แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยอย่างสูงที่ธนาคารพาณิชย์มีสิทธิเรียกจากลูกค้าเป็นเพียงให้สิทธิแก่ธนาคารพาณิชย์ตกลงอัตราดอกเบี้ยกับลูกค้าได้ไม่เกินอัตราที่กำหนดเท่านั้นส่วนจะคิดดอกเบี้ยจากลูกค้าได้ในอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างธนาคารพาณิชย์กับลูกค้าธนาคารโจทก์จึงไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นโดยจำเลยที่1ไม่รู้เห็นยินยอม การรับสภาพหนี้เป็นเพียงการยอมรับสภาพความรับผิดในมูลหนี้เดิมหาได้เป็นเปลี่ยนแปลงหนี้ใหม่อันจะทำให้หนี้เดิมระงับไปไม่ โจทก์คิดดอกเบี้ยสำหรับหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ตกลงไว้ในสัญญาเป็นการไม่ชอบนั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายแม้จำเลยที่1จะมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การแต่เนื่องจากโจทก์บรรยายฟ้องว่าคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ15ต่อปีตามสัญญาข้อเท็จจริงเพิ่งปรากฎจากคำเบิกความของพยานโจทก์ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ตกลงไว้ในสัญญาในช่วงเวลาบางตอนจำเลยที่1ไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นได้เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้จำเลยที่1จึงยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคสอง ธนาคารโจทก์ฟ้องเรียกร้องจำนวนหนี้เบิกเงินเกินบัญชีมาโดยคิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้องตามสัญญาทั้งจำเลยที่1เบิกเงินจากบัญชีและนำเงินเข้าฝากหลายครั้งมีผลให้จำนวนดอกเบี้ยที่โจทก์คิดทบต้นจากยอดหนี้คงเหลือแต่ละคราวเปลี่ยนแปลงไปกรณีเช่นนี้ต่างไม่มีหน้าที่จะคำนวณยอดหนี้ที่ถูกต้องให้โจทก์ใหม่ต่างจึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ส่วนนี้เสียโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีส่วนนี้มายื่นฟ้องไม่
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 24 มีนาคม 2520จำเลย ที่ 1 ได้ ทำ สัญญา เบิกเงินเกินบัญชี กับ โจทก์ ใน วงเงิน 150,000บาท มี กำหนด 12 เดือน อัตรา ดอกเบี้ย ร้อยละ 15 ต่อ ปี คิด ทบต้น ตามประเพณี ธนาคาร หาก ไม่มี การ ต่อ สัญญา ให้ ถือว่า มี การ ต่อ อายุ สัญญาออก ไป อีก คราว ละ 6 เดือน ตลอด ไป และ จำเลย ที่ 1 ได้ จำนอง ที่ดินโฉนด เลขที่ 16073 กับ เลขที่ 16074 และ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 9480พร้อม สิ่งปลูกสร้าง เป็น ประกันหนี้ สิน ต่าง ๆ ไว้ แก่ โจทก์ ใน วงเงิน150,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี ต่อมา วันที่22 กุมภาพันธ์ 2522 จำเลย ที่ 1 ได้ เพิ่ม วงเงิน จำนอง ขึ้น เป็น300,000 บาท เมื่อ วันที่ 29 และ 30 มกราคม 2522 จำเลย ที่ 1 ได้ นำเช็ค มา ขาย ลด ให้ แก่ โจทก์ รวม 16 ฉบับ รวมเป็น เงิน 1,493,000 บาทโดย ยอม เสีย ดอกเบี้ย ให้ โจทก์ ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี และ ได้รับ เงินไป ครบถ้วน แล้ว ใน วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2522 จำเลย ที่ 1 รับสภาพหนี้ว่า ค้างชำระ หนี้ ตาม สัญญา เบิกเงินเกินบัญชี และ สัญญา ขายลดเช็ค พร้อมดอกเบี้ย เป็น เงิน 5,293,817.83 บาท แก่ โจทก์ โดย จำเลย ที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ซึ่ง ยอมรับ ผิด อย่าง ลูกหนี้ ร่วม เมื่อ วันที่ 6 มีนาคม2522 จำเลย ที่ 3 และ นาย จำเนียร ได้ ร่วมกัน ค้ำประกัน หนี้ เบิกเงิน เกิน บัญชี ของ จำเลย ที่ 1 ทั้งหมด โดย ยอมรับ ผิด อย่าง ลูกหนี้ ร่วมและ จำเลย ที่ 3 กับ นาย จำเนียร ได้ ร่วมกัน จำนอง ที่ดิน โฉนด เลขที่ 619พร้อม สิ่งปลูกสร้าง เป็น ประกัน ใน วงเงิน 300,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี ต่อมา วันที่ 16 มีนาคม 2522 จำเลย ที่ 1ได้ จำนอง ที่ดิน โฉนด เลขที่ 2885 พร้อม สิ่งปลูกสร้าง เป็น ประกันใน วงเงิน 30,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปีเมื่อ วันที่ 22 กันยายน 2530 จำเลย ที่ 1 ทำ หนังสือ รับสภาพหนี้ไว้ ต่อ โจทก์ ยอมรับ ว่า เพียง วันที่ 25 สิงหาคม 2530 จำเลย ที่ 1ค้างชำระ หนี้ เบิกเงินเกินบัญชี เป็น เงิน 11,196,439.38 บาทหนี้ ขายลดเช็ค 16 ฉบับ เป็น เงิน 3,346,564.99 บาท จะ ผ่อนชำระ100,000 บาท ภายใน วันที่ 15 ตุลาคม 2530 และ ภายใน วันที่ 19เดือน เดียว กัน จะ กำหนด เงื่อนไข การ ชำระหนี้ ส่วน ที่ เหลือ ต่อไปแต่ หลังจาก นั้น จำเลย ที่ 1 ก็ ผิดนัด ไม่ชำระ หนี้ แก่ โจทก์ ต่อมานาย จำเนียร ได้ ถึงแก่กรรม จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 ซึ่ง เป็น บุตร และ ภริยา เป็น ทายาทโดยธรรม โจทก์ ได้ ให้ ทนายความ มี หนังสือ บอกเลิก สัญญาให้ ชำระหนี้ และ บอกกล่าว บังคับจำนอง ไป ยัง จำเลย ทั้ง สาม จำเลย ทั้ง สามได้รับ หนังสือ ดังกล่าว แล้ว เพิกเฉย คิด ถึง วันฟ้อง จำเลย ทั้ง สามเป็น หนี้ เบิกเงินเกินบัญชี เป็น เงิน 11,860,829.16 บาท และ จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 เป็น หนี้ ตาม สัญญา ขายลดเช็ค เป็น เงิน 3,533,087.68 บาทขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงิน 11,860,829.16 บาทแก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 5,318,032.24บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ และ ให้ จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 ร่วมกัน ชำระ เงิน 3,533,087.68 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 1,493,000 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง ไป จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ หาก จำเลย ทั้ง สาม ไม่ชำระ ก็ ให้ ยึด ที่ดิน โฉนด เลขที่ 16073,16074, 619 และ โฉนด เลขที่ 2885 พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ออก ขายทอดตลาดเอา เงิน ชำระหนี้ ให้ โจทก์ หาก ไม่พอ ให้ ยึดทรัพย์สิน อื่น ๆ ของจำเลย ทั้ง สาม ออก ขายทอดตลาด เอา เงิน ชำระหนี้ ให้ โจทก์ จน ครบ
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า สัญญา เบิกเงินเกินบัญชี ระหว่าง โจทก์กับ จำเลย ที่ 1 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2502 ได้ สิ้นสุด ลง แล้ว ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2522 อันเป็น วันที่ จำเลย ที่ 1 ทำสัญญา รับสภาพหนี้ หลังจาก นั้น โจทก์ จะ คิด ดอกเบี้ย ทบต้น อีก ไม่ได้ยอดหนี้ เบิกเงินเกินบัญชี ใน ขณะ นั้น เป็น เงิน 3,790,842.27 บาทจำเลย ที่ 1 ก็ ไม่ได้ รับรอง ว่า ถูกต้อง โจทก์ จะ เรียก ดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 15 ต่อ ปี ของ ยอดหนี้ เบิกเงินเกินบัญชี และ หนี้ ตามสัญญา ขายลดเช็ค ได้ เพียง 5 ปี นับ จาก วันฟ้อง ย้อนหลัง ขึ้น ไป เท่านั้นดอกเบี้ย ก่อนหน้า นั้น ขาดอายุความ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 166 แล้ว จำนวน หนี้ จึง ไม่มาก เท่าที่ โจทก์ ฟ้อง หนังสือ ขอ ผ่อนชำระหนี้ ของ จำเลย ที่ 1 ลงวันที่ 22 กันยายน 2530 นั้น จำเลย ที่ 1ลงชื่อ ไป เพื่อ ช่วยเหลือ นาย เมธี ผู้จัดการ ธนาคาร โจทก์ สาขา สุไหงโก-ลก ใน ขณะ นั้น ซึ่ง จะ ถูก โจทก์ ลงโทษ ให้ ออก และ จำเลย ที่ 1ถูก ขู่เข็ญ ว่า จะ ถูก ฟ้อง ให้ เป็น บุคคล ล้มละลาย เพื่อ ทำลาย ชื่อเสียงทั้ง จำเลย ที่ 1 มิได้ ตรวจสอบ ทาง บัญชี ก่อน เช็ค ที่ ขาย ลด บาง ฉบับรับ เงินได้ โดยเฉพาะ เช็ค ธนาคาร เอเซีย จำกัด สาขา หาดใหญ่ เลขที่ 51/79 และ 57/79 รวม 2 ฉบับ จำนวนเงิน 400,000 บาทผู้สั่งจ่าย เช็ค ได้ ทำ สัญญา รับสภาพหนี้ ให้ โจทก์ แล้ว โจทก์ จึงไม่มี สิทธิเรียกร้อง เอา จาก จำเลย ที่ 1 อีก ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 2 ค้ำประกัน จำเลย ที่ 1เพราะ ถูก นาย มาโนช ผู้ตรวจสอบบัญชี ของ โจทก์ ขอร้อง โดย อ้างว่า จำเลย ที่ 1 ร่วม กับ นาย เมธี ผู้จัดการ ธนาคาร โจทก์ สาขา สุไหงโก-ลก คน ก่อน ทำให้ เงิน ขาด บัญชี ไป เป็น เงิน จำนวน มาก ให้ ทำ สัญญาค้ำประกันไว้ เป็น หลักฐาน เพื่อ แสดง ต่อ สำนักงาน ใหญ่ ไม่ได้ ประสงค์ จะ ให้ ผูกพันจำเลย ที่ 2 จำเลย ที่ 2 จึง ไม่ต้อง รับผิด ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 3 ให้การ ว่า เมื่อ วันที่ 6 มีนาคม 2522 จำเลย ที่ 1กับ พนักงาน ของ โจทก์ ได้ ไป หา จำเลย ที่ 3 และ นาย จำเนียร และ แจ้ง ว่า จำเลย ที่ 1 จะ เปิด บัญชี ใน วงเงิน 150,000 บาท ขอให้ จำเลย ที่ 3และ นาย จำเนียร ค้ำประกัน และ มอบอำนาจ ให้ จำนอง ที่ดิน แทน นาย จำเนียร และ จำเลย ที่ 3 จึง ลงชื่อ ใน แบบฟอร์ม สัญญาค้ำประกัน และ หนังสือมอบอำนาจที่ ยัง ไม่ได้ กรอก ข้อความ ให้ ไป ทั้ง นาย จำเนียร และ จำเลย ที่ 3จึง เข้าใจ โดยสุจริต ว่า ได้ ค้ำประกัน และ จำนอง เป็น ประกันหนี้ ของจำเลย ที่ 1 ใน วงเงิน เพียง 150,000 บาท ต่อมา หลังจาก ที่ ได้รับ แจ้งจาก โจทก์ ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น หนี้ โจทก์ เป็น เงิน 5 ล้าน บาท เศษจำเลย ที่ 3 จึง ไป ขอ ดู หลักฐาน การ จำนอง ปรากฏว่า มี การ จำนอง กันใน วงเงิน 500,000 บาท การกระทำ ของ จำเลย ที่ 1 กับพวก เป็น การ ฉ้อฉลนาย จำเนียร และ จำเลย ที่ 3 นาย จำเนียร และ จำเลย ที่ 3 ไม่ต้อง รับผิด ใน หนี้ เบิกเงินเกินบัญชี ของ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เกิด ก่อน ที่ จะ ลงชื่อใน สัญญาค้ำประกัน และ หาก จะ ต้อง รับผิด ก็ ไม่เกิน กว่า วงเงิน 150,000บาท ขอให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง พิจารณา ของ ศาลชั้นต้น จำเลย ที่ 2 ถึงแก่ความตายจำเลย ที่ 1 ภริยา ของ จำเลย ที่ 2 ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็น คู่ความ แทนศาลชั้นต้น อนุญาต
