แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ตามกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งจำเลยที่3ออกให้จำเลยที่2ระบุว่าการคุ้มครองผู้ขับขี่บริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเองซึ่งหมายความว่านอกจากรับผิดในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยทำละเมิดต่อผู้อื่นแล้วจำเลยที่3ยอมรับผิดในกรณีที่จำเลยที่2ผู้เอาประกันภัยมิได้เป็นผู้ทำละเมิดเองแต่ผู้อื่นเป็นผู้ทำละเมิดโดยผู้นั้นได้ขับขี่รถยนต์คันที่จำเลยที่3รับประกันภัยไว้โดยความยินยอมของจำเลยที่2ผู้เอาประกันภัยด้วยเมื่อจำเลยที่2ผู้เอาประกันภัยยินยอมให้จำเลยที่1ขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุจำเลยที่3ผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัย
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 2 เป็น เจ้าของรถยนต์ แท็กซี่ ได้ มอบ รถยนต์ ดังกล่าว ให้ จำเลย ที่ 1 ขับ ใน ฐานะจำเลย ที่ 1 เป็น ตัวแทน หรือ ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2 เพื่อ แสวงหาผลประโยชน์ ร่วมกัน จำเลย ที่ 3 ได้รับ ประกันภัย รถยนต์ ดังกล่าวจาก จำเลย ที่ 2 ระหว่าง ระยะเวลา ประกันภัย จำเลย ที่ 1 ได้ ขับ รถยนต์ดังกล่าว โดยประมาท ปราศจาก ความระมัดระวัง ชน ท้ายรถ ยนต์ของ โจทก์ ซึ่ง จอด ไว้ ที่ ริมขอบ ถนน รัชดาภิเษก อย่าง แรง ทำให้ รถยนต์ โจทก์ พุ่ง ไป ชน ท้ายรถ ยนต์บรรทุก เป็นเหตุ ให้ รถยนต์ โจทก์เสียหาย ทั้ง ด้านหน้า และ ด้านหลัง หาก ทำการ ซ่อม ต้อง เสีย ค่าซ่อม79,800 บาท นอกจาก นี้ ยัง ทำให้ โจทก์ ขาด ประโยชน์ จาก การ นำรถ ออก ให้ เช่า เดือน ละ 6,000 บาท นับแต่ วัน ละเมิด ถึง วันฟ้องเป็น เวลา 10 เดือน เป็น เงิน 60,000 บาท รวมเป็น ค่าเสียหายทั้งสิ้น 139,800 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน หรือ แทน กัน ชำระเงิน แก่ โจทก์ 139,800 บาท และ ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน หรือ แทน กัน ชำระค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ใน อัตรา เดือน ละ 6,000 บาท นับ จาก วันฟ้อง จนกว่าจะ ได้ ซ่อม รถยนต์ โจทก์ ให้ อยู่ ใน สภาพ เรียบร้อย ใช้ การ ได้ ดี หรือ ชำระค่าซ่อม แทน จน ครบ
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ เป็นลูกจ้าง ซึ่ง กระทำ ใน ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 2 และ มิได้ เป็น ตัวแทนของ จำเลย ที่ 2 จำเลย ที่ 2 ไม่ต้อง ร่วมรับผิด จาก การกระทำ ของจำเลย ที่ 1 ต่อ โจทก์ จำเลย ที่ 3 ผู้รับประกันภัย รถยนต์ จากจำเลย ที่ 2 จะ ต้อง รับผิด ต่อ บุคคลภายนอก แทน ผู้เอาประกันภัย ใน กรณี ที่ผู้เอาประกันภัย ต้อง รับผิด และ เฉพาะ ความเสียหาย ต่อ ทรัพย์สินของ บุคคลภายนอก เท่านั้น แต่ ค่าขาดประโยชน์ จาก การ นำ รถยนต์ออก ให้ เช่า มิใช่ ค่าเสียหาย ต่อ ทรัพย์สิน โดยตรง อีก ทั้ง จำเลย ที่ 2ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ดังกล่าว มา ข้างต้น จำเลย ที่ 3 จึง ไม่ต้องรับผิด ต่อ โจทก์ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน 80,800 บาทแก่ โจทก์ ให้ยก ฟ้องโจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 3 ร่วม กับจำเลย ที่ 1 ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 3 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี นี้ ทุนทรัพย์ ที่พิพาท ใน ชั้นฎีกา ไม่เกินสอง แสน บาท ต้องห้าม มิให้ คู่ความ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ใน การวินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกา ต้อง ถือ ตาม ข้อเท็จจริง ที่ ศาลอุทธรณ์ได้ วินิจฉัย จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบ มาตรา 247ซึ่ง ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า จำเลย ที่ 2 ให้ จำเลย ที่ 1 เช่า รถยนต์แท็กซี่ คัน เกิดเหตุ ข้อเท็จจริง จึง ฟังได้ ว่า จำเลย ที่ 2 ยินยอม ให้จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์ คัน ดังกล่าว เห็นว่า ตาม กรมธรรม์ประกันภัยเอกสาร หมาย จ. 5 ซึ่ง จำเลย ที่ 3 ออก ให้ จำเลย ที่ 2 สัญญา หมวด ที่ 2เรื่อง การ คุ้มครอง ความรับผิด ต่อ บุคคลภายนอก ข้อ 2.8 ระบุ ว่าการ คุ้มครอง ผู้ขับขี่ บริษัท จะ ถือว่า บุคคล ใด ซึ่ง ขับขี่ รถยนต์ โดยได้รับ ความ ยินยอม จาก ผู้เอาประกันภัย เสมือน หนึ่ง เป็น ผู้เอาประกันภัยเอง ซึ่ง หมายความ ว่า นอกจาก รับผิด ใน กรณี ที่ ผู้เอาประกันภัยทำละเมิด ต่อ ผู้อื่น แล้ว จำเลย ที่ 3 ยอมรับ ผิด ใน กรณี ที่ จำเลย ที่ 2ผู้เอาประกันภัย มิได้ เป็น ผู้ทำละเมิด เอง แต่ ผู้อื่น เป็น ผู้ทำละเมิดโดย ผู้ นั้น ได้ ขับขี่ รถยนต์ คัน ที่ จำเลย ที่ 3 รับประกัน ภัย ไว้ โดยความ ยินยอม ของ จำเลย ที่ 2 ผู้เอาประกันภัย ด้วย เมื่อ ข้อเท็จจริงฟังได้ ว่า จำเลย ที่ 2 ผู้เอาประกันภัย ยินยอม ให้ จำเลย ที่ 1ขับขี่ รถยนต์ คัน เกิดเหตุ จำเลย ที่ 3 ผู้รับประกันภัย จึง ต้อง รับผิด ต่อโจทก์ ตาม กรมธรรม์ประกันภัย ฎีกา จำเลย ที่ 3 ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน