แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์เป็นผู้รับจ้างตัดและขนไม้ให้ ย. ผู้รับสัมปทานเมื่อไม้ถูกยึดแม้โจทก์จะเสียค่าใช้จ่ายในการตัดไม้นั้นก็ถือไม่ได้ว่าไม้ที่ตัดเป็นของโจทก์เพราะโจทก์ไม่ใช่ผู้รับสัมปทานทั้งไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆกับจำเลยโจทก์จึงไม่ถูกโต้แย้งสิทธิและไม่มีอำนาจฟ้อง
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า บริษัท ยะลาทำไม้ จำกัด ได้รับ สัมปทาน ทำ ไม้ หวงห้าม ธรรมดา ได้ว่า จ้าง ให้ บริษัท โรงเลื่อยจักร เบตง จำกัด ทำ ไม้ และ ขนส่ง ไม้ แทน บริษัท โรงเลื่อยจักร เบตง จำกัด ได้ ให้ นาย หว่องหน่ำ แซ่หว่อง สามี โจทก์ เป็น ผู้เช่า โรง เลื่อย และ กิจการ ของ โรง เลื่อย รับ ช่วง ทำ ไม้ และ ขน ไม้ ใน พื้นที่ สัมปทาน ด้วย เมื่อนาย หว่องหน่ำ ถึงแก่ความตาย โจทก์ จึง เข้า ทำ สัญญา และ ดำเนิน กิจการ สืบต่อ จาก นาย หว่องหน่ำ เมื่อ ต้น ปี 2524 โจทก์ ให้ คนงาน เข้า ไป ทำ ไม้ ใน ป่า สัมปทาน ตอน ที่ 2 แปลง ที่ 5 เจ้าหน้าที่ ทหาร และ ตำรวจได้ ทำการ ตรวจ ยึด ไม้ ที่ รวม หมอน ไว้ รวม 1,211 ท่อน ปริมาตร3,635.07 ลูกบาศก์เมตร รถยนต์บรรทุก 4 คัน รถแทรกเตอร์2 คัน เลื่อยยนต์ 2 เครื่อง เป็น ของกลาง จับกุม โจทก์ และ คนงานดังกล่าว กล่าวหา ว่า ร่วมกัน ทำ ไม้หวงห้าม โดย มิได้ รับ อนุญาต และ มีไม้หวงห้าม ไว้ ใน ความ ครอบครอง พนักงานอัยการ ประจำศาล จังหวัด เบตงได้ ฟ้องโจทก์ ลูกจ้าง และ คนงาน รวม 17 คน ต่อ ศาลจังหวัด เบตงขอให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ และ พระราชบัญญัติ ป่าไม้และ ขอให้ สั่ง ริบของกลาง ทั้งหมด คดีถึงที่สุด แล้ว โดย ศาลฎีกา พิพากษายกฟ้อง ต่อมา โจทก์ ได้รับ รถยนต์บรรทุก รถแทรกเตอร์ และ เลื่อยยนต์คืน จาก พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธร อำเภอ เบตง แล้ว ส่วน เงินค่า ไม้ ของกลาง ซึ่ง เจ้าหน้าที่ ผู้ เก็บรักษา ได้ ดำเนินการ ขาย ระหว่าง คดีจำนวน 2,621,402.30 บาท จำเลย ทั้ง สอง ไม่คืน ให้ ทำให้ โจทก์ เสียหายคิด ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ถึง วันฟ้อง เป็น เงิน704,501.87 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ เงิน รวม 3,325,904.15บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 2,621,402.30บาท นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เงิน เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า โจทก์ บริษัท ยะลาทำไม้ จำกัด และ บริษัท โรงเลื่อยจักร เบตง จำกัด ไม่ใช่ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ หรือ มี สิทธิ ใด ๆ โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ใน ไม้ พิพาท ตาม ฟ้อง คดีอาญา ศาลจังหวัด เบตง ได้ พิพากษา ให้ ลงโทษ จำคุก จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 16 และ ริบของกลาง ทั้งหมด ส่วน จำเลย ที่ 17 คือ โจทก์ คดี นี้ ได้ ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้อง โจทก์ โดย มิได้ พิพากษาแก้ หรือ มี คำสั่ง อย่างใด ใน เรื่อง ของกลางศาลฎีกา พิพากษายืน ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ไม้ ของกลาง หรือ เงินที่ ขาย ได้ นั้น จึง คง ถูก ริบ ตาม คำพิพากษา ศาลจังหวัด เบตง ทั้ง มิได้ร้องขอ คืน ต่อ ศาลจังหวัด เบตง ภายใน 1 ปี นับแต่ วันที่ คำพิพากษาถึงที่สุด ไม้ ของกลาง เป็น ไม้ ที่ ได้ มาจาก การ ตัด ฟัน ชักลาก ทำ ไม้โดย มิได้ รับ อนุญาต จาก พนักงาน เจ้าหน้าที่ และ โดย ไม่ชอบ จึง เป็นทรัพย์สิน ของ แผ่นดิน อยู่ จำเลย ได้ ขาย ไม้ ของกลาง ระหว่าง ดำเนินคดีให้ แก่ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เป็น เงิน 280,347.20 บาท เท่านั้นโจทก์ เป็น เพียง ลูกจ้าง ช่วง ใน การ ตัด ฟัน ชักลาก ไม้ ให้ แก่ บริษัท ยะลาทำไม้ จำกัด ไม่ใช่ ผู้เสียหาย ที่ มีสิทธิ ฟ้อง เรียกเงิน ค่า ไม้ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ เงิน จำนวน2,612,402.30 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2529 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ข้อ แรก ตาม ที่ จำเลยทั้ง สอง ฎีกา ว่า โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง เพราะ มิใช่ ผู้เสียหาย และถูก โต้แย้ง สิทธิ นั้น เห็นว่า ประเด็น ข้อพิพาท ใน คดี นี้ มี ว่า ไม้ หรือเงิน ค่าขาย ไม้ ที่ ยึด เป็น ของ โจทก์ ซึ่ง โจทก์ มีสิทธิ จะ รับ คืน จาก จำเลยหรือไม่ โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ผู้เช่า กิจการ บริษัท โรงเลื่อยจักร เบตง จำกัด ซึ่ง รับจ้าง ตัด และ ขน ไม้ ให้ แก่ บริษัท ยะลาทำไม้ จำกัด ผู้รับ สัมปทาน ตาม สัมปทาน ทำ ไม้ ธรรมดา นอกจาก ไม้สัก และ สัญญาจ้างทำ ไม้ และ ขนส่ง ไม้ เอกสาร ทั้ง 2 ฉบับ ดังกล่าว ได้ กำหนด หน้าที่เงื่อนไข ระหว่าง คู่สัญญา ไว้ โดย ละเอียด โจทก์ คง มี พัน ธะที่ จะ ต้องปฏิบัติ ต่อ บริษัท ยะลาทำไม้ จำกัด ผู้รับ สัมปทาน ตาม สัญญาจ้าง เท่านั้น ไม่มี นิติสัมพันธ์ ใด ๆ กับ จำเลย ทั้ง สอง แม้ ข้อเท็จจริง จะฟังได้ ว่า โจทก์ เป็น ผู้ เสีย ค่าใช้จ่าย ใน การ ตัด ไม้ ของกลาง และ มีคำพิพากษาถึงที่สุด ของ ศาลฎีกา ไม่ ริบ ไม้ ของกลาง ดัง ที่ โจทก์ ฟ้องก็ จะ ถือว่า ไม้ ของกลาง เป็น กรรมสิทธิ์ ของ โจทก์ หาได้ไม่ เพราะ โจทก์มิใช่ ผู้รับ สัมปทาน ทำ ไม้ เมื่อ โจทก์ ไม่ใช่ เจ้าของ ไม้ ของกลางและ ไม่มี นิติสัมพันธ์ ใด ๆ กับ จำเลย ทั้ง สอง โจทก์ จึง ไม่ ถูก โต้แย้งสิทธิ และ ไม่มี อำนาจฟ้อง จำเลย ทั้ง สอง ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษาให้ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ เงิน ค่าขาย ไม้ ของกลาง ให้ แก่ โจทก์ นั้น ศาลฎีกาไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง ฟังขึ้น เมื่อ วินิจฉัย ว่าโจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง จำเลย ทั้ง สอง แล้ว ก็ ไม่จำต้อง วินิจฉัย ใน ประเด็นอื่น ตาม ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง ต่อไป ”
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์