คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 559/2496

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การที่คณะรัฐมนตรีลงมติตั้งองค์การสรรพาหารขึ้น เพื่อดำเนินการลดค่าครองชีพของประชาชนนั้น ย่อมเป็นการดำ เนินการลดค่าครองชีพของประชาชน ให้ประชาชนได้มีอาหารครองชีพถูก จึงอยู่ภายในวัตถุที่ประสงค์ของการบริ หารแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีจึงมีอำนาจจัดตั้งองค์การณ์นี้ขึ้นได้โดยชอบด้วยกฎหมาย.
ตาม พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวงทะบวงกรม พ.ศ. 2484 – 2495 มาตรา 5 มีว่า สำนักนายกรัฐมนตรีมีอำนาจและหน้าที่ เกี่ยวกับราชการทั่วไปของคณะรัฐมนตรี และราชการอื่น ๆ ซื่งมิได้อยู่ภายในวงอำนสจและหน้าที่ของกระทรวงหนึ่ง กระทรวงใดโดยเฉพาะ ฉะนั้นการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้องค์การสรรพาหารอยู่ในสำนักนายกรัฐมนตรี จึงชอบแล้ว เพราะวัตถุประสงค์ขององค์การณ์สรรพาหาร เป็นราชการทั่วไปของคณะรัฐมนตรี ทั้งเป็นราชการอื่นซึ่งมิได้อยู่ภาย ในวงอำนาจและหน้าทีของกระทรวงหนึ่งกระทรวงใดโดยเฉพาะ
องค์การสรรพาหารมิใช่กระทรวง ทะบวงหรือกรม การตั้งจึงไม่ต้องตราเป็นพระราชบัญญัตและไม่ตั้งขึ้นเป็นการ แบ่งส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี แต่เป็นงานที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้สำนักนายกรัฐมนตรี ดำเนินการ งานเท่านั้นจึงไม่ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา,
อนึ่งแม้ พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวงทะบวงกรม พ.ศ. 2484 มาตรา 6 จะแยกราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีไว้ ไม่มี กล่าวถึงองค์การสรรพาหารแต่เมื่อกิจการขององค์การสรรพาหารอยู่ในวัตถุประสงค์ของสำนักนายกรัฐมนตรีดัง กล่าวแล้ว เมื่อไม่อาจขึ้นอยู่ในกรมใดในสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ยังอาจขึ้นอยู่ในกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ เพราะกรมเลขาธิการเป็นกรมที่ทำหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวง จึงมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของสำนักนายกรัฐมน ตรี ซึ่งมิได้แยกไปให้เป็นหน้าที่ของกรมหนึ่งกรมใดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ. 2476 มาตรา 11 ดังที่แก้ไขโดย พ.ร.บ. พ.ศ. 2477 มาตรา 4./

