แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์ที่1ในคดีนี้ไม่ใช่ผู้เสียหายหรือคู่ความในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่1ในคดีนี้ฐานขับรถโดยประมาทแม้โจทก์ที่1จะเป็นเจ้าของรถยนต์ซึ่งเกิดเหตุชนกันผลของคำพิพากษาในคดีอาญาก็ไม่ผูกพันโจทก์ที่1ศาลอุทธรณ์ภาค1จึงชอบที่จะฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในคดีใหม่ได้
ย่อยาว
คดี นี้ เดิม ศาลชั้นต้น พิจารณา พิพากษา รวมกับ คดีแพ่ง หมายเลขแดงที่ 560/2531 แต่ คดี ดังกล่าว ถึงที่สุด ตาม คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้นคง ขึ้น มา สู่ การ พิจารณา ของ ศาลฎีกา เฉพาะคดี นี้
โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 เป็น เจ้าของ รถยนต์ คัน หมายเลขทะเบียน 10-2277 ขอนแก่น วิ่ง ระหว่าง กรุงเทพมหานคร จังหวัด ขอนแก่นโจทก์ ที่ 2 ซึ่ง เป็น ลูกจ้าง ของ โจทก์ ที่ 1 เป็น ผู้ขับ รถยนต์คัน ดังกล่าว จำเลย ที่ 2 เป็น นิติบุคคล ตาม กฎหมาย เป็น เจ้าของ รถยนต์คัน หมายเลข ทะเบียน 84-2348 กรุงเทพมหานคร โดย จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็นลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2 เป็น คนขับ เมื่อ วันที่ 27 มีนาคม 2530เวลา ประมาณ 22 นาฬิกา โจทก์ ที่ 2 ได้ ขับ รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน10-2277 ขอนแก่น รับ ผู้โดยสาร จาก จังหวัด ขอนแก่น จะ เข้า กรุงเทพมหานครมา ถึง บริเวณ ที่เกิดเหตุ เมื่อ วันที่ 28 มีนาคม 2530 เวลา ประมาณ1 นาฬิกา ใน ขณะ เดียว กัน นั้น จำเลย ที่ 1 ได้ ขับ รถยนต์ คัน หมายเลขทะเบียน 84-2348 กรุงเทพมหานคร บรรทุก สิ่งของ ตาม ทางการที่จ้างอันเป็น ปกติ ธุระ เพื่อ ประโยชน์ ของ จำเลย ที่ 2 ออกจาก กรุงเทพมหานครจะ ไป จังหวัด อุดรธานี ใน ขณะที่ กำลัง เมาสุรา ด้วย ความ เร็ว สูง เกิน อัตราที่ กฎหมาย กำหนด ครั้น ถึง บริเวณ ที่เกิดเหตุ ด้วย ความประมาท เลินเล่อจำเลย ที่ 1 ขับ รถ แซง รถ คัน อื่น ล้ำ เส้น กึ่งกลาง ถนน เข้า ไป ใน ช่อง เดินรถของ โจทก์ ที่ 2 ที่ กำลัง จะ สวนทาง กัน ทำให้ มุม ขวา ของ หน้า รถ โจทก์ ที่ 1ชน หน้า รถ จำเลย ที่ 2 ครูด ไป ตลอด ด้าน ข้าง ขวา ของ รถ โจทก์ ที่ 1ทำให้ รถ โจทก์ ที่ 1 เสีย หลัก วิ่ง ลง ถนน ทาง ซ้าย ของ ตนเอง ไป ชน เสา ไฟฟ้าหัก รถ โจทก์ ที่ 1 เสียหาย ยับเยิน โจทก์ ที่ 2 ได้รับ บาดเจ็บ สาหัสซี่ โครง หัก ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย จำนวน210,792.51 บาท แก่ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 196,200 บาท นับ จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไปจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า เหตุ ไม่ได้ เกิดจาก ความประมาท เลินเล่อของ จำเลย ที่ 1 กล่าว คือ ตาม วัน และ เวลา ที่เกิดเหตุ จำเลย ที่ 