คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

กฎมหาเถรสมาคมฉบับที่18ลงวันที่30มีนาคม2536ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ.2505ระบุว่า”ไวยาวัจกร”หมายถึงคฤหัสถ์ผู้ได้รับแต่งตั้งและจะมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดได้ตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ ไวยาวัจกร ผู้ได้รับแต่งตั้งก่อนวันใช้กฎมหาเถรสมาคมนี้ให้ถือว่าเป็นไวยาวัจกรตามกฎมหาเถรสมาคมต่อไปเมื่อนาย ป.ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าอาวาสวัดผู้คัดค้านให้เป็นไวยาวัจกรเมื่อวันที่1มีนาคม2536โดยอาศัยอำนาจตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่8จึงถือว่าเป็นไวยาวัจกรอยู่ย่อมมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดได้ตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ แม้ตามคำร้องคัดค้านระบุยืนยันว่านาย ป. มีอำนาจเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของผู้คัดค้านโดยมิได้แนบหนังสือมอบหมายของเจ้าอาวาสก็ตามแต่ก่อนสืบพยานผู้คัดค้านก็ได้แถลงขอส่งหนังสือมอบอำนาจลงวันที่ก่อนวันยื่นคำร้องคัดค้านซึ่งมีเจ้าอาวาสวัดผู้คัดค้านลงนามและในชั้นสืบพยานเจ้าอาวาสก็มาเบิกความยืนยันรับรองหนังสือมอบอำนาจจึงฟังได้ว่าเจ้าอาวาสได้มอบหมายเป็นหนังสือให้นาย ป.ไวยาวัจกรมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของผู้คัดค้านก่อนยื่นคำร้องคดีนี้ ที่ดินเป็นมรดกของพระครู ส. ตกได้แก่ผู้คัดค้านจึงเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านการดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของวัดเป็นการจัดการทรัพย์สินอย่างหนึ่งนาย ป. ย่อมมีอำนาจจัดการจึงมีสิทธิแต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินคดีนี้ได้คำร้องที่ทนายความซึ่งนาย ป. แต่งตั้งและได้ยื่นต่อศาลจึงสมบูรณ์

