คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

เมื่ออธิบดีกรมทะเบียนการค้าออกสิทธิบัตรการประดิษฐ์ม่านเหล็กบังตาชนิดติดกับประตูเหล็กแบบยืดและพับได้ให้แก่จำเลยแล้วต่อมาโจทก์ได้ยื่นคำร้องรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ใบม่านบังตาสำหรับเหล็กยืดจำเลยได้ยื่นคำคัดค้านต่ออธิบดีกรมทะเบียนการค้าอธิบดีกรมทะเบียนการค้าวินิจฉัยให้ยกคำคัดค้านของจำเลยจำเลยอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อคณะกรรมการสิทธิบัตรในระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการสิทธิบัตรจำเลยได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจให้ดำเนินคดีกับโจทก์เจ้าพนักงานตำรวจได้ยึดผลิตภัณฑ์ของโจทก์เป็นของกลางเมื่อผลิตภัณฑ์ของโจทก์มีลักษณะส่วนใหญ่หรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยมีข้อแตกต่างกันเพียงในรายละเอียดปลีกย่อยอาจทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าเป็นผลิตภัณฑ์ของจำเลยจึงมีเหตุที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตรพ.ศ.2522มาตรา36ให้มีสิทธิผลิตผลิตภัณฑ์หรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรหรือขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตหรือใช้กรรมวิธีผลิตแต่เพียงผู้เดียวการแจ้งความร้องทุกข์ของจำเลยจึงมิใช่เป็นการนำข้อความอันเป็นเท็จซึ่งจำเลยรู้อยู่แล้วไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานแต่เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตเพื่อคุ้มครองสิทธิของจำเลยจึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ การที่เจ้าพนักงานตำรวจอายัดและยึดทรัพย์สินต่างๆของโจทก์เป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนได้ใช้ดุลพินิจอายัดและยึดสิ่งของซึ่งน่าจะเป็นพยานหลักฐานเพื่อเป็นประโยชน์หรือยันผู้ต้องหาในคดีอาญาตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้อำนาจแก่พนักงานสอบสวนจึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายของพนักงานสอบสวนไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์หากเจ้าพนักงานตำรวจผู้ยึดมิได้ดูแลรักษาทรัพย์ของกลางเหมือนเช่นวิญญูชนพึงดูแลรักษาทรัพย์สินของตนเองก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องดำเนินคดีแก่เจ้าพนักงานตำรวจให้รับผิดต่อโจทก์ฐานละเมิดโจทก์จะมาเรียกร้องจากจำเลยไม่ได้แม้ตามบันทึกการตรวจค้นระบุว่าจำเลยยอมรับผิดต่อโจทก์ในการยึดและอายัดสิ่งของทั้งหมด

