คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่2ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฏร์แล้วจำเลยที่1ได้มีความเห็นว่าโรงเรียนโจทก์ที่1ได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอนในปี2524ได้เฉพาะชั้นปีที่1นักเรียนที่จบชั้นม.ศ.5ไม่มีสิทธิโอนผลการเรียนตามหลักสูตรอื่นฯโดยโจทก์ไม่ได้กล่าวว่าเป็นความเห็นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับประการใดทั้งไม่ปรากฏในคำฟ้องว่าจำเลยที่1จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์เสียหายแต่อย่างใดเมื่อการกระทำของจำเลยที่1ตามที่กล่าวในฟ้องไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์จึงไม่มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่1ตามที่โจทก์ทั้งสองนำสืบเป็นการละเมิดต่อโจทก์หรือไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 เป็น เจ้าของ ผู้จัดตั้ง โรงเรียนราษฎร์อาชีวศึกษา ชื่อ โรงเรียน โปลิเทคนิค ปราจีนบุรี นักเรียน ที่ สมัครเข้า เรียน เป็น นักเรียน ที่ จบ ชั้น ม.3 หรือ เทียบเท่า และ ที่ จบชั้น ม.ศ. 5 ปะปน กัน จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น นายอำเภอ เมือง ปราจีนบุรี ใน ฐานะ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ตาม พระราชบัญญัติ โรงเรียนราษฎร์พ.ศ. 2497 และ ใน ฐานะ ตัวแทน และ ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็นกระทรวง ใน รัฐบาล ได้ แจ้ง ต่อ โจทก์ ที่ 2 ซึ่ง เป็น ผู้จัดการโรงเรียน โจทก์ ที่ 1 ว่า โรงเรียน โจทก์ ที่ 1 ไม่ มี สิทธิ รับนักเรียน ที่ จบ ชั้น ม.ศ. 5 เข้า เรียน ให้ จบ หลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ได้ ก่อน 3 ปี ที่ โรงเรียน โจทก์ ที่ 1 รับ นักเรียน ที่ จบชั้น ม.ศ. 5 เข้า เรียน และ ให้ สิทธิ เรียน จบ หลักสูตร ได้ ก่อน3 ปี เป็น การ ฝ่าฝืน ต่อ กฎหมาย และ ระเบียบ ของ ทาง ราชการ ให้ จำเลยที่ 2 (น่าจะเป็น โจทก์ ที่ 2) เรียก ประชุม ชี้แจง ให้ นักเรียน ที่จบ ชั้น ม.ศ. 5 ทราบ และ สอบถาม ความ สมัครใจ ของ นักเรียน ที่ จะ เรียนตาม หลักสูตร ทุกๆ วิชา เช่นเดียว กับ นักเรียน ที่ จบ ชั้น ม. 3และ สอบถาม นักเรียน ที่ ไม่ สมัคร จะ เรียน ทำ เป็น หลักฐาน ส่ง ให้จำเลย ที่ 1 เพื่อ ที่ จำเลย ที่ 1 จะ ได้ ดำเนินการ ช่วยเหลือ หาสถานศึกษา แห่ง ใหม่ และ จำเลย ที่ 1 ยัง ได้ เผยแพร่ ให้ ปรากฏ แก่นักเรียน ผู้ปกครอง นักเรียน และ ประชาชน ทั่วไป ว่า โรงเรียน โจทก์ที่ 1 รับ นักเรียน เข้า เรียน ฝ่าฝืน ต่อ กฎหมาย และ ระเบียบ ของ ทางราชการ ถ้า นักเรียน ขืน เรียน ต่อไป จะ ไม่ มี ทาง จบ หลักสูตร ซึ่งโจทก์ ที่ 2 ได้ พยายาม ชี้แจง คัดค้าน ทั้ง ด้วย วาจา และ หนังสือแต่ จำเลย ที่ 1 ก็ คง ยืนยัน ตาม ความเห็น ของ ตน แล้ว ได้ ออก คำสั่งให้ โจทก์ ที่ 2 ระงับ การ สอน นักเรียน ที่ จบ ชั้น ม.ศ. 5 โดย ด่วนที่สุด การ กระทำ ของ จำเลย ที่ 1 เป็น เหตุ ให้ โจทก์ ทั้ง สองเสียหาย ทำ ให้ ประชาชน ไม่ เชื่อถือ โรงเรียน โจทก์ ที่ 1 และ ตัวโจทก์ ที่ 2 เป็น การ ทำลาย ความ เจริญ รุ่งเรือง ของ โรงเรียน โจทก์ที่ 1 นักเรียน และ ผู้ปกครอง นักเรียน เข้าใจ ว่า โรงเรียน โจทก์ ที่1 ฝ่าฝืน กฎหมาย และ ระเบียบ ของ ทาง ราชการ เกิด การ ระส่ำ ระสายที่สุด นักเรียน ได้ ลาออก ไป 33 คน ทำให้ โจทก์ ที่ 1 ขาด รายได้ จากค่าเรียน ที่ พึง ได้ ขอ ให้ พิพากษา ว่า คำสั่ง ของ จำเลย ที่ 1 ที่ไม่ ชอบด้วย กฎหมาย ให้ เพิกถอน คำสั่ง ของ จำเลย ที่ 1 และ ให้ จำเลยทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ ค่าสินไหม ทดแทน แก่ โจทก์ ที่ 1
