แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
จำเลยที่3อ้างตนเองเป็นพยานจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลออกหมายเรียกตนเองมาเป็นพยานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา106แม้ตามคำขอให้ศาลออกหมายเรียกจะระบุว่าจำเลยที่1เป็นผู้ขอแต่เพียงผู้เดียวแต่คำขอก็ระบุรวมๆกันว่าขอให้หมายเรียกพยานจำเลยซึ่งทนายจำเลยที่3เป็นผู้ลงชื่อในคำร้องและจำเลยที่3ก็เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาจำเลยที่1การที่จำเลยที่3มาศาลจึงไม่ใช่พยานซึ่งมาศาลตามหมายเรียกศาลไม่มีอำนาจกำหนดให้จำเลยที่3ได้รับค่าป่วยการและค่าพาหนะตามตาราง4ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งค่าป่วยการและค่าพาหนะที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จ่ายให้แก่จำเลยที่3จึงไม่ใช่ค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา161วรรคสองโจทก์ทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ให้แก่จำเลยที่1และที่3
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง สอง เป็น เจ้าของ ที่ดิน โฉนด เลขที่8015 ตำบล บางพรม (บางพรมฝั่งใต้) อำเภอตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร จำเลย ที่ 3 กับพวก ร่วมกัน สำรวจ เส้นทาง และ เพื่อ ก่อสร้าง ปรากฏว่ามี การ ก่อสร้าง ถนน รุกล้ำ ที่ดิน โจทก์ ทั้ง สอง ด้าน ทิศเหนือ ตลอด แนวคิด เป็น เนื้อที่ 79 ตารางวา ทั้งนี้ เพราะ จำเลย ที่ 3 กับพวกกระทำ โดย จงใจ หรือ ประมาท เลินเล่อ ขาด ความระมัดระวัง โดย ไม่ได้รับ ความ ยินยอม จาก โจทก์ ทั้ง สอง เป็นเหตุ ให้ โจทก์ ทั้ง สอง เสียหายจำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 เป็น ผู้จ้างวาน ใช้ ให้ จำเลย ที่ 3 สร้าง ถนนรุกล้ำ ที่ดิน โจทก์ จึง ต้อง ร่วมรับผิด ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สามร่วมกัน ทำให้ ที่ดิน ของ โจทก์ ทั้ง สอง กลับ สู่ สภาพ เดิม กับ ให้ ใช้ค่าเสียหาย 100,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 2 ขาดนัด ยื่นคำให้การ
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ที่ดิน โจทก์ทั้ง สอง ตกเป็น ทางสาธารณะ อันเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน แล้ว ย่อมหลุด จาก กรรมสิทธิ์ ของ โจทก์ ทั้ง สอง และ ไม่อาจ ยกเลิก หรือเปลี่ยน สภาพ จาก สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ได้ ค่าเสียหาย ที่ โจทก์ทั้ง สอง อ้าง นั้น ความจริง โจทก์ ทั้ง สอง ไม่ได้ รับ ความเสียหายเพราะ เป็น ที่ดิน ว่างเปล่า จำเลย ที่ 3 สำรวจ และ สร้าง ถนน ใน ฐานะเป็น ข้าราชการ ใน สังกัด ของ จำเลย ที่ 1 จึง ไม่ต้อง รับผิด เป็น ส่วนตัวขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ โจทก์ ทั้ง สอง ฎีกา ว่า ค่าฤชาธรรมเนียมใน ส่วน ที่ ศาลชั้นต้น สั่ง ให้ โจทก์ ทั้ง สอง ชำระ แทน จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3เฉพาะ ค่า พาหนะ และ ค่าป่วยการ รวม 300 บาท ซึ่ง จ่าย ให้ จำเลย ที่ 3ไม่ถูกต้อง เพราะ จำเลย ที่ 3 มา เบิกความ ใน ฐานะ จำเลย ที่ 3 ข้อ นี้โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์ แต่ ศาลอุทธรณ์ มิได้ วินิจฉัย เป็น การ ไม่ ปฎิบัติตาม บทบัญญัติ แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วย คำพิพากษาและ คำสั่ง และ ศาลฎีกา เห็นว่า ปัญหา ดังกล่าว เป็น ปัญหาข้อกฎหมายไม่มี เหตุสมควร ที่ จะ ยก คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ แล้ว ส่ง สำนวน คืน ไป ให้ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ใหม่ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(1), 247 เพราะ จะ ทำให้ คดี ล่าช้า โดย ไม่จำเป็น เห็นว่าจำเลย ที่ 3 อ้าง ตนเอง เป็น พยาน ปรากฏ ตาม บัญชีระบุพยาน ของ จำเลยที่ 1 และ ที่ 3 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2533 ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 106 บัญญัติ ว่า “ถ้า คู่ความ ฝ่ายใด ไม่สามารถ นำพยาน ของ ตน มา ศาล ได้เอง คู่ความ ฝ่าย นั้น อาจ ขอ ต่อ ศาล ก่อน วันสืบพยานให้ ออกหมาย เรียก พยาน มา ศาล ได้ ” เมื่อ จำเลย ที่ 3 อ้าง ตนเอง เป็น พยานจำเลย ที่ 3 จึง ไม่มี สิทธิ ขอให้ ศาล ออกหมาย เรียก ตนเอง มา เป็น พยาน ได้และ แม้ ตาม คำขอ ให้ ศาล ออกหมาย เรียก ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2534จะ ระบุ ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ขอ แต่ ผู้เดียว แต่ คำขอ ก็ ระบุ รวม ๆกัน ว่า ขอให้ หมายเรียกพยาน จำเลย และ นาย อรรถยา ลิ้มจำรูญ ซึ่ง เป็น ทนายจำเลย ที่ 3 ด้วย เป็น ผู้ลงชื่อ ใน คำร้อง ทั้ง จำเลย ที่ 3ก็ เป็น ผู้ใต้บังคับบัญชา จำเลย ที่ 1 ตาม พฤติการณ์ แสดง ว่า จำเลยที่ 3 มา เบิกความ เป็น พยาน ตนเอง ด้วย เมื่อ จำเลย ที่ 3 ไม่มี สิทธิขอให้ ศาล ออกหมาย เรียก ตนเอง มา เป็น พยาน การ ที่ จำเลย ที่ 3 มา ศาล จึงไม่ใช่ พยาน ซึ่ง มา ศาล ตาม หมายเรียก ศาล ไม่มี อำนาจ กำหนด ให้ จำเลย ที่ 3ได้รับ ค่าป่วยการ และ ค่า พาหนะ ตาม ตาราง 4 ท้าย ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง ค่าป่วยการ และ ค่า พาหนะ ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด ให้ จ่าย ให้ แก่จำเลย ที่ 3 จึง ไม่ใช่ ค่าฤชาธรรมเนียม ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 161 วรรคสอง โจทก์ ทั้ง สอง จึง ไม่ต้อง รับผิด ชดใช้ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 ฎีกา โจทก์ ทั้ง สอง ข้อ นี้ ฟังขึ้น ส่วน ฎีกาข้อ อื่น ไม่จำเป็น ต้อง วินิจฉัย เพราะ ไม่ทำ ให้ ผล คดี เปลี่ยนแปลง ไป
พิพากษายืน แต่ โจทก์ ทั้ง สอง ไม่ต้อง รับผิด ชดใช้ ค่าป่วยการและ ค่า พาหนะ ที่ ศาลชั้นต้น สั่ง ให้ จ่าย แก่ จำเลย ที่ 3 จำนวน 300 บาทค่าฤชาธรรมเนียม ชั้นฎีกา ให้ เป็น พับ