คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5640/2541

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีหลักฐานเป็นแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) และสละสิทธิครอบครองให้ แก่โจทก์แล้ว ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ของจำเลยที่ 1 อีกต่อไปจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธินำไปขายให้แก่จำเลยที่ 3 แม้จำเลยที่ 3จะได้ออก น.ส. 3 ก. แต่จำเลยที่ 3 ก็มิได้ครอบครองที่ดินพิพาทการที่จำเลยที่ 3 มีชื่อใน น.ส.3 ก. จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองในที่ดินนั้น ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 ไป แม้จำเลยที่ 4 ซื้อไว้โดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยที่ 4ก็ไม่มีสิทธิอย่างใดในที่ดินพิพาท ตามหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่า ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และระหว่างจำเลยที่ 3กับจำเลยที่ 4 โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองไปขายโดยไม่ชอบ และขอให้เพิกถอน น.ส. 3 ก.ที่จำเลยที่ 3 ออกโดยไม่ชอบ กรณีจึงมิใช่เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล ดังนั้น แม้โจทก์จะฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่วันทราบมูลคดีนี้ คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. 1) เลขที่ (36) 631 ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 เพิกถอนการซื้อขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส. 3 ก.) เลขที่ 4224 ตำบลลำภู อำเภอเมืองนราธิวาสจังหวัดนราธิวาส ระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 และให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 เพิกถอนเอกสารสิทธิหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส. 3 ก.) เลขที่ 4224 ดังกล่าวภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย
จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การและแก้ไขคำให้การว่า โจทก์ทราบถึงมูลเหตุแห่งการเพิกถอนนิติกรรมเมื่อวันที่ 21 มีนาคม2533 แต่โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2534 เกิน 1 ปีจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 4 ให้การและแก้ไขคำให้การว่า คดีโจทก์ขาดอายุความขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ถึงแก่กรรม โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกนางยาวาเห ดางีดิง ภริยาของจำเลยที่ 3 เข้ามาเป็นคู่ความแทน นางยาวาเหได้รับหมายเรียกแล้วไม่คัดค้านและยินยอมเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลอุทธรณ์ภาค 3อนุญาต
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังได้ว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 มีหลักฐานเป็นแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ตามเอกสารหมาย จ.1 มีเนื้อที่ 12 ไร่ 2 งาน ต่อมาปี 2523 จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอรังวัดออกโฉนดที่ดิน ในระหว่างการรังวัดสอบเขตที่ดิน นายสมบูรณ์ พรหมเพชรได้ฟ้องโจทก์ จำเลยที่ 2 และนายอาลี เจ๊ะดอเลาะ ว่านายสมบูรณ์ได้ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) สำหรับที่ดินของตน และเจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดไปแล้ว แต่ไม่สามารถออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ให้นายสมบูรณ์ได้เพราะโจทก์ จำเลยที่ 2 และนายอาลีคัดค้านอ้างว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของบุคคลทั้งสาม และบุคคลทั้งสามนำรถแทรกเตอร์ไปไถโค่นต้นยางพารา ของนายสมบูรณ์เสียหายจำนวน 150 ต้น แต่คดีตกลงกันได้โดยยินยอมแบ่งที่ดินกันฝ่ายละครึ่ง ส่วนการขอออกโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 1 ผลการรังวัดปรากฏว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่39 ไร่เศษ ซึ่งเกินกว่าจำนวนเนื้อที่ตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) เจ้าพนักงานที่ดินจึงไม่สามารถออกโฉนดที่ดินให้ตามเนื้อที่ที่รังวัดได้ จำเลยที่ 1 ขอรับแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) คืนไป ครั้นปี 2532 จำเลยที่ 3 ยื่นคำขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) สำหรับที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าซื้อมาจากจำเลยที่ 1 เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการสอบเขตรังวัดแล้วได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)เลขที่ 4224 เลขที่ดิน 48 อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาสให้แก่จำเลยที่ 3 และในปี 2533 จำเลยที่ 3 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 คดีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จริงหรือไม่ พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของจำเลยที่ 2 และที่ 3ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จริง และสัญญาซื้อขายเอกสารหมาย จ.2 ทำขึ้นก่อนโจทก์ จำเลยที่ 2 และนายอาลีถูกนายสมบูรณ์ฟ้อง จึงเป็นที่เห็นได้ว่าสัญญาซื้อขายเอกสารหมาย จ.2 ทำขึ้นเพื่อต่อสู้คดีที่โจทก์กับพวกถูกนายสมบูรณ์ฟ้อง ไม่ได้เอาไปขยำ น้ำแล้วตากแดด เพื่อให้ดูเก่าดังที่ถามนั้น ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 ตอบตามคำถามนำของทนายจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งประสงค์จะถามพยานในข้อที่ว่าได้มีการนำเอาสัญญาซื้อขายเอกสารหมาย จ.2 ไม่ขยำน้ำแล้วตากแดด เพื่อให้ดูเก่าหรือไม่เท่านั้นเอง ฉะนั้นคำเบิกความของจำเลยที่ 1 ตามที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ จึงมิได้เป็นการยืนยันว่าสัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.2 ทำขึ้นเพื่อต่อสู้คดีที่โจทก์กับพวกถูกนายสมบูรณ์ฟ้องคำพยานโจทก์ดังกล่าวจึงไม่อาจถือว่าเป็นการเจือสมคำพยานจำเลยที่ 2 ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3ได้วินิจฉัยไว้ ยิ่งไปกว่านั้นจำเลยที่ 1 ยังเบิกความตอบทนายโจทก์ถามติงว่า สัญญาซื้อขายเอกสารหมาย จ.2 ทำก่อนที่โจทก์กับพวกถูกนายสมบูรณ์ฟ้องประมาณ 8 ปี นอกจากนี้บันทึกตามเอกสารหมาย จ.3 ก็ทำขึ้นก่อนโจทก์กับพวกถูกนายสมบูรณ์ฟ้องหลายปีเช่นกัน ส่วนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า โจทก์และนายอาซิพยานโจทก์เบิกความว่า สัญญาซื้อขายเอกสารหมาย จ.2 ทำที่บ้านนายอาลีและนายอาซิ แต่จำเลยที่ 1 เบิกความว่า ทำที่อำเภอจึงแตกต่างกันนั้น
ปัญหาวินิจฉัยต่อไปมีว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทหรือไม่ พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลย ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา จำเลยที่ 3 และที่ 4ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท
ปัญหาวินิจฉัยต่อไปมีว่า โจทก์มีอำนาจขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3และระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 หรือไม่ ในปัญหานี้เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้แล้วว่า จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทและสละสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์และโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทไม่ใช่ของจำเลยที่ 1 อีกต่อไปแล้วจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธินำไปขายให้แก่จำเลยที่ 3 แม้จำเลยที่ 3จะได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) แต่เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ได้วินิจฉัยข้างต้นรับฟังได้แล้วว่า จำเลยที่ 3มิได้ครอบครองที่ดินพิพาทการที่จำเลยที่ 3 มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ดังกล่าวก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองในที่ดินนั้นแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 ไป แม้จำเลยที่ 4 ซื้อไว้โดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายจำเลยที่ 4 ก็ไม่มีสิทธิอย่างใดในที่ดินพิพาท ตามหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่า ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน ส่วนที่จำเลยที่ 3แก้ฎีกาว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อเกินกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ทราบถึงตัวบุคคล และมูลคดีที่จะเพิกถอนโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น พอแปลได้ว่าจำเลยที่ 3 อ้างว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 240 เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 โดยกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1นำที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองไปขายโดยไม่ชอบ และขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ที่จำเลยที่ 3 ออกโดยไม่ชอบ จึงมิใช่เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล ดังนั้นแม้โจทก์จะฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่วันทราบมูลคดีนี้คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษามานั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น”
พิพากษากลับว่า ให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) เลขที่ (36) 631 หมู่ที่ 8ตำบลลำภู อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 4224เลขที่ 48 เล่ม 43 ก. หน้า 24 หมู่ที่ 8 ตำบลลำภูอำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 และให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.)เลขที่ 4224 เลขที่ดิน 48 เล่ม 43 ก. หน้า 24 หมู่ที่ 8 ตำบลลำภู อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย

Share