ย่อยาว

สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นโจทก์ ฟ้องว่าคณะรัฐมนตรีได้ลงมติจัดตั้งองค์การสรรพาหารเพื่อดำเนินการลดค่าครองชีพของ ประชาชน อยู่ในความควบคุมดูแลรับผิดชอบของโจทก์ เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๔๘๙ จำเลยได้ทำหนังสือสัญญายืมเงินซึ่ง ใช้ในราชการขององค์การสรรพาหารจำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท ว่าจะเอาไปทดรองจ่ายในการซื้อหมู่ โค และเครื่องบริโภค
อื่น ๆส่งองค์การ จำเลยได้รับเงินไปครบถ้วนแล้ว นำสุกรและโคมาขายแก่องค์การ ๒ ครั้ง เงิน ๒๐,๙๔๑ บาท ๘๐ สตางค์ แล้วนำชำระคืนหักกับหนี้เดิม จึงยังคงเหลือเงินที่จำเลยจะต้องชำระอีก ๒๙,๐๕๘ บาท ๒๐ สตางค์ จำเลยยังไม่ชำระ จึงขอ ให้ศาลบังคับ
จำเลยต่อสู้ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะองค์การสรรพาหารไม่ใช่ส่วนราชการสังกัดของโจทก์ และว่าจำเลยเป็นตัว แทนขององค์การณ์สรรพาหาร
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้เงิน ๒๙,๐๕๘ บาท ๒๐ สตางค์แก่โจทก์.
จำเลยอุทธรณ์, ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยฎีกา,
ศาลฎีกาตรวจสำนวนปรึกษาคดีแล้ว เห็นว่าการที่คณะรัฐมนตรีลงมติตั้งองค์การณ์สรรพาหารขึ้น เพื่อดำเนินการลดค่า ครองชีพของประชาชน แม้จำเลยอ้างในคำฟ้องฎีกาว่า กิจการขององค์การสรรพาหารเป็นการค้าขาย แต่เพียงนี้จะถือว่า อยู่นอกอำนาจการบริหารประเทศยังมิได้ เพราะแม้จะเป็นการค้าขายแต่ถ้าเป็นการค้าขายเพื่อลดค่าครองชีพของประ ชาชน ไม่ใช่เพื่อหากำไรอย่างการค้าขายธรรมดาแล้ว ก็ไม่ใช่ว่ารัฐบาลจะกระทำไม่ได้ จึงฟังได้ว่า การดำเนินการลดค่า ครองชีพของประชาชน ซึ่งให้ประชาชนได้มีอาหารครองชีพที่ถูกนั้น ย่อมอยู่ภายในวัตถุที่ประสงค์ของการบริหารแผ่นดิน โดยไม่มีปัญญา เพราะเป็นการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎร.
ตาม พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวงทะบวงกรม พ.ศ. ๒๔๘๔ และ พ.ศ. ๒๔๙๕ มาตรา ๕ มีความอย่างเดียวกันว่า สำนักนายก รัฐมนตรีมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของคณะรัฐมนตรีและราชการอื่น ๆ ซึ่งมิได้อยู่ภายในวงอำนาจและ หน้าที่ของกระทรวงหนึ่ง กระทรวงใดโดยเฉพาะฉะนั้นการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้องค์การสรรพาหารอยู่ในสำนักนายก รัฐมนตรี จึงเป็นการกระทำตามอำนาจที่กฎหมายให้ไว้ เพราะตามวัตถุประสงค์ขององค์การนี้ เป็นราชการทั่วไปของคณะ รัฐมนตรีและทั้งเป็นราชการอื่นซึ่งมีได้อยู่ภายในวงอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงใดโดยเฉพาะด้วย และการที่ให้องค์ การสรรพาหาร ขึ้นต่อสำนักนายกรัฐมนตรีนี้ เนื่องจากองค์การนี้มิใช่กระทรวงทะบวงหรือกรม จึงไม่ตราเป็นพระราชบัญ ญัติ และไม่ได้ตึ้งขึ้นเป็นการแบ่งส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี หากแต่เป็นงานชิ้นหนึ่ง ซึ่งคณะรัฐมนตรีมอบ หมายให้สำนักนายกรัฐมนตรีดำเนินงานเท่านั้นจึงไามีความจำเป็นต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกาไม่,
อนึ่งแม้ พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวงทะบวงกรม พ.ศ. ๒๔๘๔ มาตรา ๖ จะแยกราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีไว้ และไม่มี กล่าวถึงองค์การสรรพาหาร แต่เมื่อกิจการขององค์การณ์สรรพาหารอยู่ในวัตถุประสงค์ของสำนักนายกรัฐมนตรี ดังกล่าว แล้วเมื่อไม่อาจขึ้นอยู่ในในกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ โดยตาม พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง พ.ศ. ๒๔๘๔ มาตรา ๖ (๒)
กรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นกรมที่ทำหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวง จึงมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของสำนักนายก รัฐมนตรี ซึ่งมิได้แยกไปให้เป็นหน้าที่ของกรมหนึ่งกรมใดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ. ๒๔๗๖ มาตรา ๑๑ ดังที่ได้แก้ไขโดย พ.ร.บ. พ.ศ. ๒๔๗๗ มาตรา ๔ ฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจึงฟัง ไม่ขึ้น.
ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ
จึงพิพากษายืน./

Share