แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
แม้โจทก์จะมีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานเพียงปากเดียวแต่เมื่อพิจารณาประกอบพยานหลักฐานทั้งหมดในท้องสำนวนแล้วก็ใช้รับฟังลงโทษจำเลยได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย กับ พวก อีก สอง คน ร่วมกัน ปล้น ทรัพย์ ของผู้เสียหาย จำเลย ให้การ ปฏิเสธ ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มีความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340, 340 ตรี จำคุก 21 ปี ริบของกลาง ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ ราคา ทรัพย์ จำนวน 21,000 บาท แก่ผู้เสียหาย
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา กลับ ให้ ยกฟ้อง
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ‘….โจทก์ มี นาย สมนึก บุญส่ง ผู้เสียหาย เป็นประจักษ์ พยาน เบิกความ ยืนยัน ว่า จำเลย เป็น คนร้าย คนหนึ่ง ที่ ได้ร่วมกับ พวก อีก 2 คน ทำการ ปล้นทรัพย์ และ ใช้ ไม้ ตี ทำร้ายผู้เสียหาย ได้ รับ บาดเจ็บ ใน คืน เกิดเหตุ ปรากฏ ว่า จำเลย นี้ มีบ้าน อยู่ ใกล้ กับ บ้าน ผู้เสียหาย ซึ่ง กำลัง ปลูก อยู่ใน ซอย ที่เกิดเหตุ และ ผู้เสียหาย เคย เห็น จำเลย เดิน ผ่าน หน้า บ้าน ผู้เสียหาย 2 ครั้ง ก่อน เกิดเหตุ ประมาณ 7 วัน หลัง เกิดเหตุ ผู้เสียหาย แจ้ง กับพันตำรวจตรี พินิจ สัตย์เจริญ พยาน โจทก์ ว่า จำ คนร้าย ได้ 1 คนพร้อมทั้ง บอก รูปร่าง ลักษณะ ซึ่ง ตรง กับ ที่ พันตำรวจตรี พินิจสืบ ทราบ มา ก่อน และ ต่อมา พนักงาน สอบสวน ได้ นำ ภาพ ถ่าย ของ จำเลยพร้อม กับ บุคคล อื่น ไป ให้ ผู้เสียหาย ตรวจดู ที่ โรงพยาบาล สยามซึ่ง ผู้เสียหาย กำลัง เข้า รับ การ รักษา เนื่องจาก บาดแผล ที่ ถูกจำเลย กับ พวก ทำร้าย ใน คืน เกิดเหตุ ผู้เสียหาย ตรวจดู แล้ว ปรากฏว่า มี รูป จำเลย รวม อยู่ ด้วย จึง ยืนยัน กับ เจ้าหน้าที่ ว่า จำเลยเป็น คนร้าย คนหนึ่ง ที่ ได้ ร่วม กับ พวก ทำการ ปล้นทรัพย์ ปรากฏตาม เอกสาร หมาย จ.1 ใน การ ชี้ ตัว ผู้ต้องหา ซึ่ง พนักงาน สอบสวนกระทำ ต่อหน้า เจ้าหน้าที่ ฝ่าย ทหาร อัน เป็น ผู้บังคับบัญชา ของจำเลย และ มา อยู่ เป็น สักขีพยาน ก็ ปรากฏ ว่า ผู้เสียหาย ชี้ตัวจำเลย ได้ ถูกต้อง ดัง บันทึก ตาม เอกสาร หมาย จ.2 และ จ.3 จากข้อเท็จจริง ที่ ได้ ความ ดังกล่าว จึง เชื่อ ได้ ว่า ผู้เสียหาย จำคนร้าย ได้ ไม่ ผิด ตัว แม้ โจทก์ จะ มี ประจักษ์ พยาน เพียง ปาก เดียวแต่ พยาน หลักฐาน ทั้งหมด ใน ท้องสำนวน เมื่อ พิจารณา ประกอบ กัน แล้ว ก็ ฟัง ได้ โดย ปราศจาก ข้อสงสัย ว่า จำเลย เป็น คนร้าย คนหนึ่ง ที่ได้ ร่วมกับ พวก กระทำ ผิด ฐาน ปล้นทรัพย์ โดย มี อาวุธ ปืน และ ใช้ปืน ยิง พยาน ฐาน ที่ อยู่ ของ จำเลย ที่ อ้าง ว่า ตาม วัน เวลาเกิดเหตุ จำเลย อยู่เวร ที่ กองร้อย มี บัญชี เข้าเวรยาม เป็น หลักฐานนั้น ก็ คง มี แต่ ลำพัง คำ ของ จำเลย เบิกความ ลอยๆ ปาก เดียว ไม่ มีหลักฐาน อื่น ใด มา สนับสนุน ให้ เชื่อ ได้ เช่นนั้น จึง ปราศจากน้ำหนัก ที่ จะ หักล้าง พยาน โจทก์ ได้ ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยกฟ้องโจทก์ นั้น ศาลฎีกา ไม่ เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ ฟัง ไม่ ขึ้น
พิพากษา กลับ จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสี่ 340 ตรี ส่วน โทษ และ คำขอ อื่น คง ให้ บังคับ คดี ไป ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น.’