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย เป็น เงิน 6,286,362 บาทให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สี่ พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ในต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ และ ให้จำเลย ลง ประกาศ ขอ ขมา โจทก์ ทั้ง สี่ เกี่ยวกับ การกระทำ ละเมิด ของ จำเลยต่อ โจทก์ ใน หนังสือพิมพ์ รายวัน เดลิมิเล่อร์ (ที่ ถูก คือ เดลิมิเร่อร์ ) บ้านเมือง แนวหน้า และเดอะเนชั่น มี กำหนด ฉบับ ละ 7 วัน ติดต่อ กัน โดย ให้ จำเลย เป็น ผู้ เสีย ค่าใช้จ่าย
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย เป็น ผู้ทรง สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ ม่าน เหล็กบังตา ชนิด ติดกับ ประตู เหล็ก แบบ ยึด และ พับ ได้ ตาม สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์เลขที่ 261 จำเลย ได้รับ ความคุ้มครอง ตาม กฎหมาย มีสิทธิ จำหน่ายม่าน เหล็ก บังตา ตาม สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ ของ จำเลย แต่ ผู้เดียว โจทก์ทั้ง สี่ ร่วมกัน ผลิต ม่าน เหล็ก บังตา โดย ลอก เลียน หรือ ใช้ กรรมวิธีหรือ ใช้ แบบ ผลิตภัณฑ์ ตาม สิทธิบัตร ของ จำเลย โดย ไม่มี สิทธิ ตาม กฎหมายและ ร่วมกัน ขาย หรือ มีไว้ เพื่อ ขาย ม่าน เหล็ก บังตา ที่ ผลิต ขึ้น ดังกล่าวเป็น การ ละเมิด สิทธิบัตร ของ จำเลย จำเลย ร้องทุกข์ กล่าว โทษ โจทก์ตาม ความจริง โดยสุจริต โดย เชื่อ ว่า จำเลย มีสิทธิ และ ใช้ สิทธิ โดยชอบด้วย กฎหมาย การ ที่ เจ้าพนักงาน ตำรวจ ทำการ ตรวจค้น และ ยึด สิ่งของ ต่าง ๆของ โจทก์ ตลอด ทั้ง ห้าม โจทก์ มิให้ ผลิต ม่าน เหล็ก ตาม ฟ้อง เป็น การกระทำ ตาม อำนาจ หน้าที่ ของ เจ้าพนักงาน ตำรวจ เอง ไม่เกี่ยวกับ จำเลยการ ไข ข่าว ของ จำเลย ไม่เป็น ความเท็จ การกระทำ ของ จำเลย ไม่เป็นการ ละเมิด ไม่เสีย หาย ต่อ ส่วนตัว และ การค้า ของ โจทก์ ทั้ง สี่ หาก โจทก์เสียหาย ก็ เสียหาย ไม่เกิน คน ละ 1,000 บาท ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ ทั้ง สี่ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ทั้ง สี่ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ใน ชั้น นี้ ตาม ที่โจทก์ ทั้ง สี่ ฎีกา เป็น ข้อ แรก ว่า จำเลย ได้ กระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ ทั้ง สี่หรือไม่ ใน ปัญหา นี้ ศาลฎีกา ได้ พิเคราะห์ ใบ ม่าน บังตา สำหรับ ประตู เหล็กยึด ตาม ตัวอย่าง วัตถุ พยาน หมาย จ. 12 ซึ่ง โจทก์ ที่ 1 ผลิต ตรง ตาม ที่ปรากฏ ใน ภาพ แสดง แบบ ผลิตภัณฑ์ ตาม สำเนา คำขอ รับ สิทธิบัตร การ ออก แบบผลิตภัณฑ์ เอกสาร หมาย จ. 3 ของ โจทก์ ที่ 2 และ ม่าน เหล็ก บังตา ชนิดติดกับ ประตู เหล็ก แบบ ยึด และ พับ ได้ ตาม ตัวอย่าง วัตถุ พยาน หมาย ล. 1ซึ่ง เป็น ผลิตภัณฑ์ ตาม สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ เลขที่ 261 ของ จำเลย แล้วปรากฏว่า ใบ ม่าน บังตา สำหรับ ประตู เหล็ก ยึด ที่ โจทก์ ที่ 1 ผลิต มี ลักษณะส่วน ใหญ่ เป็น อย่างเดียว กับ ม่าน เหล็ก บังตา ชนิด ติดกับ ประตู เหล็กแบบ ยึด และ พับ ได้ ตาม ตัวอย่าง วัตถุ พยาน หมาย ล. 1 ของ จำเลย ซึ่ง เป็นผลิตภัณฑ์ ที่ ผลิต หรือ ใช้ กรรมวิธี ตาม สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ เลขที่ 261ของ จำเลย โดย มี ข้อแตกต่าง กัน เพียง ใน รายละเอียด ปลีกย่อย เช่น การม้วน ขอบ ใบ ม่าน บังตา ของ โจทก์ ที่ 1 ไม่มี การ หัก มุม ก่อน ที่ จะ มี การม้วน เป็น วงกลม ส่วน การ ม้วน ขอบ ม่าน เหล็ก บังตา ของ จำเลย มี การ หักเป็น มุม ฉาก ก่อน ที่ จะ ม้วน เป็น ก้น หอย ปลาย ข้าง หนึ่ง ของ ใบ ม่าน บังตาของ โจทก์ ที่ 1 ม้วน เป็น วงกลม ส่วน ของ จำเลย ม้วน เป็น รูป ก้น หอยลอนและ แบบ บน ใบ ม่าน ของ โจทก์ ที่ 1 หยัก ขึ้น เป็น รูป โค้ง มน ส่วน ของจำเลย หยัก ขึ้น เป็น มุม แหลม ซึ่ง ข้อแตกต่าง ดังกล่าว เห็น ได้ว่า เป็น ข้อแตกต่าง ปลีกย่อย เล็กน้อย มาก อาจ ทำให้ บุคคล ทั่วไป เข้าใจ ว่าใบ ม่าน บังตา ที่ โจทก์ ที่ 1 ผลิต ดังกล่าว เป็น ม่าน เหล็ก บังตา ของจำเลย ซึ่ง ได้รับ สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ เลขที่ 261 ได้ ดังนั้น เมื่อจำเลย ให้ นาย ปรีชา วรรณละเอียด ไป ซื้อ ใบ ม่าน บังตา สำหรับ ประตู เหล็ก ยึด จาก โจทก์ ที่ 1 และ โจทก์ ที่ 1 ให้ ไป รับ ใบ ม่าน บังตา ดังกล่าวจาก โจทก์ ที่ 3 โดย โจทก์ ที่ 3 ออก ใบ ส่ง ของ ชั่วคราว และ โจทก์ ที่ 1ออก ใบเสร็จรับเงิน สำหรับ ใบ ม่าน บังตา ดังกล่าว ให้ ก่อน จำเลย แจ้งความร้องทุกข์ ต่อ ผู้บังคับการ กองปราบปราม ให้ ดำเนินคดี แก่ โจทก์ ทั้ง สี่จึง มีเหตุ ที่ จำเลย ซึ่ง เป็น ผู้ทรง สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ เลขที่ 261และ ได้รับ ความคุ้มครอง ตาม พระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522มาตรา 36 ให้ มีสิทธิ ผลิต ผลิตภัณฑ์ หรือ ใช้ กรรมวิธี ตาม สิทธิบัตรหรือ ขาย หรือ มีไว้ เพื่อ ขาย ซึ่ง ผลิตภัณฑ์ ที่ ผลิต หรือ ใช้ กรรมวิธีดังกล่าว แต่เพียง ผู้เดียว เข้าใจ โดยสุจริต ว่า โจทก์ ทั้ง สี่ ได้ ร่วมกันผลิต และ ขาย ใบ ม่าน บังตา สำหรับ ประตู เหล็ก ยืด เป็น อย่างเดียว กับม่าน เหล็ก บังตา ชนิด ติดกับ ประตู เหล็ก แบบ ยืด และ พับ ได้ ของ จำเลยที่ ได้รับ สิทธิบัตร นั้น โดย ไม่มี สิทธิ ตาม กฎหมาย ทำให้ จำเลย เสียหายเป็น ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 85 และ 86การ ที่ จำเลย แจ้งความ ร้องทุกข์ ต่อ ผู้บังคับการ กองปราบปราม ให้ดำเนินคดี อาญา แก่ โจทก์ ทั้ง สี่ ตาม พระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522มาตรา 