แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
โจทก์จ้างจำเบยมรทำงานในร้านเครื่องพิมพ์คิดของโจทก์ในกรุงเทพฯ โดยมีข้อสัญญาว่าเมื่อออกจากร้านโจทก์ไปแล้วห้ามามิให้จำเลยทำการเป็นช่างแก้ซ่อมเครื่องพิพ์ดีดในร้านอื่นในเขตต์กรุงเทพ ฯ เช่นนี้ ไม่เป็นการเกินสมควร ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยแลศีลธรรมอันดีของประชาชน นิติกรรมสัญญาใดที่แยกออกได้เป็นส่วน ๆ หากส่วนใด+เป็นโมฆะ ก็หาทำให้ส่วนที่สมบูรณ์ตกเป็นโมฆดะด้วยไม่ตามสัญญาห้ามมิให้ลูกจ้างประการอย่าง 1 นับแต่ออกจากนายจ้าง ศาลจะห้ามนับตั้งแต่วันที่คดีถึงที่สุดไม่ได้ต้องห้ามนับแต่วันลูกจ้างออกจากนายจ้างประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม. 240(3)-243(3) ม.238-247-248 ประเด็นที่ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปศาลอุทธรณ์วิจิจฉัยเสียใหม่แลศาลอุทธรณ์พิพากษากลัลศาลขั้นต้นนั้น จำเลยฎีการในข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับปกระเด็นนั้นได้
ย่อยาว
ได้ความว่า จำเลยเข้ทำสัญญเป็นลูกจ้างโจทก์ตามสัญญาข้อ ๑๐ ข้อตกลงว่า ถ้าจำเลยออกจากบริษัทโจทก์ไปแล้วตายใน ๕ ปี จำเลยจะไม่เข้าทำงานเป็นเจ้าของเสมียน ช่างซ่อมในกิจการใดที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบริษัทโจทก์ ณ ที่กรุงเทพฯ หรือในบริเวณ ๖๐๐ เส้นจากกรุงเทพฯ บัดนี้จำเลยออกจากบริษัทโจทก์ไปแล้ว ได้เข้าทำงานกับบริษัทบาโรเบราน์แผนกพิมพ์ดีด โจทก์จึงฟ้องขอให้ห้ามแลเรียกค่าเสียหาย
ศาลอุทธรณ์เห็นว่าการที่กำหนดเขตต์นั้นเป็นการตัดอาชีพเกินสมควรเปฯโมฆะ ตาม ม. ๑๑๓ พิพากษายืนตามศาลแพ่งที่ให้ยกฟ้องโจทก์ แต่ศาลฎีกาเห็นว่าการห้ามมิให้กระทำในเขตต์กรุงเทพ ฯ เป็นการรักษาผลประโยชน์ของโจทก์พอสมควร ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยแลศีลธรรมอันดีของประชาชน แยกบังคับได้ตาม ม. ๑๓๕ จึงย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉันในข้อที่ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วนแล้วจึงพิพากษาห้ามมิให้จำเลยเป็นช่างแก้ซ่อเครื่องพิพ์ดีดมีกำหนด ๓ ปีนับแต่วันคดีถึงที่สุด
จำเลยฎีกาโจทก์คัดค้านว่าศาลฎีกาได้พิพากษาคดีไปแล้วจะฎีกาไม่ได้แลว่าจำเลยฎีกาข้อเท็จจริงไม่ได้
ศาลฏีฏาเห็นว่าศาลฎีกาได้พิพากษาไปแล้วในประเด็นที่การกระทำของจำเลยไม่เป็นโมฆะอาจใข้บังคับได้ ส่วนข้อเท็จจริงที่โจทก์ได้ปฏิบัติตามข้อสัยยกครบถ้วนหรือไม่ ศาลฎีกายังมิได้วินิจฉัยชี้ขาด ส่วนข้อที่ว่าจำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้นั้นเห็นว่าบทมาตราที่โจทก์อ้างมาไม่เกี่ยวกับคดีนี้ แต่เป็นคดีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าโจทก์ยังมิได้สั่งสอนจำเลยตามสัญญาให้ครบถ้วน แต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ได้สั่งสอนตามสัญญาครบถ้วนแล้ว จำเลยจึงอาจฎีกาได้ตาม ม. ๒๔๗ เพราะไม่ต้องด้วยข้อห้ามตาม ม.๒๔๘ หรือมาตราอื่นใด และเห็นว่าตามข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วนแล้ว แต่เห็นว่าที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาห้ามมิกำหนด ๓ ปีนับแต่วันคดีถึงที่สุดนั้นไม่ตรงต่อข้อความในสัญญาข้อ ๑๐ ซึ่งมีกำหนด ๕ ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้ออกจากนายจ้าง จึงพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามที่กล่าวนี้ นอกนั้นยืนตาม