ย่อยาว

กรณี สืบเนื่อง จาก ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ตั้ง นาย ปรีชา พึ่งสาย ผู้ร้อง เป็น ผู้จัดการมรดก ตาม พินัยกรรม ของ พระครู สุวรรณสุนทร หรือ ทองหล่อ สิงห์ครุ ผู้ มรณภาพ
ผู้คัดค้าน ยื่น คำร้องขอ ว่า ผู้ร้อง ใช้ อำนาจ ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดกกระทำการ ให้ เป็น ที่ เสียหาย แก่ ผู้คัดค้าน โดย เบียดบัง และ ยักย้ายที่ดิน โฉนด เลขที่ 958 ซึ่ง ตาม กฎหมาย แล้ว ต้อง ตกเป็น ทรัพย์มรดกแก่ ผู้คัดค้าน ทั้ง ผู้ร้อง มิได้ จัดทำ บัญชีทรัพย์ มรดก ภายใน 15 วันซึ่ง ทำให้ ผู้ร้อง ขาด คุณสมบัติ ที่ จะ เป็น ผู้จัดการมรดก ของ ผู้ มรณภาพอีก ต่อไป ขอให้ ศาล มี คำสั่ง เพิกถอน ผู้ร้อง ออกจาก การ เป็น ผู้จัดการมรดกของ ผู้ มรณภาพ และ แต่งตั้ง นาย ปรุง ฟักแก้ว เป็น ผู้จัดการมรดก ของ ผู้ มรณภาพ แทน ผู้ร้อง ยื่น คำร้องคัดค้าน ว่า นาย ปรุง ฟักแก้ว ไม่มี อำนาจ ดำเนินคดี แทน ผู้คัดค้าน ผู้ร้อง มิได้ กระทำการ เบียดบัง ยักย้ายทรัพย์มรดก ของ ผู้ มรณภาพ เพื่อ ตนเอง แต่ กระทำการ แบ่งแยก ที่ดินโฉนด เลขที่ 958 และ โอน ที่ดิน ที่ แบ่งแยก แล้ว ให้ ผู้อื่นตาม เจตนารมณ์ ของ ผู้ มรณภาพ ที่ จัดการ ทรัพย์มรดก อื่น ล่าช้า เพราะต้นฉบับ โฉนด อยู่ ใน ความ ครอบครอง ของ บุคคลอื่น และ ที่ ไม่ได้ จัดทำบัญชีทรัพย์ มรดก เพราะ ไม่ทราบ ว่า กฎหมาย กำหนด หน้าที่ ดังกล่าว ไว้คำร้องของผู้คัดค้าน เคลือบคลุม ขอให้ มี คำสั่ง ยกคำร้อง ขอ ของผู้คัดค้าน ศาลชั้นต้น ไต่สวน แล้ว มี คำสั่ง ให้ นาย ปรีชา พึ่งสาย ผู้ร้อง เป็น ผู้จัดการมรดก ตาม พินัยกรรม แบบ เอกสาร ฝ่าย เมือง ลงวันที่31 มีนาคม 2532 ของ พระครู สุวรรณสุนทรหรือทองหล่อ สิงห์ครุ ผู้ มรณภาพ โดย ให้ จัดการ เฉพาะ ทรัพย์มรดก ตาม พินัยกรรม คือ ที่ดินโฉนด เลขที่ 957 แขวง ทุ่งครุ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร เท่านั้น และ มี คำสั่ง ตั้ง ให้ นาย ปรุง ฟักแก้ว เป็น ผู้จัดการมรดก ของ พระครู สุวรรณสุนทรหรือทองหล่อ สิงห์ครุ ผู้ มรณภาพ อีก คนหนึ่ง โดย ให้ จัดการ ทรัพย์มรดก อื่น ของ ผู้ มรณภาพ นอกเหนือ จาก ที่ดินโฉนด เลขที่ 957 ให้ ผู้ร้อง และ นาย ปรุง ฟักแก้ว มีสิทธิ และ หน้าที่ ตาม กฎหมาย ผู้ร้อง อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน ผู้ร้อง ฎีกา ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ตาม กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2536)ลงวันที่ 30 มีนาคม 2536 ซึ่ง ออก โดย อาศัย อำนาจ ตาม ความในมาตรา 12 ทวิ และ มาตรา 23 แห่ง พระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505มหาเถรสมาคม ตรา กฎมหาเถรสมาคม ไว้ ดัง ต่อไป นี้ ข้อ 4 ใน กฎมหาเถรสมาคมนี้ “ไวยาวัจกร ” หมายถึง คฤหัสถ์ ผู้ได้รับ แต่งตั้ง และ จะ มีอำนาจหน้าที่ ดูแล รักษา จัดการ ทรัพย์สิน ของ วัด ได้ ตาม ที่ เจ้าอาวาส มอบหมายเป็น หนังสือ ข้อ 5 ไวยาวัจกร ผู้ได้รับ แต่งตั้ง อยู่ ก่อน วัน ใช้กฎมหาเถรสมาคม นี้ ให้ ถือว่า เป็น ไวยาวัจกร ตาม กฎมหาเถรสมาคม ต่อไปข้อเท็จจริง ได้ความ ว่า นาย ปรุง ได้รับ แต่งตั้ง จาก พระ สำรวย ปัญญาวุโธ เจ้าอาวาส วัด ครุใน ผู้คัดค้าน ให้ เป็น ไวยาวัจกร ของ วัด ครุใน เมื่อ วันที่ 1 มีนาคม 2536 โดย อาศัย อำนาจ ตาม ความ ใน ข้อ 5 แห่ง กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2506) จึง ถือว่าเป็น ไวยาวัจกร ตาม กฎมหาเถรสมาคม อยู่ ย่อม มีอำนาจ หน้าที่ ดูแลรักษา จัดการ ทรัพย์สิน ของ วัด ได้ ตาม ที่ เจ้าอาวาส มอบหมาย เป็น หนังสือตาม กฎมหาเถรสมาคม ข้อ 4 ข้างต้น ตาม คำร้องของ ผู้คัดค้าน ก็ ระบุยืนยัน ว่า นาย ปรุง มีอำนาจ เกี่ยวกับ การ จัดการ ทรัพย์สิน ของ ผู้คัดค้าน แม้ ขณะ ยื่น คำคัดค้าน จะ มิได้ แนบ หนังสือมอบอำนาจ ของเจ้าอาวาส ก็ ตาม แต่ ระหว่าง พิจารณา ก่อน สืบพยาน ผู้คัดค้าน ก็ ได้ แถลงขอส่ง หนังสือมอบอำนาจ เอกสาร หมาย ค.1 ซึ่ง มี พระ สำรวย เจ้าอาวาส วัด ครุใน ผู้คัดค้าน ลงนาม โดย หนังสือ ดังกล่าว ระบุ ว่า ทำ วันที่ 15 พฤษภาคม 2536 ก่อน วันที่ ผู้คัดค้าน ยื่น คำร้อง คดี นี้ ทั้ง ระบุ ว่าให้ มีอำนาจ ฟ้องคดี ผู้ร้อง เกี่ยวกับ ทรัพย์สิน อันเป็น มรดก ของพระครู สุวรรณสุนทร ต่อมา ใน ชั้น สืบพยาน พระ สำรวย ก็ เบิกความ เป็น พยาน รับรอง หนังสือมอบอำนาจ เอกสาร หมาย ค.1 ดังนี้ ฟังได้ ว่าพระ สำรวย เจ้าอาวาส ได้ มอบหมาย เป็น หนังสือ ให้ นาย ปรุง ไวยาวัจกร มีอำนาจ จัดการ ทรัพย์สิน ของ ผู้คัดค้าน ก่อน ผู้คัดค้าน ยื่น คำร้องคดี นี้ แล้ว ที่ดิน โฉนด เลขที่ 958 เป็น มรดก ของ พระครู สุวรรณสุนทร ตก ได้ แก่ ผู้คัดค้าน จึง เป็น ทรัพย์สิน ของ ผู้คัดค้าน การ ดำเนินคดีเกี่ยวกับ ทรัพย์สิน ของ วัด เป็น การ จัดการ ทรัพย์สิน อย่างหนึ่งนาย ปรุง ย่อม มีอำนาจ จัดการ จึง มีสิทธิ แต่งตั้ง ทนายความ เพื่อ ดำเนินคดี นี้ ได้ คำร้อง ที่ ทนายความ ซึ่ง นาย ปรุง แต่งตั้ง และ ได้ ยื่น ต่อ ศาล จึง สมบูรณ์ พิพากษายืน

Share