คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 56/2489

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

คู่ความโต้แย้งกันในเรื่องกำหนดหน้าที่นำสืบไว้ในรายงานพิจารณาของศาลแต่เมื่อศาลสั่งให้โจทก์นำสืบก่อนแล้ว โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งศาลประการใดนั้น เป็นคำโต้แย้งระหว่างคู่ความ ไม่ใช่โต้แย้งคำสั่งศาลตาม ป.ม.วิ.แพ่ง ม.226 (2) จะอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้
สัญญาซื้อขายโรงเลื่อยซึ่งมีบัญชีสิ่งของแนบท้ายสัญญา และในตอนท้ายบัญชีมีข้อความว่า “เครื่องอาหลั่ยที่ไม่แจ้งในบัญชีมีเล็กน้อยเมื่อรับโอนแล้วยังมีเหลือเท่าใดผู้ขายจะมอบให้” ดังนี้การที่จำเลยนำสืบว่า สิ่งของตามที่โจทก์ฟ้องเป็นเครื่องอาหลั่ยเล็กน้อยตามข้อความในตอนท้ายบัญชีนั้น เป็นเรื่องสืบอธิบายข้อความในสัญญา ไม่ใช่เป็นเรื่องสืบแก้ไขเอกสาร

ย่อยาว

ได้ความว่า โจทก์ขายโรงเลื่อยจักร์ให้จำเลยเป็นราคา ๑๐,๐๐๐ บาท ตามหนังสือสัญญาซื้อขายรายนี้มีบัญชีรายชื่อส่งของต่อท้ายสัญญา และมีข้อความตอนท้ายบัญชีว่า “เครื่องอาหลั๋ยที่ไม่แจ้งในบัญชีนี้มีเล็กน้อย เมื่อรับโอนแล้วยังมีเหลือเท่าใดผู้ขายจะมอบให้” จำเลยได้ชำระราคาเสร็จสิ้นแล้วจึงทำการขนไป การขนนี้จำเลยได้ทำใบรับให้โจทก์ยึดถือไว้ทุกคราว ในที่สุดเกิดโต้เถียงกันขึ้นสำหรับใบรับ ๓ ฉะบับ คือ เอกสารหมาย ก.ช.ก.ซึ่งโจทก์ว่าจำเลยซื้อต่างหากจากสัญญาซื้อขายโรงเลื่อยจำเลยต่อสู้ว่าเป็นสิ่งของที่โจทก์ได้ขายให้แก่จำเลยตามสัญญาซื้อขายโรงเลื่อยซึ่งจำเลยได้ชำระราคาไปแล้ว
ศาลจังหวัดสุรินทร์ฟังว่า สิ่งของตามเอกสาร ๓ ฉบับโจทก์ได้ขายให้จำเลยตามสัญญาซื้อขาย ฯ ซึ่งจำเลยได้ชำระราคาไปแล้ว จึงพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ชี้ข้อกฎหมายซึ่งโจทก์คัดค้านว่า ศาลชั้นต้นสั่งหน้าที่นำสืบผิดนั้น เห็นว่าโจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นไว้อย่างไร จึงไม่วินิจฉัย ส่วนที่โจทก์คัดค้านว่า จำเลยสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญานั้น เห็นว่า จำเลยสืบอธิบายข้อความสัญญาอยู่ในประเด็นข้อต่อสู้ จึงพิพากษายืน
โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่า (๑) . ตามที่โจทก์คัดค้านว่าที่ศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์ มิได้โต้แย้งไว้ในศาลชั้นต้นนั้น ความจริงโจทก์โต้แย้งไว้แล้วตามรายงานพิจารณาของศาลลงวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๔๘๗ นั้น ข้อนี้ศาลฎีกาเห็นว่าตามรายงานนั้นเป็นคำโต้แย้งระหว่างคู่ความ เมื่อศาลสั่งให้โจทก์นำสืบก่อนแล้ว โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งนั้นประการใดตาม ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา ๒๒๖ (๒)
(๒) . ที่โจทก์ฎีกาคัดค้านว่า ที่จำเลยนำสืบว่าสิ่งของที่โจทก์ฟ้องรวมอยู่ในสัญญาซื้อขายนั้น เป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยแปลง หรือเพิ่มเติมสัญญา ขัดต่อมาตรา ๙๔ นั้น ข้อนี้ศาลฎีกาเห็นว่า สัญญาซื้อขายโรงเลื่อยจักร์มีบัญชีรายชื่อแนบท้ายสัญญา และห้ามบัญชีสิ่งของมีข้อความว่าเครื่องอาหลั่ยที่ไม่แจ้งในบัญชีนี้มีเล็กน้อย เมื่อรับโอนแล้วยังมีเหลือเท่าใด ผู้ขายจะมอบให้นั้น การที่จำเลยยนำสืบว่าสิ่งของตามที่โจทก์ฟ้องเป็นเครื่องอาหลั่ยเล็กน้อยตามข้อความในตอนท้ายบัญชี จึงไม่ใช่เรื่องสืบแก้ไขเอกสารดังโจทก์อ้าง
ส่วนข้อ ๓ ที่โจทก์ฎีกาคัดค้านข้อเท็จจริงว่า สิ่งของที่โจทก์ฟ้องมิได้รวมอยู่ในสัญญาซื้อขายนั้น ศาลฎีกาเห็นชอบค้านคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้ง ๒ ว่าสิ่งของที่โจทก์ฟ้องนี้เป็นสิ่งของรวมอยู่ใน+สัญญาซื้อขายโรงเลื่อยนั้นเอง ฯลน จึงพิพากษายืน

Share