1ไม่ได้ ดื่ม สุรา จน เมา มา ยแต่อย่างใด โจทก์ ที่ 2 ได้ ขับ รถยนต์คัน หมายเลข ทะเบียน 10-2277 ขอนแก่น วิ่ง มา ด้วย ความ เร็ว สูง เกินกว่าที่ กฎหมาย กำหนด แซง รถ คัน อื่น โดย ไม่ได้ ใช้ ความระมัดระวัง ว่า จะ มี รถสวนทาง มา หรือไม่ และ ล้ำ เข้า มา ใน ช่อง เดินรถ ของ จำเลย ที่ 1อย่าง กระชั้นชิด เป็นเหตุ ให้ ชน รถยนต์ คัน ที่ จำเลย ที่ 1 ขับ มา อย่าง แรงทำให้ จำเลย ที่ 1 ได้รับ บาดเจ็บ สาหัส และ รถยนต์ ของ จำเลย ที่ 2เสียหาย พัง ยับเยิน ค่าซ่อม รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน 10-2277 ขอนแก่นไม่ควร จะ เกิน 5,000 บาท โจทก์ ที่ 2 ไม่ได้ รับ บาดเจ็บ สาหัสโจทก์ ที่ 2 พัก รักษา ตัว ที่ โรงพยาบาล ไม่เกิน 1 วัน เสีย ค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน 200 บาท ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง งดสืบพยาน โจทก์ จำเลย แล้ว พิพากษายก ฟ้องโจทก์
โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ ศาลชั้นต้นดำเนิน กระบวนพิจารณา สืบพยาน ใน ประเด็น เรื่อง ค่าเสียหายแล้ว พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง ให้ จำเลย ทั้ง สอง รับผิดฐาน ละเมิด มา ใน คำฟ้อง เดียว กัน แต่ แยก ทุนทรัพย์ ที่ โจทก์ แต่ละ คนเรียกร้อง มา เป็น จำนวน ชัดเจน โจทก์ ที่ 1 เรียกร้อง ค่าเสียหายมา ไม่เกิน 200,000 บาท โจทก์ ที่ 2 เรียกร้อง ค่าเสียหาย มา ไม่เกิน20,000 บาท โจทก์ ทั้ง สอง ยื่น อุทธรณ์ เมื่อ วันที่ 14 ธันวาคม 2532ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ฝ่าย ขับ รถ โดยประมาท เป็นเหตุ ให้ โจทก์ ทั้ง สองได้รับ ความเสียหาย เป็น อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง คดี สำหรับ โจทก์ ที่ 2จึง ต้องห้าม มิให้ อุทธรณ์ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ซึ่ง ใช้ บังคับ อยู่ ใน ขณะ ยื่น อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 รับ วินิจฉัย อุทธรณ์ ของ โจทก์ ที่ 2 เป็น การ ไม่ชอบส่วน ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง ที่ เกี่ยวกับ โจทก์ ที่ 1 ที่ ฎีกา ว่าโจทก์ ที่ 2 เป็น ฝ่าย ขับ รถ โดยประมาท ชน รถ จำเลย ที่ 2 นั้น เป็น ฎีกาใน ข้อเท็จจริง เมื่อ ทุนทรัพย์ ที่พิพาท ใน ชั้นฎีกา ใน ส่วน นี้ ไม่เกิน200,000 บาท จึง ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่ แก้ไข เพิ่มเติม โดย พระราชบัญญัติแก้ไข เพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12)พ.