คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การที่ ส. ยิงปืนไปที่หน้าต่างบ้านผู้ตายโดยเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าในขณะนั้นจะฟังว่าจำเลยรู้เห็นหรือคบคิดกับ ส. มาก่อนหาได้ไม่

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง สอง กับพวก อีก 1 คน ที่ ยัง ไม่ได้ ตัวมา ฟ้อง ได้ ร่วมกัน มี อาวุธปืน ลูกซอง ยาว ขนาด 12 จำนวน 1 กระบอกซึ่ง เป็น อาวุธปืน ที่ ไม่มี หมายเลข ทะเบียน ของ เจ้าพนักงาน ประทับและ มี กระสุนปืน ขนาด เดียว กัน อันเป็น เครื่องกระสุนปืน จำนวน หลาย นัดไว้ ใน ครอบครอง โดย ไม่ได้ รับ ใบอนุญาต กับ พา อาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืน ดังกล่าว ติดตัว ไป ใน หมู่บ้าน ทางสาธารณะ โดย ไม่มีเหตุสมควร และ ไม่ได้ รับ ใบอนุญาต ให้ มี อาวุธปืน ติดตัว ทั้ง ไม่มี เหตุได้รับ ยกเว้น ตาม กฎหมาย แล้ว ร่วมกัน ใช้ อาวุธปืน ดังกล่าว ยิง นางสาว สมพร รัศมี ผู้ตาย หลาย นัด โดย เจตนาฆ่า กระสุนปืน ถูก ผู้ตาย ที่ ลำคอ บ่า ขวา และ สะบัก ขวา เป็นเหตุ ให้ ผู้ตาย ถึงแก่ความตายขอให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติ อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิง และ สิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 8 ทวิ , 72,72 ทวิ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 371, 33, 83, 91 และริบของกลาง
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ปฏิเสธ
ระหว่าง พิจารณา นาย ทุย รัศมี และ นาง ซ้อน รัศมี บิดา มารดา ของ นางสาว สมพร รัศมี ผู้ตาย ยื่น คำร้องขอ เข้าร่วม เป็น โจทก์ ศาลชั้นต้น อนุญาต
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า จำเลย ทั้ง สอง มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 371, 83 พระราชบัญญัติ อาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และ สิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ. 2490 มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคแรก , 72 วรรคสาม , 72 ทวิ วรรคสองให้ เรียง กระทง ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐาน ร่วมกัน ฆ่าผู้อื่น จำคุก คน ละ 18 ปี ฐาน ร่วมกัน มี อาวุธปืน โดย ไม่ได้ รับ ใบอนุญาตจำคุก คน ละ 6 เดือน ฐาน ร่วมกัน พา อาวุธปืน ติดตัว โดย ไม่ได้ รับใบอนุญาต ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติ อาวุธปืน ฯ มาตรา 72 ทวิ วรรคสองซึ่ง เป็น บทที่ มี โทษหนัก ที่สุด จำคุก คน ละ 3 เดือน รวม จำคุก คน ละ 18 ปี9 เดือน ริบ ปลอก กระสุนปืน ของกลาง
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง แต่ คง ให้ริบ ปลอก กระสุนปืน ของกลาง
