คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6169/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องให้จำเลยคืนข้าวเปลือกที่ฝากไว้ถ้าคืนไม่ได้ให้ชดใช้ราคาข้าวเปลือกเป็นการใช้สิทธิเรียกคืนทรัพย์ที่ฝากในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ใช่เรียกร้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนดังนั้นเมื่อจำเลยยังไม่คืนทรัพย์ที่ฝากโจทก์ก็มีสิทธิติดตามเรียกคืนได้ตลอดเวลาที่ทรัพย์ที่ฝากยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่ส่วนการให้ชดใช้ราคานั้นเป็นขั้นตอนที่โจทก์จะขอบังคับคดีเอาแก่จำเลยเมื่อจำเลยคืนทรัพย์ที่ฝากไม่ได้เท่านั้นคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2523 โจทก์ ได้ ทำ สัญญาเช่า ฉางจาก จำเลย จำนวน 2 ฉาง เพื่อ เป็น สถานที่ เก็บรักษาข้าวเปลือก ที่ รับ ซื้อ ไว้ มี กำหนด 12 เดือน นับแต่ วันที่ 1 กุมภาพันธ์2523 ถึง วันที่ 31 กรกฎาคม 2524 อัตรา ค่าเช่า เกวียน ละ 110 บาทต่อ ปี โดย จำเลย มี หน้าที่ ตาม สัญญา ใน ฐานะ ผู้รับ ฝากทรัพย์ คือ เมื่อจำเลย รับมอบ ข้าวเปลือก จาก คณะกรรมการ รับ ซื้อ ข้าวเปลือก ใน ระดับอำเภอ แล้ว จำเลย จะ ต้อง ดูแล และ ทำ บัญชี คุม สต๊อก ข้าวเปลือกที่ รับมอบ ไว้ เป็น หลักฐาน หาก โจทก์ ประสงค์ จะ นำ ข้าวเปลือก ออกจากฉางดังกล่าว จำเลย จะ ต้อง ส่งมอบ ข้าวเปลือก ให้ ทันที ห้าม จำเลยนำ ออก มา จำหน่าย จ่าย โอน แก่ บุคคลอื่น เว้นแต่ จะ ได้รับ อนุญาต จาก โจทก์หรือ ผู้แทน โจทก์ เท่านั้น โจทก์ ได้ ส่งมอบ ข้าวเปลือก ทั้งหมด ให้จำเลย เก็บรักษา ไว้ ใน ฉางที่ เช่า ซึ่ง จำเลย ได้ ลงชื่อ รับมอบ ไว้ แล้วขอให้ บังคับ ให้ จำเลย คืน ข้าวเปลือก ตาม ชนิด และ จำนวน ที่ ขาด น้ำหนักสูญหาย หาก ไม่สามารถ คืน ก็ ให้ ชดใช้ ราคา เป็น เงิน จำนวน1,931,783.65 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีใน ต้นเงิน 1,338,714.67 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไปจนกว่า จะ ชำระ แก่ โจทก์ เสร็จสิ้น
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ได้ ทำ สัญญา ให้ โจทก์ เช่า ฉางตาม ฟ้อง จริง โดย จำเลย เป็น ผู้ จัดทำ บัญชี คุม สต็อก ข้าว ไว้ เป็น หลักฐานแต่ จำเลย ไม่ได้ ตกลง ทำ หนังสือ สัญญารับฝาก ข้าว กับ โจทก์ แต่อย่างใดดังนั้น หาก ข้าว เกิด สูญหาย เสียหาย ไป ก็ ดี จำเลย ไม่มี หน้าที่ ต้องรับผิดชอบ ต่อ โจทก์ ตาม ที่ โจทก์ บรรยายฟ้อง นั้น เป็น การ เรียก เอาราคา ทรัพย์ ที่ ฝาก จึง เป็น การ เรียก ค่าสินไหมทดแทน เกี่ยว แก่ การ ฝากทรัพย์ เมื่อ มา ฟ้อง เกิน 6 เดือน นับแต่ วัน สิ้น สัญญา คือ วันที่1 กุมภาพันธ์ 2524 คดี โจทก์ จึง ขาดอายุความ และ การ ที่ สัญญาเช่าครบ กำหนด ใน วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2524 เป็น การ สิ้นสุด แห่ง การ เช่าก็ เป็น การ ระบุ เวลา สิ้นสุด ที่ แน่นอน โจทก์ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา ไม่ชำระค่าเช่า งวด ที่ 2 ซึ่ง ต้อง ชำระ ภายใน 60 วัน นับแต่ วันสิ้นสุด สัญญาดังนั้น สัญญา จึง เลิกกัน จำเลย ไม่มี หน้าที่ ต้อง ปฎิบัติตาม สัญญา อีกต่อไป การ เสียหาย สูญหาย ของ ข้าวเปลือก หาก มี ก็ ถือ เป็น ความเสียหายของ โจทก์ เอง ขอให้ ยกฟ้อง