ศ. 2534 มาตรา 18 ซึ่ง มีผล ใช้ บังคับ ใน ขณะ ยื่นฎีกา ศาลฎีกา จึงไม่รับ วินิจฉัย คง มี ปัญหาข้อกฎหมาย ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลยทั้ง สอง ที่ เกี่ยวกับ โจทก์ ที่ 1 ว่า ใน คดีอาญา หมายเลขแดงที่ 1267/2531 ของ ศาลแขวง นครราชสีมา คดี ฟัง เป็น ยุติ แล้ว ว่าจำเลย ที่ 1 ไม่ได้ ขับ รถ โดยประมาท การ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 วินิจฉัย ว่าจำเลย ที่ 1 ขับ รถ โดยประมาท เป็น การ พิพากษา โดย ไม่ชอบ ด้วย ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ที่ ต้อง ถือ ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ปรากฏใน คำพิพากษา คดี ส่วน อาญา หรือไม่ เห็นว่า ใน คดีอาญา หมายเลขแดง ที่1267/2531 ของ ศาลแขวง นครราชสีมา พนักงานอัยการ เป็น โจทก์ ฟ้องขอให้ ลงโทษ จำเลย ที่ 1 ใน คดี นี้ ฐาน ขับ รถ โดยประมาท เป็นเหตุ ให้ ผู้อื่นได้รับ อันตรายสาหัส และ ทรัพย์สิน เสียหาย โจทก์ ที่ 1 ใน คดี นี้ไม่ใช่ ผู้เสียหาย หรือ คู่ความ ใน คดีอาญา แต่ โจทก์ ที่ 1 เป็น เจ้าของรถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน 10-2277 ขอนแก่น ซึ่ง เกิดเหตุ ชนกันผล ของ คำพิพากษา ใน คดีอาญา จึง ไม่ผูกพัน โจทก์ ที่ 1 ศาลอุทธรณ์ ภาค 1จึง ชอบ ที่ จะ ฟัง ข้อเท็จจริง จาก พยานหลักฐาน ใน คดี ใหม่ ได้ ข้อเท็จจริงใน คดี นี้ จึง ฟัง เป็น ยุติ ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ว่า จำเลย ที่ 1ขับ รถ คัน หมายเลข ทะเบียน 84-2348 กรุงเทพมหานคร โดยประมาท ชน รถคัน หมายเลข ทะเบียน 10-2377 ขอนแก่น ของ โจทก์ ที่ 1 เสียหายจำเลย ที่ 1 ต้อง รับผิด ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ให้ โจทก์ ที่ 1 จำเลย ที่ 2ซึ่ง เป็น นายจ้าง ต้อง ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 1 ด้วย การ ที่ ศาลชั้นต้นสั่ง งดสืบพยาน โจทก์ จำเลย แล้ว พิพากษาคดี โดย ไม่ได้ สืบพยาน ใน ประเด็นค่าเสียหาย ตาม ที่ ศาลชั้นต้น ได้ กำหนด เป็น ประเด็น ข้อพิพาท และ คู่ความยัง โต้เถียง กัน อยู่ จึง ไม่ชอบ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ให้ยก คำพิพากษาของ ศาลชั้นต้น แล้ว ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลชั้นต้น พิจารณา สืบพยาน แล้วพิพากษา ใหม่ ใน ประเด็น ค่าเสียหาย ระหว่าง โจทก์ ที่ 1 กับ จำเลย ทั้ง สองชอบแล้ว แต่ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายก คำพิพากษา ศาลชั้นต้นแล้ว ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ใหม่ ใน ส่วน ที่เกี่ยวกับ โจทก์ ที่ 2 ซึ่ง คดี ยุติ เพราะ ต้องห้าม อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริงดังกล่าว ข้างต้น มา ด้วย นั้น เป็น การ ไม่ถูกต้อง ศาลฎีกา เห็นสมควร แก้ไขเสีย ให้ ถูกต้อง ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ใน ส่วน ที่ เกี่ยวกับ โจทก์ ที่ 1 ให้ ศาลชั้นต้นดำเนิน กระบวนพิจารณา สืบพยาน ใน ประเด็น เรื่อง ค่าเสียหาย แล้วพิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี สำหรับ ใน ส่วน ที่ เกี่ยวกับ โจทก์ ที่ 2ให้ยก คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 1