85 และ 86 ตาม สำเนา หนังสือ แจ้งความ ร้องทุกข์ เอกสารหมาย จ. 19 แผ่น ที่ 243 ถึง แผ่น ที่ 245 เมื่อ วันที่ 7 มิถุนายน 2528นั้น จึง มิใช่ เป็น การ นำ ข้อความ อันเป็นเท็จ ซึ่ง จำเลย รู้ อยู่ แล้ว ไปแจ้งความ ร้องทุกข์ ต่อ ผู้บังคับการ กองปราบปราม ให้ ดำเนินคดี แก่โจทก์ ทั้ง สี่ แต่ เป็น การ ใช้ สิทธิ โดยสุจริต เพื่อ คุ้มครอง สิทธิ ของจำเลย ที่ จำเลย เข้าใจ โดยสุจริต ว่า โจทก์ ทั้ง สี่ ได้ ละเมิด การ แจ้งความร้องทุกข์ ของ จำเลย ดังกล่าว จึง ไม่เป็น การกระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ ทั้ง สี่ส่วน ที่ เจ้าพนักงาน ตำรวจ กองปราบปราม ได้ ตรวจค้น โรงงาน ของ โจทก์ที่ 3 แล้ว อายัด และ ยึดทรัพย์สิน ต่าง ๆ ของ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 3 ตามสำเนา บันทึก การ ตรวจค้น เอกสาร หมาย จ. 19 แผ่น ที่ 119 และ 120 และ สำเนาบัญชี ของกลาง คดีอาญา เอกสาร หมาย จ. 19 แผ่น ที่ 074 และ 075 นั้นเป็น กรณี ที่ พนักงานสอบสวน ได้ ใช้ ดุลพินิจ อายัด และ ยึด สิ่งของ ซึ่ง น่าจะ ใช้ เป็น พยานหลักฐาน เพื่อ เป็น ประโยชน์ หรือ ยัน ผู้ต้องหา หรือ จำเลยใน คดีอาญา ตาม ที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้ อำนาจแก่ พนักงานสอบสวน เช่นนั้น การ อายัด และ ยึดทรัพย์สิน ดังกล่าว ของโจทก์ ที่ 1 และ ที่ 3 จึง เป็น การกระทำ โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ พนักงานสอบสวน ไม่เป็น การกระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 3 อย่างไร ก็ ตามหาก เจ้าพนักงาน ตำรวจ ผู้ ยึด มิได้ ดูแล รักษา ทรัพย์ ของกลาง เหมือน เช่นวิญญูชน พึง ดูแล รักษา ทรัพย์สิน ของ ตนเอง ปล่อย ให้ ตาก แดด ตาก ฝนทำให้ เกิด สนิม ต้อง ขาย เป็น เศษ เหล็ก เสียหาย เป็น เงิน 10,312 บาทและ การ ที่ ต้อง จ้าง ช่าง มา ล้าง และ ซ่อม เครื่องจักร เป็น เงิน 76,450 บาทจะ ทำให้ เจ้าพนักงาน ตำรวจ ต้อง รับผิด ฐาน ละเมิด ต่อ โจทก์ ก็ เป็น เรื่องที่ โจทก์ จะ ต้อง ดำเนินคดี แก่ เจ้าพนักงาน ตำรวจ นั้น หาใช่ เป็น เรื่องที่ โจทก์ จะ เรียกร้อง จาก จำเลย ไม่ ดังนั้น แม้ บันทึก การ ตรวจค้น ได้ระบุ ด้วย ว่า จำเลย ยอมรับ ผิด ใน การ ยึด และ อายัด สิ่งของ ทั้งหมด นั้น จำเลยก็ ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 3 ใน การ ที่ พนักงานสอบสวน ได้อายัด และ ยึดทรัพย์สิน ดังกล่าว แต่อย่างใด และ ที่ โจทก์ ทั้ง สี่ ฎีกาว่า จำเลย ให้ ข่าว แก่ ผู้สื่อข่าว หนังสือพิมพ์ ว่า โรงงาน ของ โจทก์ เป็นโรงงาน เถื่อนทำให้ หนังสือพิมพ์ ลงข่าว แพร่หลาย ไป ทั่ว ประเทศ เป็นเหตุให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย นั้น ปรากฏ จาก ข่าว