ข้อยกเว้น ตามกฎหมาย สัญญาจะซื้อขาย นี้ จึง ขัด ต่อมา ตรา 44 แห่ง พระราชบัญญัติจัด รูป ที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม พ.ศ. 2517 เป็น สัญญา ที่ มี วัตถุประสงค์ต้องห้าม ชัดแจ้ง โดย กฎหมาย ย่อม ตกเป็น โมฆะ ตาม ประมวล กฎหมาย แพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 113 ที่ ใช้ บังคับ อยู่ ใน ขณะ นั้น สัญญาจะซื้อขาย ที่ดินพิพาท ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย จึง ไม่มี ผลบังคับ ปัญหา นี้ เป็น ปัญหาเกี่ยวกับ ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน ทั้ง ข้อกำหนด ห้ามโอนที่ดินพิพาท ภายใน ห้า ปี นี้ ปรากฏ อยู่ ใน สำเนา โฉนด ที่ดิน เอกสาร ท้ายฟ้องหมายเลข 1 เป็น ข้อเท็จจริง ที่ ปรากฏ ใน สำนวน โดย ถูกต้อง ตาม วิธีพิจารณาศาล มีอำนาจ ยกขึ้น วินิจฉัย ได้ และ การ วินิจฉัยชี้ขาด ปัญหาข้อกฎหมายนี้ จะ ทำให้ คดี เสร็จ ไป ได้ ทั้ง เรื่อง ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา 24 วรรคสอง ดังนั้น ที่ ศาลชั้นต้น งดสืบพยาน โจทก์และ พยาน จำเลย แล้ว วินิจฉัยชี้ขาด ประเด็น ข้อกฎหมาย ดังกล่าว จึง ชอบแล้วศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา ชอบแล้ว ฎีกา ของ จำเลย ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share