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชี 11,196,439.38 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ15 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน จำนวน ดังกล่าว นับแต่ วันที่ มี การ หัก ทอน บัญชี(25 สิงหาคม 2530) เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ ทั้งนี้ดอกเบี้ย คิด ถึง วันฟ้อง (24 มิถุนายน 2531) ต้อง ไม่เกิน 1,398,788.04บาท ตาม ที่ โจทก์ ขอ ให้ จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ ส่วนตัว และ ใน ฐานะผู้รับมรดกความ ของ จำเลย ที่ 2 ร่วมกัน ชำระหนี้ ขายลดเช็ค เป็น เงิน3,533,087.68 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน1,493,000 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์หาก จำเลย ทั้ง สาม ไม่ชำระ หนี้ ให้ ยึด ที่ดิน โฉนด เลขที่ 16073, 16074,9480, 619, 2885 รวม 5 แปลง พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ออก ขายทอดตลาดเอา เงิน ชำระ โจทก์ หาก ไม่พอ ชำระหนี้ ให้ ยึดทรัพย์สิน อื่น ๆ ของจำเลย ทั้ง สาม ออก ขายทอดตลาด เอา เงิน มา ชำระหนี้ โจทก์ จน ครบถ้วน
จำเลย ทั้ง สาม อุทธรณ์
ระหว่าง พิจารณา ของ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 จำเลย ที่ 3 ถึงแก่ความตายจำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น บุตร ของ จำเลย ที่ 3 ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็นคู่ความ แทน ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 อนุญาต
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ร่วมกัน ชำระหนี้ ค่าขาย ลด เช็ค เป็น เงิน 3,533,087.68 บาท แก่ โจทก์พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 1,493,000 บาทนับ ถัด จาก วันฟ้อง ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ หาก ไม่ชำระ ให้ ยึดทรัพย์ที่ จำนอง ไว้ ตาม ฟ้อง ออก ขายทอดตลาด เอา เงิน ชำระหนี้ โจทก์ ตาม จำนวนเงินที่ ระบุ ไว้ ใน สัญญาจำนอง แต่ละ ฉบับ พร้อม ดอกเบี้ย ให้ยก คำขอ ของ โจทก์ที่ ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระหนี้ ตาม สัญญา เบิกเงินเกิน บัญชี และ สัญญาค้ำประกัน เสีย ทั้งหมด แต่ ไป ตัด สิทธิ โจทก์ ที่ จะ นำคำฟ้อง ใน ส่วน นี้ มา ยื่น ใหม่ ภายใน กำหนด อายุความ นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็นไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ฎีกา โดย จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ได้รับ อนุญาต ให้ ดำเนินคดี อย่าง คนอนาถา ใน ชั้นฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว มี ปัญหา วินิจฉัย ตาม ฎีกาของ โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ว่า จำเลย ทั้ง สาม ต้อง ร่วมกันรับผิด ชำระหนี้ ตาม ฟ้อง ให้ แก่ โจทก์ หรือไม่ เพียงใด สำหรับ หนี้ ตามสัญญา เบิกเงินเกินบัญชี นั้น เมื่อ ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ว่า ตามสัญญา เบิกเงินเกินบัญชี ที่ โจทก์ ทำ กับ จำเลย ที่ 1 มี ข้อตกลง ให้ โจทก์มีสิทธิ คิด ดอกเบี้ย ทบต้น จาก จำเลย ที่ 1 ได้ อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปีใน จำนวนเงิน ที่ จำเลย ที่ 1 เบิกเกินบัญชี ไป จาก โจทก์ ยอดหนี้เบิกเงินเกินบัญชี ที่ โจทก์ อ้างว่า จำเลย ที่ 1 เป็น หนี้ โจทก์ เพียงวันที่ 25 สิงหาคม 2530 เป็น เงิน 11,196,439.38 บาท ตาม หนังสือ คำขอผ่อนชำระ หนี้ ของ จำเลย ที่ 1 เอกสาร หมาย จ. 8 ยอดหนี้ ดังกล่าวเป็นต้น เงิน และ ดอกเบี้ย ที่ โจทก์ คิด ดอกเบี้ย เพิ่ม และ ลด ตาม อัตราดอกเบี้ย ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศ กำหนด โดย โจทก์ คิด ดอกเบี้ยตาม สัญญา เบิกเงินเกินบัญชี ใน อัตรา ที่ เกินกว่า ร้อยละ 15 ต่อ ปีนับ ตั้งแต่ วันที่ 15 มกราคม 2523 ถึง วันที่ 4 มีนาคม 2529ใน บัญชี กระแสรายวัน ของ จำเลย ที่ 1 ตาม เอกสาร หมาย จ. 29 และ หนังสือขอ ผ่อนชำระ หนี้ เอกสาร หมาย จ. 8 ไม่ปรากฏ ว่า โจทก์ คิด ดอกเบี้ย จากจำเลย ที่ 1 ใน อัตรา เท่าใด เห็นว่า นอกจาก ตาม สัญญา เบิกเงินเกินบัญชีที่ โจทก์ ทำ กับ จำเลย ที่ 1 เอกสาร หมาย จ. 9 มี ข้อตกลง ให้ โจทก์ มีสิทธิคิด ดอกเบี้ย จาก จำเลย ที่ 1 อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี แล้ว ตาม สัญญาจำนองและ บันทึก ต่อ ท้าย สัญญาจำนอง เอกสาร หมาย จ. 10 ก็ มี ข้อตกลง อัตราดอกเบี้ย ไว้ ร้อยละ 15 ต่อ ปี โดย มิได้ มี ข้อความ ใด ใน สัญญา ดังกล่าวให้สิทธิ โจทก์ ที่ จะ เพิ่ม อัตรา ดอกเบี้ย เกินกว่า ร้อยละ 15 ต่อ ปี ได้โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ คิด ดอกเบี้ย ใน อัตรา ที่ สูง ขึ้น กว่า อัตรา ที่ ตกลง ไว้ตาม สัญญา เบิกเงินเกินบัญชี โดย จำเลย ที่ 1 มิได้ รู้เห็น ยินยอม ที่ โจทก์อ้างว่า โจทก์ ประกอบ กิจการ ธนาคารพาณิชย์ การ คิด ดอกเบี้ย ของ โจทก์เป็น ประเพณี ของ ธนาคารพาณิชย์ โดย ทั่วไป เมื่อ มี ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนด และ พระราชบัญญัติ ดอกเบี้ย เงิน ให้ กู้ยืมของ สถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 ให้สิทธิ ไว้ โจทก์ จึง อาศัย สิทธิตาม ประกาศ และ กฎหมาย เปลี่ยนแปลง อัตรา ดอกเบี้ย ตาม สัญญา ได้ เพราะแม้ จะ เป็น การ คิด ดอกเบี้ย ที่ มี อัตรา เพิ่ม สูง ขึ้น กว่า อัตรา ตาม สัญญาแต่ ก็ ไม่ สูง เกินกว่า อัตรา ตาม ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศ กำหนดใน ระหว่าง เวลา ที่ โจทก์ เปลี่ยนแปลง ทั้ง จำเลย ที่ 1 ไม่เคยโต้แย้ง คัดค้าน จึง ถือว่า จำเลย ที่ 1 ยินยอม ให้ โจทก์ เปลี่ยนแปลงอัตรา ดอกเบี้ย โดย ปริยาย นอกจาก นี้ จำเลย ที่ 1 มิได้ ให้การ ต่อสู้ ว่าการ คิด ดอกเบี้ย ของ โจทก์ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดี จึง ไม่มี ประเด็น ที่จำเลย ที่ 1 จะ ยกขึ้น อุทธรณ์ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 รับ วินิจฉัย ประเด็นดังกล่าว ให้ จึง ไม่ชอบ นั้น เห็นว่า ประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ กำหนดอัตรา ดอกเบี้ย อย่าง สูง ที่ ธนาคารพาณิชย์ มีสิทธิ เรียก จาก ลูกค้าเป็น เพียง ให้สิทธิ แก่ ธนาคารพาณิชย์ ตกลง อัตรา ดอกเบี้ย กับ ลูกค้าได้ไม่ เกิน อัตรา ที่ กำหนด เท่านั้น ส่วน จะ คิด ดอกเบี้ย จาก ลูกค้าได้ ใน อัตรา เท่าใด ต้อง เป็น ไป ตาม ข้อตกลง ระหว่าง ธนาคารพาณิชย์กับ ลูกค้า โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ เปลี่ยนแปลง อัตรา ดอกเบี้ย ให้ สูง ขึ้นโดย จำเลย ที่ 1 ไม่รู้ เห็น ยินยอม ที่ โจทก์ อ้างว่า จำเลย ที่ 1ได้ยิน ยอม ให้ โจทก์ เปลี่ยนแปลง อัตรา ดอกเบี้ย โดย ปริยาย นั้น โจทก์นำสืบ ให้ เห็น ไม่ได้ ว่า จำเลย ที่ 1 ยินยอม ให้ โจทก์ เปลี่ยนแปลงอัตรา ดอกเบี้ย โดย ปริยาย อย่างไร การ ที่ โจทก์ คิด ดอกเบี้ย ในสัญญา เบิกเงินเกินบัญชี จาก จำเลย ที่ 1 ใน อัตรา เกินกว่า ร้อยละ15 ต่อ ปี นับ ตั้งแต่ วันที่ 15 มกราคม 2523 ถึง วันที่ 4 มีนาคม 2529ย่อม ทำให้ ยอดหนี้ ตาม สัญญา เบิกเงินเกินบัญชี จำนวน 11,196,439.38 บาทตาม ฟ้องโจทก์ เป็น ยอดหนี้ ที่ คิด ดอกเบี้ย มา โดย ไม่ชอบด้วยกฎหมายรวม อยู่ ด้วย โจทก์ เรียกร้อง หนี้ ส่วน นี้ มา ไม่ถูกต้อง เพราะ ไม่ได้คิด ยอดเงิน และ ดอกเบี้ย ที่ โจทก์ มีสิทธิ ได้รับ จาก จำเลย ที่ 1 ตามสัญญา เบิกเงินเกินบัญชี ที่ ทำ ไว้ และ ตั้งแต่ วันที่ 15 มกราคม 2523เป็นต้น มา จำเลย ที่ 1 เบิกเงิน จาก บัญชี และ ฝาก เข้าบัญชี หลาย ครั้งตาม เอกสาร หมาย จ. 29 ซึ่ง มีผล ให้ จำนวน ดอกเบี้ย ที่ โจทก์ คิด ทบต้นจาก ยอดหนี้ คงเหลือ ใน แต่ละ คราว เปลี่ยนแปลง ไป ทั้ง จำเลย ที่ 1โต้เถียง ว่า เอกสาร หมาย จ. 29 โจทก์ ทำ ขึ้น ใหม่ ไม่ถูกต้อง อีก ด้วยใน กรณี เช่นนี้ ศาล ไม่มี หน้าที่ จะ คำนวณ ยอดหนี้ ที่ ถูกต้อง ให้ โจทก์ ใหม่แต่ เป็น หน้าที่ ของ โจทก์ จะ ต้อง คำนวณ ยอดหนี้ มา ให้ ถูกต้อง ตาม หลักเกณฑ์ดังกล่าว เอง และ ปัญหา ที่ ว่า โจทก์ คิด ดอกเบี้ย สำหรับ หนี้ ตามสัญญา เบิกเงินเกินบัญชี ใน อัตรา ที่ สูง กว่า อัตรา ที่ ตกลง ไว้ ใน สัญญาเป็น การ ไม่ชอบ นั้น เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย แม้ จำเลย ที่ 1 จะ มิได้ ต่อสู้ไว้ ใน คำให้การ แต่ เนื่องจาก โจทก์ บรรยายฟ้อง ว่า คิด ดอกเบี้ย ในอัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี ตาม สัญญา ข้อเท็จจริง เพิ่ง ปรากฎ จาก คำเบิกความของ พยานโจทก์ ใน ชั้นพิจารณา ของ ศาลชั้นต้น ว่า โจทก์ คิด ดอกเบี้ยใน อัตรา สูง กว่า อัตรา ที่ ตกลง ไว้ ใน สัญญา ใน ช่วง เวลา บางตอน จำเลย ที่ 1จึง ไม่สามารถ ยก ปัญหาข้อกฎหมาย ดังกล่าว ขึ้น กล่าว ใน ศาลชั้นต้น ได้เพราะ พฤติการณ์ ไม่ เปิด ช่อง ให้ กระทำ ได้ จำเลย ที่ 1 จึง ยก ปัญหาดังกล่าว ขึ้น อ้าง ใน ชั้นอุทธรณ์ ได้ ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง เมื่อ วินิจฉัย