หนังสือพิมพ์ เอกสารหมาย จ. 23 ว่า หนังสือพิมพ์ เดลิมิเร่อร์ บ้านเมือง แนวหน้า และ เดอะเนชั่น ได้ ลงข่าว การ ตรวจค้น และ ยึด ของกลาง ดังกล่าว ตาม เหตุการณ์ ที่ เกิดขึ้น จริง คง มี เพียง หนังสือพิมพ์ แนวหน้า ฉบับ เดียว ที่ พาด หัว ข่าว ว่า จับ โรงงาน เถื่อน ซึ่ง การ ที่ หนังสือพิมพ์ ลงข่าวดังกล่าว ก็ ได้ความ ตาม ทางนำสืบ ของ โจทก์ ว่า ใน การ ที่ เจ้าพนักงาน ตำรวจกองปราบปราม ไป ตรวจค้น โรงงาน ของ โจทก์ ที่ 3 และ อายัด และ ยึดทรัพย์สินต่าง ๆ ของ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 3 นั้น มี ผู้สื่อข่าว หนังสือพิมพ์ ประจำกองปราบปราม ติดตาม ไป ทำ ข่าว ด้วย และ ที่ หนังสือพิมพ์ แนวหน้า พาด หัว ข่าว ว่า จับ โรงงาน เถื่อนนั้น โจทก์ ก็ ไม่มี พยานหลักฐาน มา สืบ ว่าจำเลย ได้ ให้ หนังสือพิมพ์ ดังกล่าว ลง ข้อความ เช่นนั้น จึง ฟัง ไม่ได้ ว่าจำเลย ได้ ให้ ข่าว แก่ ผู้สื่อข่าว หนังสือพิมพ์ เป็น การ ไข ข่าว แพร่หลายซึ่ง ข้อความ อันเป็นเท็จ ทำให้ โจทก์ ทั้ง สี่ ได้รับ ความเสียหาย แต่อย่างใด จำเลย จึง ไม่ได้ กระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ ทั้ง สี่ ฎีกา ของ โจทก์ทั้ง สี่ ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
ส่วน ที่ โจทก์ ทั้ง สี่ ฎีกา ต่อไป ว่า โจทก์ ทั้ง สี่ อุทธรณ์ ว่าม่าน เหล็ก บังตา ที่ จำเลย ขอรับ สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ เป็น การ ประดิษฐ์ที่ มี หรือ ใช้ แพร่หลาย อยู่ แล้ว ก่อน วันที่ จำเลย ขอรับ สิทธิบัตร อธิบดีกรมทะเบียนการค้า ออก สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ เลขที่ 261 ให้ จำเลยโดย หลงผิด และ ฝ่าฝืน ต่อมา ตรา 5 ตาม พระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522สิทธิบัตร นั้น ไม่สมบูรณ์ จำเลย ไม่ได้ รับ การ คุ้มครอง ตาม กฎหมายการ ที่ ศาลอุทธรณ์ ไม่รับ วินิจฉัย อุทธรณ์ ดังกล่าว ของ โจทก์ ทั้ง สี่โดย เห็นว่า มิใช่ ข้อ ที่ ได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้วแต่ ศาลชั้นต้น เป็น การไม่ชอบ นั้น เห็นว่า พระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 54วรรคหนึ่ง บัญญัติ ว่า “สิทธิบัตร ใด ได้ ออก ไป โดย ไม่ชอบ ด้วย มาตรา 5มาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 หรือ มาตรา 14 ให้ ถือว่า สิทธิบัตรนั้น ไม่สมบูรณ์ ” และ วรรคสอง บัญญัติ ว่า “ความ ไม่สมบูรณ์ ตาม วรรคหนึ่งบุคคล ใด จะ กล่าวอ้าง ขึ้น ก็ ได้ หรือ บุคคล ผู้มีส่วนได้เสีย หรือ พนักงานอัยการ จะ ฟ้อง ต่อ ศาล ขอให้ เพิกถอน สิทธิบัตร นั้น ก็ ได้ ” โจทก์ ทั้ง สี่ จึงมีสิทธิ ที่ จะ กล่าวอ้าง ได้ว่า สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ เลขที่ 261 ของจำเลย ไม่สมบูรณ์ เพราะ ได้ ออก ไป โดย ไม่ชอบ ด้วย มาตรา 5ของ พระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ปัญหา ว่า สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์เลขที่ 261 ของ จำเลย เป็น สิทธิบัตร ที่ สมบูรณ์ หรือไม่ นั้น เป็น ปัญหาอัน เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน แม้ โจทก์ ทั้ง สี่ ไม่ได้ยก ปัญหา ดังกล่าว ขึ้น กล่าว ใน ศาลชั้นต้น โจทก์ ทั้ง สี่ ก็ มีสิทธิ ที่ จะ ยกปัญหา นั้น ขึ้น อุทธรณ์ ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ จึง ชอบ ที่ จะ วินิจฉัย อุทธรณ์ ข้อดังกล่าว ของ โจทก์ ทั้ง สี่ ฎีกา ของ โจทก์ ทั้ง สี่ ข้อ นี้ ฟังขึ้นอย่างไร ก็ ตาม เมื่อ คดี ฟังได้ ดัง ได้ วินิจฉัย มา ข้างต้น ว่า จำเลย ได้แจ้งความ ร้องทุกข์ ต่อ ผู้บังคับการ กองปราบปราม ให้ ดำเนินคดี อาญา แก่โจทก์ ทั้ง สี่ ตาม พระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 โดย จำเลย เข้าใจโดยสุจริต ว่า โจทก์ ทั้ง สี่ ได้ ร่วมกัน ผลิต และ ขาย ใบ ม่าน บังตา สำหรับประตู เหล็ก เป็น อย่างเดียว กับ ม่าน เหล็ก บังตา ชนิด ติดกับ ประตูเหล็ก แบบ ยึด และ พับ ได้ ตาม สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ เลขที่ 261 ของ จำเลยที่ จำเลย ได้รับ ความคุ้มครอง ให้ ผลิต ผลิตภัณฑ์ หรือ ใช้ กรรมวิธีตาม สิทธิบัตร หรือ ขาย หรือ มีไว้ เพื่อ ขาย ซึ่ง ผลิตภัณฑ์ ซึ่ง ผลิต หรือ ใช้กรรมวิธี ดังกล่าว แต่เพียง ผู้เดียว ตาม มาตรา 36 แห่ง พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 จำเลย จึง ไม่ได้ กระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ ทั้ง สี่แล้ว แม้ ต่อมา ปรากฏว่า สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ เลขที่ 261 ของ จำเลยเป็น สิทธิบัตร ที่ ไม่สมบูรณ์ เพราะ ได้ ออก ฝ่าฝืน ต่อมา ตรา 5 ของพระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ทำให้ จำเลย ไม่ได้ รับ ความคุ้มครองตาม มาตรา 36 แห่ง พระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ก็ ตาม แต่เมื่อใน ขณะที่ แจ้งความ ร้องทุกข์ ต่อ ผู้บังคับการ กองปราบปราม จำเลย เชื่อโดยสุจริต ว่า จำเลย เป็น ผู้ทรง สิทธิบัตร เช่นนั้น โดยชอบ การ ที่ จำเลยแจ้งความ ร้องทุกข์ ต่อ ผู้บังคับการ กองปราบปราม เช่นนั้น จึง หา เป็นการ ละเมิด ต่อ โจทก์ ทั้ง สี่ ไม่ กรณี จึง ไม่มี ความจำเป็น ที่ จะ ต้องวินิจฉัย ฎีกา ของ โจทก์ ว่า สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ เลขที่ 261 ของจำเลย ไม่สมบูรณ์ หรือไม่ เพราะ ไม่อาจ ทำให้ ผล ของ คดี นี้เปลี่ยนแปลง ไป เป็น อย่างอื่น ได้ ”
พิพากษายืน

Share