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟัง ยุติ ได้ว่าตาม วัน เวลา เกิดเหตุ นางสาว สมพร รัศมี ผู้ตาย ถูก คนร้าย ใช้ อาวุธปืน ลูกซอง ยาว ยิง ถึงแก่ความตาย รายละเอียด บาดแผล ปรากฏ ตามรายงาน การ ชันสูตรพลิกศพ ท้ายฟ้อง คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของโจทก์ ว่า จำเลย ทั้ง สอง ได้ ร่วม กับพวก มี และ พา อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนกับ ฆ่า ผู้ตาย อัน มี ความผิด ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น หรือไม่เห็นว่า แม้ จำเลย ทั้ง สอง จะ เข้า ไป ใน บริเวณ บ้าน ของ ผู้ตาย พร้อมกับ นาย สุเวทย์หรือบู้ และ หลังจาก ที่นาย สุเวทย์หรือบู้ ใช้ อาวุธปืน ยิง ผู้ตาย แล้ว จำเลย ทั้ง สอง ได้ หลบหนี ไป พร้อม กับ นาย สุเวทย์ หรือ บู้ ตาม คำ ประจักษ์พยาน โจทก์ ก็ ตาม แต่ ลำพัง ข้อเท็จจริง ดังกล่าว ยัง ไม่ เพียงพอ จะ ฟัง ว่า จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกระทำ ความผิด กับ นาย สุเวทย์ หรือ บู้ ต้อง พิจารณา ถึง พฤติการณ์ อย่างอื่น ประกอบ กัน ด้วย ซึ่ง ข้อเท็จจริง ได้ความ จาก ประจักษ์พยานโจทก์ ว่า สาเหตุ ที่ เกิดขึ้น เนื่องมาจาก ผู้ตาย เปิด วิทยุ เทป ฟัง เพลงเสียงดัง ทำให้ มี การ ขว้างปา หลังคา บ้าน ผู้ตาย และ มี เสียง ด่า มาจาก บ้านนาย ฟอง พูลเพิ่ม บิดา นาย สุเวทย์หรือบู้ ซึ่ง รั้ว บ้าน อยู่ ติด กัน เหตุการณ์ ตอนนี้ แม้ ประจักษ์พยาน โจทก์ จะ เบิกความ ว่า นาย ฟอง บอก ให้ เอา ปืน ไป ยิง ให้ ตาย หมด แต่ ก็ ได้ความ ว่า เมื่อ นาย สุเวทย์ หรือ บู้ กับ จำเลย ทั้ง สอง ข้าม รั้ว เข้า ไป ใน บริเวณ บ้าน ของ ผู้ตาย นาย สุเวทย์หรือบู้ คนเดียว ที่ ถือ อาวุธปืน จำเลย ทั้ง สอง ไม่มี อาวุธปืน หรือ อาวุธ ใด ติดตัว ไป ด้วย ทั้ง นาง ง่อย เจตน์เสน ประจักษ์พยาน โจทก์ ปาก หนึ่ง เบิกความ ว่า นาย สุเวทย์หรือบู้ ได้ พูด ต่อว่า เรื่อง ที่ บ้าน ผู้ตาย เปิด วิทยุ เสียงดัง ก็ มี เสียง ผู้หญิงตอบ มาจาก บน บ้าน ผู้ตาย ว่า “ทำไม ล่ะ กู เปิด บ้าน กู ค่า ไฟ กู ก็ เสีย “นาย สุเวทย์หรือบู้ จึง ยิง ปืน ไป ที่ หน้าต่าง บน บ้าน ผู้ตาย 1 นัด จาก นั้น นาย สุเวทย์หรือบู้ พูด ว่า “อี แววมึง ตาย เสีย เถอะ” (แววเป็น ชื่อ เล่น ผู้ตาย ) แล้ว ยิง ปืน ไป ที่ ผู้ตาย ซึ่ง ขณะ นั้น ยืน อยู่ ที่บริเวณ ใต้ถุน บ้าน 1 นัด พฤติการณ์ แห่ง คดี แสดง ว่า ที่นาย สุเวทย์ หรือ บู้ ยิง ปืน ไป ที่ หน้าต่าง บน บ้าน ผู้ตาย เพราะ มี เสียง ตอบ โต้มาจาก บน บ้าน ดังกล่าว ดังนี้ ใน เหตุการณ์ ทำนอง เดียว กัน จึง มีเหตุ ผล ให้น่าเชื่อ ว่า เหตุ ที่นาย สุเวทย์หรือบู้ หัน ไป ยิง ผู้ตาย เป็น เพราะ ผู้ตาย ได้ พูด ตอบ โต้นาย สุเวทย์หรือบู้ ไป อย่างใด อย่างหนึ่ง กรณี จึง เป็น เรื่อง ที่ เกิดขึ้น เฉพาะ หน้า ใน ขณะ นั้น จะ ถือว่า จำเลยทั้ง สอง รู้เห็น หรือ คบคิด กับ นาย สุเวทย์หรือบู้ มา ก่อน หาได้ไม่ ส่วน ที่นา งสาว ประเทือง รัศมี เด็ก หญิง นุชหรือโอ๋ รัศมี และ นาง ง่อย ประจักษ์พยาน โจทก์ เบิกความ ว่า เมื่อ นาย สุเวทย์ หรือ บู้ พูด ว่า “อี แววมึง ตาย เสีย เถอะ” จำเลย ทั้ง สอง ก็ พูด ว่า “ฆ่า มัน ให้ ตาย ฆ่า มัน ให้ ตาย ” หลังจาก นั้น นาย สุเวทย์หรือบู้ จึง ยิง