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น พนักงาน เจ้าหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติ โรงเรียนราษฎร์ พ.ศ. 2497 โรงเรียน ของ โจทก์ จะต้อง ใช้ เวลา เรียน 3 ปี ทั้ง ผู้ ที่ จบ ม.3 หรือ ม.ศ. 3 และ ม.ศ. 4หรือ ม.ศ. 5 จะ โอน ผล การ เรียน มา จาก วิชา ที่ เรียน ใน ชั้น ม.ศ. 4ม.ศ. 5 ไม่ได้ การ กระทำ ของ จำเลย ที่ 1 จึง ไม่ เป็น การ ละเมิด ต่อโจทก์ โจทก์ ไม่ ได้ เสียหาย
ศาลชั้นต้น พิพากษา ยกฟ้อง โจทก์
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ เห็นว่า การ กระทำ ของ จำเลย ที่ 1 ชอบด้วย อำนาจ หน้าที่ไม่ เป็น การ ละเมิด ต่อ โจทก์ พิพากษา ยืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า การ กระทำ ของ จำเลย ที่ 1 ตาม ที่ โจทก์ บรรยายมา ใน ฟ้อง นั้น เป็น การ กระทำ ตาม อำนาจ หน้าที่ โดย ที่ จำเลย ที่1 เป็น พนักงาน เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย ที่ 2 ตาม พระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ พ.ศ. 2497 และ การกระทำ ของ จำเลย ที่ 1 นั้น โจทก์ทั้ง สอง กล่าว มา ใน ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 กระทำ ไป โดย จำเลย ที่1 มี ความเห็น ว่า โรงเรียน โจทก์ ที่ 1ได้ รับ อนุญาต ให้ เปิด ทำ การ สอน ใน ปี พ.ศ. 2524 ได้ เฉพาะ ชั้น ปีที่ 1 สำหรับ ใน ชั้น ปี ที่ 2 ปี ที่ 3 จะ เปิด ทำ การ สอน ได้ ใน ปีพ.ศ. 2525 และ ปี พ.ศ. 2526 ตาม ลำดับ ซึ่ง หมายถึง ว่า นักเรียน ที่จบ ชั้น ม.ศ. 5 ไม่ มี สิทธิ โอน ผล การ เรียน ตาม หลักสูตร อื่น ไม่มี สิทธิ สอบเทียบ ประสบการณ์ หรือ สอบเทียบ ความรู้ เพื่อ ให้ ได้หน่วยกิต สะสม และ จำเลย ที่ 1 ยัง ให้ โจทก์ ที่ 2 สอบถาม ความ สมัครใจของ นักเรียน ที่ จะ เรียน ตาม หลักสูตร ทุกๆ วิชา เช่นเดียว กับนักเรียน ที่ จบ ชั้น ม. 3 และ สอบถาม นักเรียน ที่ ไม่ สมัคร จะ เรียนทำ เป็น หลักฐาน ส่ง ให้ จำเลย ที่ 1 เพื่อ ที่ จำเลย ที่ 1 จะ ได้ดำเนินการ ช่วยเหลือ หา สถานศึกษา แห่งใหม่ เมื่อ ฟ้อง ของ โจทก์แสดงว่า โจทก์ ทั้ง สอง เห็นว่า จำเลย ที่ 1 กระทำ การ ตาม หน้าที่ และตาม ความเห็น ของ จำเลย ที่ 1 ดังกล่าว แล้ว โจทก์ ทั้ง สอง ก็ ไม่ ได้กล่าวว่า เป็น ความเห็น ที่ ไม่ ชอบ ด้วย กฎหมาย หรือ ระเบียบ ข้อบังคับแต่ อย่างใด ทั้ง การ กระทำ ของ จำเลย ที่ 1 ตาม ที่ โจทก์ ฟ้อง นั้นก็ ไม่ ปรากฏ ว่า จำเลย ที่ 1 จงใจ หรือ ประมาท เลินเล่อ ทำ ต่อ โจทก์ทั้ง สอง โดย ผิด กฎหมาย ให้ โจทก์ ทั้ง สอง เสียหาย แต่ อย่างใดดังนั้น ถ้า โจทก์ ทั้ง สอง ได้ รับ ความเสียหาย ตาม ที่ กล่าวมา ในฟ้อง ความเสียหาย นั้น ก็ เกิดขึ้น จาก การ กระทำ ของ โจทก์ ทั้ง สองเอง ไม่ ได้ เกิด จาก การ กระทำ ของ จำเลย ที่ 1 เมื่อ การ กระทำ ของจำเลย ที่ 1 ตาม ที่ โจทก์ กล่าว มา ใน ฟ้อง ไม่ เป็น การ ทำ ละเมิดต่อ โจทก์ ทั้ง สอง แล้ว จึง ไม่ มี ปัญหา ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ว่าการ กระทำ ของ จำเลย ที่ 1 ตาม ที่ โจทก์ ทั้ง สอง นำสืบ นั้น เป็น การทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ หรือไม่ เมื่อ จำเลย ที่ 1 ไม่ ได้ ทำ ละเมิด ต่อโจทก์ จึง ไม่ ต้อง วินิจฉัย ว่า จำเลย ที่ 2 จะ ต้อง รับผิด ร่วมกับจำเลย ที่ 1 หรือไม่ ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา ยกฟ้อง โจทก์ นั้นศาลฎีกา เห็นด้วย ใน ผล
พิพากษา ยืน

Share