ดังนี้ แล้ว จึง ไม่จำต้องวินิจฉัย ถึง ความรับผิด ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกันหนี้ ของ จำเลย ที่ 1 ตาม สัญญา เบิกเงินเกินบัญชี อีก ต่อไปศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ยกฟ้อง โจทก์ ส่วน นี้ โดย ไม่ ตัด สิทธิ โจทก์ จะ นำ คดีส่วน นี้ มา ยื่นฟ้อง ใหม่ ภายใน กำหนด อายุความ นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วยฎีกา ข้อ นี้ ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น
ส่วน หนี้ ตาม สัญญา ขายลดเช็ค นั้น จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ได้ ฎีการวมกัน มา แต่ จำเลย ที่ 2 มิได้ ให้การ ต่อสู้ ใน เรื่อง นี้ ให้ เป็น ประเด็นข้อพิพาท ไว้ ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 ใน ส่วน นี้ จึง เป็น ฎีกา นอกประเด็นข้อต่อสู้ ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ให้ คง รับ วินิจฉัย ให้ เฉพาะ ฎีกาของ จำเลย ที่ 1 ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ว่า เช็ค 2 ฉบับ ฉบับ ละ 200,000บาท รวมเป็น เงิน 400,000 บาท ซึ่ง นาย สุมิตร สุนทรนนท์ เป็น ผู้สั่งจ่าย นาย สุมิตร และ จำเลย ที่ 1 ได้ ทำ สัญญา รับสภาพหนี้ ให้ แก่ โจทก์ ต่างหาก เมื่อ วันที่ 25 มกราคม 2523 ตาม เอกสาร หมาย ล. 1เป็น การ แปลงหนี้ใหม่ ทำให้ หนี้ ตามเช็ค 2 ฉบับ ดังกล่าว ระงับจำเลย ที่ 1 จึง เป็น หนี้ ต้นเงิน และ ดอกเบี้ย โจทก์ ตาม สัญญา ขายลดเช็คไม่ถึง จำนวน ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษา มา นั้น เห็นว่าการ รับสภาพหนี้ เป็น เพียง การ ยอมรับ สภาพ ความรับผิด ใน มูลหนี้เดิมหา ได้ เป็น การ แปลงหนี้ใหม่ อัน จะ ทำให้ หนี้ เดิม ระงับ ไป ไม่ โจทก์ จึงมีสิทธิ เรียกร้อง ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระหนี้ ตาม สัญญา ขายลดเช็คศาลอุทธรณ์ ภาค 3 วินิจฉัย มา ชอบแล้ว ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย ที่ 1ฟังไม่ขึ้น ส่วน ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ว่า เช็ค ที่ จำเลย ที่ 1 นำ มา ทำสัญญา ขาย ลด ให้ แก่ โจทก์ เป็น เช็ค ที่ ผู้อื่น สั่งจ่าย หลาย ฉบับเมื่อ ธนาคาร ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน ตามเช็ค ดังกล่าว โจทก์ ต้อง เรียกร้องเอา จาก ผู้สั่งจ่าย หรือ คืน เช็ค ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 เพื่อ นำ ไป ไล่เบี้ยเอา แก่ ผู้สั่งจ่าย สำหรับ เช็ค 2 ฉบับที่ นาย สุมิตร เป็น ผู้สั่งจ่าย นาย สุมิตร ได้ ขอ ชำระหนี้ ตาม จำนวน ใน เช็ค ให้ แก่ โจทก์ แล้ว แต่ โจทก์ ไม่รับ ชำระหนี้ โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ คิด ดอกเบี้ย ใน จำนวนเงิน ตามเช็ค2 ฉบับ ดังกล่าว นั้น จำเลย ที่ 1 มิได้ ให้การ ต่อสู้ ใน เรื่อง นี้ให้ เป็น ประเด็น ข้อพิพาท ไว้ เช่นกัน ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ใน ข้อ ดังกล่าวจึง เป็น ฎีกา นอกประเด็น ข้อต่อสู้ ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ให้ เช่นกัน ”
พิพากษายืน