ใน ระหว่าง สืบพยานโจทก์ จำเลย สละ ประเด็น พิพาทข้อ เรื่อง อำนาจฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา ประเด็น ข้อพิพาท เรื่อง อายุความ โดยมิได้ วินิจฉัย ประเด็น ข้อพิพาท ว่า จำเลย จะ ต้อง คืน หรือ ใช้ ราคา ทรัพย์หรือไม่ แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ จำเลย คืน ข้าวเปลือก ให้โจทก์ ตาม ฟ้อง หาก ไม่สามารถ คืน ให้ ได้ ก็ ให้ ชดใช้ ราคา เป็น เงิน1,931,783.65 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีของ ต้นเงิน 1,338,714.67 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง ไป จนกว่า จะชำระ เสร็จสิ้น
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ จำเลย ฎีกา ว่า โจทก์ จำเลย ทำ สัญญาเช่า ฉางตาม ฟ้อง เมื่อ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2523 สิทธิเรียกร้องที่ จะ เริ่ม นับ อายุความ จึง เกิด แล้ว ตั้งแต่ วัน ทำ สัญญา ไม่ใช่ เริ่ม นับตั้งแต่ วันสิ้นสุด สัญญา เช่น ดัง ที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 671 บัญญัติ ไว้ โจทก์ ฟ้องคดี นี้ เมื่อ วันที่ 24 มกราคม 2534เมื่อ นับ จาก วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2523 เกิน 10 ปี คดี โจทก์ จึง ขาดอายุความ (ตาม มาตรา 193/12 หรือ ถ้าหาก โจทก์ อ้างว่า จำเลย รับ ฝากทรัพย์ ก็ นับ ว่า โจทก์ เรียกร้อง ให้ ใช้ ค่าสินไหมทดแทน เกี่ยว แก่ การ ฝากทรัพย์ คดี โจทก์ จึง ขาดอายุความ ) ตาม มาตรา 671 อีก เช่นกัน เห็นว่าตาม ใจความ ตาม สัญญาเช่า ฉางเอกสาร หมาย จ. 88 หรือ ล. 2ข้อ ที่ 4 กับ ข้อ ที่ 6 ระบุ ว่า จำเลย ผู้ให้เช่า ฉางมี หน้าที่ ความรับผิด ใน การ เก็บรักษา ข้าวเปลือก ที่ โจทก์ ให้ เช่า นำเข้า เก็บรักษาถ้า ผู้เช่า มี ความ ประสงค์ นำ ข้าวเปลือก ออกจาก ฉางที่ เช่า เมื่อใดผู้เช่า จะ แสดง ให้ ทราบ เป็น หนังสือ ถ้า เกิด ความเสียหาย หรือ สูญหาย ขึ้นผู้ให้เช่า ต้อง รับผิดชอบ และ ยินยอม รับผิด ชดใช้ ราคา ข้าวเปลือกที่ ผิด ชนิด หรือ ขาด จำนวน ฉะนั้น แม้ ข้อความ ใน สัญญา ระบุ ว่า เป็น สัญญาเช่า ฉางเอกชน โดย โจทก์ จำเลย เป็น ผู้เช่า ผู้ให้เช่า ตามลำดับแต่ การ ตีความ แสดง เจตนา นั้น ท่าน ให้ เพ่งเล็ง ถึง เจตนา อัน แท้จริงยิ่งกว่า ถ้อยคำ สำนวน ตาม ตัวอักษร เห็น ได้ ตาม ใจความ สัญญา ว่าโจทก์ จำเลย มุ่ง ประสงค์ ให้ จำเลย ผู้ให้เช่า ฉางมี หน้าที่ ความรับผิดเป็น ผู้รับ ฝาก ข้าวเปลือก อีก ด้วย คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง จำเลย เรียก ให้ จำเลยคืน ข้าวเปลือก ที่ ฝาก ไว้ ถ้า คืน ไม่ได้ ให้ ชดใช้ ราคา ข้าวเปลือกเป็น การ ใช้ สิทธิ เรียกคืน ทรัพย์ ที่ ฝาก ใน ฐานะ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ไม่ใช่ เรียกร้อง ให้ จำเลย ชำระ ค่าสินไหมทดแทน ดังนั้น เมื่อ จำเลยยัง ไม่คืน ทรัพย์ ที่ ฝาก โจทก์ ก็ มีสิทธิ ติดตาม เรียกคืน ได้ ตลอด เวลาที่ ทรัพย์ ที่ ฝาก ยัง เป็น กรรมสิทธิ์ ของ โจทก์ อยู่ ส่วน การ ให้ ชดใช้ ราคานั้น เป็น ขั้นตอน ที่ โจทก์ จะ ขอบังคับคดี เอา กับ จำเลย เมื่อ จำเลยคืน ทรัพย์ ที่ ฝาก ไม่ได้ เท่านั้น คดี ของ โจทก์ จึง ไม่ขาดอายุความและ ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อเท็จจริง เชื่อ ว่า จำเลย ทำให้ ข้าวเปลือก สูญหายจริง ตาม ฟ้อง จำเลย จึง ต้อง ชดใช้ ข้าวเปลือก หรือ คืน ราคา ข้าวเปลือกให้ แก่ โจทก์
พิพากษายืน

Share