ผู้ตาย นั้น เห็นว่า ตาม บันทึก คำให้การ ชั้นสอบสวน ของเด็ก หญิง นุช หรือ โอ๋ ไม่ปรากฏ ว่า ได้ ให้การ ใน ข้อ นี้ ไว้ คำเบิกความ ของ เด็ก หญิง นุชหรือโอ๋ จึง เป็น พิรุธ ทั้ง นางสาว นิดดาหรือนิจดา รัศมี และ นาง ช้อน รัศมี ประจักษ์พยาน โจทก์ ก็ หา ได้ เบิกความ ว่า จำเลย ทั้ง สอง ได้ พูด ยุ นาย สุเวทย์หรือบู้ ดังกล่าว แต่อย่างใด ไม่ ขณะ เกิดเหตุ นางสาว นิดดาหรือนิจดา อยู่ ใน ห้องครัว ใต้ถุน บ้าน ซึ่ง ไม่ ห่างไกล จาก ที่ ผู้ตาย ยืน อยู่ และ รู้เห็น เหตุการณ์ ตั้งแต่ ต้นจน กระทั่ง นาย สุเวทย์หรือบู้ กับ จำเลย ทั้ง สอง หลบหนี ไป ซึ่ง หาก จำเลย ทั้ง สอง ได้ พูด ยุ นาย สุเวทย์หรือบู้ ดังกล่าว นางสาว นิดดาหรือนิจดา จะ ต้อง ได้ยิน โดยเฉพาะ นาง ซ้อน ซึ่ง เบิกความ ว่า ได้ยิน นาย สุเวทย์หรือบู้ พูด ว่า “อี แววมึง ตาย เสีย เถอะ” ด้วย แล้ว ซึ่ง หาก ภายหลัง ที่นาย สุเวทย์หรือบู้ พูด ดังกล่าว จำเลย ทั้ง สอง ได้ พูด ว่า “ฆ่า มัน ให้ ตาย ฆ่า มัน ให้ ตาย ” ตาม ที่นา งสาว ประเทือง และ นาง ง่อย เบิกความ นาง ซ้อน ก็ จะ ต้อง ได้ยิน ที่ จำเลย ทั้ง สอง พูด ยุ ดังกล่าว อย่าง แน่นอน ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า พยาน อาจ อยู่ ภาวะ ตกใจ กลัว จึง ไม่ได้ ยินที่ จำเลย ทั้ง สอง พูด นั้น โจทก์ หา ได้ ซักถาม พยาน ให้ ปรากฏ ใน ข้อ นี้ ไม่จึง เป็น เพียง การ คาด การณ์ ของ โจทก์ ส่วน ที่ ฎีกา อีก ว่า พยาน อาจ หลงลืมเบิกความ ไม่ ละเอียด หรือ จำ เหตุการณ์ ไม่ได้ ทั้งหมด นั้น เห็นว่าแม้ เป็น ดัง ที่ อ้าง ก็ เป็น พิรุธ เมื่อ นางสาว นิดดาหรือนิจดา และ นาง ซ้อน ซึ่ง เป็น ประจักษ์พยาน รู้เห็น เหตุการณ์ ใน ขณะ เกิดเหตุ เช่นเดียว กับ นางสาว ประเทือง เด็ก หญิง นุชหรือโอ๋ และ นาง ง่อย แต่ ไม่ได้ เบิกความ ถึง ที่ จำเลย ทั้ง สอง พูด ยุ นาย สุเวทย์หรือบู้ ดังกล่าว ย่อม ทำให้ มีเหตุ สงสัย ว่า จำเลย ทั้ง สอง ได้ พูด ยุ นาย สุเวทย์ หรือ บู้ ให้ ฆ่า ผู้ตาย ตาม ที่ ประจักษ์พยาน ปาก อื่น เบิกความ หรือไม่ คดี จึง มีเหตุ สงสัย ตาม สมควร ว่า จำเลย ทั้ง สอง ได้ ร่วม กับ นาย สุเวทย์ หรือ บู้ มี และ พา อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน กับ ฆ่า ผู้ตาย หรือไม่ ซึ่ง ต้อง ยก ประโยชน์ แห่ง ความ สงสัย ให้ แก่ จำเลย ทั้ง สอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 1369-1370/2508 ระหว่าง อัยการ จังหวัด พิษณุโลกโจทก์ นาย อั้น ดีเอี่ยม กับพวก จำเลย ที่ โจทก์ อ้าง ใน ฎีกา นั้น ข้อเท็จจริง ต่าง กับ คดี นี้ โดย คดี ดังกล่าว จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3มี อาวุธ ด้วย และ โดดจาก เรือน ไป พร้อม กับ จำเลย ที่ 1 อยู่ ใน สภาพ พร้อมที่ จะ ช่วยเหลือ จำเลย ที่ 1 ได้ ทันที จึง นำ มา เปรียบเทียบ กับ คดี นี้ไม่ได้ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษา ให้ยก ฟ้องโจทก์ ชอบแล้ว ฎีกา ของโจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share