แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมโดยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 4 บัญญัติให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาลเป็นที่สุด เมื่อผู้ประกันยื่นฎีกาหลังจากกฎหมายดังกล่าวใช้บังคับแล้ว กรณีของผู้ประกันจึงเป็นที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
ย่อยาว
คดีนี้สืบเนื่องมาจาก ผู้ประกันได้ประกันตัวจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไปในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ต่อมาผู้ประกันไม่นำตัวจำเลยที่ 3 มาส่งศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์และได้ยื่นคำร้องขอผัดส่งตัวโดยอ้างว่าจำเลยที่ 3 ได้ขอยืมรถของผู้ประกันไปตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2533 ยังไม่กลับมา ขอให้ศาลชั้นต้นเลื่อนการสืบพยานศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปรับผู้ประกันฐานผิดสัญญาประกัน
ผู้ประกันอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน
ผู้ประกันฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ผู้ประกันยื่นฎีกาคดีนี้เมื่อวันที่ 15เมษายน 2534 อันเป็นเวลาหลังจากที่ ป.วิ.อ. มาตรา 119 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 17)พ.ศ. 2532 มาตรา 4 มีผลใช้บังคับแล้ว ดังนี้ กรณีของผู้ประกันจึงเป็นที่สุดไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พิพากษายกฎีกาของผู้ประกัน.