คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ขณะที่จำเลยจ้องอาวุธปืนสั้นไปที่หน้าอกของผู้เสียหายผู้เสียหายมิได้แสดงกิริยาหลบหลีกหรือป้องกันตัวให้พ้นจากการถูกจำเลยยิงเพียงแต่ก้าวถอยหลังเล็กน้อยถือได้ว่าเป็นการผิดวิสัยที่ผู้จะถูกคนร้ายยิงจะไม่หลบหลีกหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อป้องกันมิให้ตนเองถูกยิงขณะนั้น ท. พี่ชายของผู้เสียหายก็ยืนอยู่ใกล้กับจำเลยแต่ไม่ได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อป้องกันมิให้จำเลยยิงผู้เสียหายเพียงเข้าไปสอบถามว่าทำไมถึงทำอย่างนี้ถือได้ว่าเป็นการผิดวิสัยเช่นกันพฤติการณ์ของผู้เสียหายและ ท. ทำให้เป็นที่น่าระแวงสงสัยว่าจำเลยจะได้ใช้อาวุธปืนสั้นจ้องยิงผู้เสียหายจริงหรือไม่และเมื่อพิจารณาจากคำเบิกความของจ่าสิบตำรวจ อ. ว่าเมื่อพยานไปถึงที่เกิดเหตุได้พูดคุยกับจำเลยและเจ้าของร้านค้าที่เกิดเหตุประมาณ10นาทีแต่ไม่มีผู้ใดแจ้งต่อพยานว่าจำเลยได้ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายอีกทั้งเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยที่บ้านจำเลยในคืนนั้นห่างจากเวลาเกิดเหตุไม่นานแต่ไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานตำรวจค้นพบอาวุธปืนของกลางจึงเป็นพิรุธอีกประการหนึ่งพยานหลักฐานของโจทก์มีพิรุธหลายประการเป็นที่น่าเคลือบแคลงสงสัยรับฟังลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ได้ ใช้ อาวุธปืน สั้น ยิง นาย ธวัช จันทร์ประภาวุฒิ ผู้เสียหาย จำนวน 2 นัด ที่ บริเวณ หน้าอก โดย มี เจตนาฆ่า จำเลย ได้ ลงมือ กระทำ ไป ตลอด แล้วแต่ การกระทำ ไม่บรรลุผล เนื่องจาก กระสุนปืน ไม่ ระเบิด ผู้เสียหาย จึง ไม่ถึง แก่ ความตายขอให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80 จำคุก 10 ปี
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตามฎีกา ของ โจทก์ ว่า จำเลย กระทำ ความผิด ฐาน พยายามฆ่า นาย ธวัช จันทร์ประภาวุฒิ ผู้เสียหาย โดย การ ใช้ อาวุธปืน สั้น ยิง ดัง ที่ โจทก์ ฟ้อง และ ศาลชั้นต้น พิพากษา หรือไม่ โจทก์ มี ผู้เสียหาย นางสาว แสงเดือน นาง กู และ นาย ทวิช เบิกความ ยืนยัน ว่า หลังจาก สิ้น เสียง อาวุธปืน จำนวน 3 นัด ที่ มี ผู้ยิง ขึ้น ที่ หน้า ร้านค้า ของ ผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหาย เดิน ออก ไป ดู ที่ หน้า ร้านค้า จำเลย ซึ่ง ถือ อาวุธปืน สั้นยืน อยู่ หน้า ร้านค้า ของ ผู้เสียหาย ก่อน แล้ว ได้ จ้อง อาวุธปืน สั้น เล็งตรง ไป ที่ หน้าอก ของ ผู้เสียหาย ใน ระยะ ห่าง กัน ประมาณ 4 เมตร แล้วสับ ไกปืน ขึ้น 2 ครั้ง บังเอิญ กระสุนปืน ไม่ ระเบิด แต่ เป็น ที่ น่า สังเกตว่า ใน ขณะที่ จำเลย จ้อง อาวุธปืน สั้น ไป ที่ หน้าอก ของ ผู้เสียหาย นั้นผู้เสียหาย มิได้ แสดง กิริยา หลบหลีก หรือ ป้องกันตัว ให้ พ้น จาก การ ถูกจำเลย ยิง แต่อย่างใด ผู้เสียหาย คง เบิกความ แต่เพียง ว่า ผู้เสียหายเพียงแต่ ก้าวถอยหลัง เล็กน้อย เท่านั้น ซึ่ง ถือได้ว่า เป็น การ ผิด วิสัยที่ ผู้ที่ จะ ถูก คนร้าย ยิง จะ ไม่ หลบหลีก หรือ กระทำการ อย่างหนึ่ง อย่างใดเพื่อ ป้องกัน มิให้ ตนเอง ถูก ยิง ใน ทำนอง เดียว กัน ขณะ นั้น นาย ทวิช พี่ชาย ของ ผู้เสียหาย ก็ ยืน อยู่ ใกล้ ๆ กับ จำเลย แต่ ไม่ได้ ความ ว่านาย ทวิช ได้ กระทำการ อย่างหนึ่ง อย่างใด เพื่อ ป้องกัน มิให้ จำเลย ยิง ผู้เสียหาย เลย นาย ทวิช คง เบิกความ แต่เพียง ว่า พยาน ได้ เดิน เข้า ไป หา จำเลย ยืน อยู่ ห่าง จำเลย ประมาณ 1 เมตร แล้ว สอบถาม จำเลย ว่าทำไม ถึง ทำ อย่าง นี้ เพียง อย่างเดียว ซึ่ง ถือได้ว่า เป็น การ ผิด วิสัยของ ผู้ที่ เป็น พี่ ที่ จะ ไม่ ช่วยเหลือ หรือ ป้องกัน น้อง มิให้ ถูก ยิงเช่นกัน พฤติการณ์ ของ ผู้เสียหาย และ ของ นาย ทวิช ดังกล่าว ทำให้ เป็น ที่ น่า ระแวง สงสัย ว่า จำเลย จะ ได้ ใช้ อาวุธปืน สั้น จ้อง ยิงผู้เสียหาย ดัง ที่ โจทก์ ฟ้อง จริง หรือไม่ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง เมื่อ ได้พิจารณา คำเบิกความ ของ จ่าสิบตำรวจ อุทัย ที่ เบิกความ ตอบ คำถามค้าน ว่า เมื่อ พยาน ไป ถึง ที่เกิดเหตุ พยาน ได้ พูด คุย อยู่ กับ จำเลย และเจ้าของ ร้าน ที่เกิดเหตุ ประมาณ 10 นาที ขณะ นั้น ไม่มี ผู้ใด แจ้ง ต่อพยาน ว่า จำเลย ได้ ใช้ อาวุธปืน ยิง ผู้เสียหาย เลย หาก มี ผู้แจ้ง ต่อ พยานใน ขณะ นั้น ว่า จำเลย ใช้ อาวุธปืน ยิง ผู้เสียหาย พยาน จะ ต้อง ตรวจค้นและ จับ จำเลย ทันที แล้ว จะ เห็น ได้ว่า ข้อ นำสืบ ของ โจทก์ ที่ ว่า จำเลยได้ ใช้ อาวุธปืน สั้น จ้อง ยิง ผู้เสียหาย แต่ กระสุนปืน ไม่ ระเบิด มี พิรุธเพราะ ถ้า จำเลย จ้อง ยิง ผู้เสียหาย และ บังเอิญ กระสุนปืน ไม่ ระเบิดดัง ที่ โจทก์ ฟ้อง และ นำสืบ จริง อย่างน้อย ผู้เสียหาย นางสาว แสงเดือน นาง กู หรือ นาย ทวิช คนใด คนหนึ่ง ก็ น่า จะ ได้ แจ้ง ต่อ จ่าสิบตำรวจ อุทัย เพื่อ ให้ จับ จำเลย เสีย ใน ทันที ทันใด ที่ จ่าสิบตำรวจ อุทัย ไป ถึง ที่เกิดเหตุ ซึ่ง เป็น ช่วง เวลา ที่ จำเลย ยัง อยู่ ใน บริเวณ ที่เกิดเหตุ นั้นเอง อีก ประการ หนึ่ง ใน คดี นี้ ไม่ปรากฏ ว่า เจ้าพนักงานตำรวจ ตรวจค้น อาวุธปืน สั้น ที่ โจทก์ ฟ้อง และ นำสืบ ว่า จำเลย ใช้ ยิงผู้เสียหาย ได้ เป็น ของกลาง แต่อย่างใด หาก จำเลย ใช้ อาวุธปืน สั้นจ้อง ยิง ผู้เสียหาย จริง เจ้าพนักงาน ตำรวจ ผู้ จับ ก็ น่า จะ ตรวจค้นอาวุธปืน สั้น กระบอก นั้น ได้ จาก ความ ครอบครอง ของ จำเลย เพราะ โจทก์นำสืบ ว่า จำเลย ถูก เจ้าพนักงาน ตำรวจ จับ ที่ บ้าน ของ จำเลย ใน คืน นั้นห่าง จาก เวลา เกิดเหตุ ไม่ นาน ไม่มี ข้อเท็จจริง ให้ ฟัง ว่า จำเลยได้ นำ อาวุธปืน สั้น กระบอก ดังกล่าว ไป ซุกซ่อน หรือ นำ ไป เก็บ ไว้ ที่อื่นแต่ ประการใด การ ไม่ได้ อาวุธปืน สั้น ที่ จำเลย ใช้ ใน การกระทำ ความผิดมา เป็น ของกลาง ย่อม เป็น พิรุธ อีก ประการ หนึ่ง เช่นกัน เมื่อ พยานหลักฐานของ โจทก์ มี พิรุธ หลาย ประการ ให้ เป็น ที่ น่า เคลือบแคลง สงสัย เช่นนี้ก็ รับฟัง พยานหลักฐาน ของ โจทก์ ลงโทษ จำเลย ตาม ฟ้อง ไม่ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายก ฟ้อง ของ โจทก์ เสีย นั้น ชอบแล้ว ฎีกา ของโจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share